บลจ.เอ็มเอฟซี รุกกองทุน Private Equity ประกาศความพร้อมร่วมลงทุนธุรกิจ ที่ต้องการทุนขยายกิจการ พร้อมเดินหน้าลุยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เผยจอคลอด 2 กองทุนในช่วงที่เหลือของปี ลงทุนโรงแรมหรูและศูนย์ค้าปลีก
นายวิชชุ จันทาทับ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บลจ.เอ็มเอฟซีมีความพร้อมที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีขนาดธุรกิจประมาณ 2,000-4,000 ล้านบาท โดยการจัดตั้งเป็นกองทุน Private Equity มูลค่ากองทุนละ 500-1,000 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุนนั้น เป็นการร่วมทุนแบบเดียวกับ Venture Capital โดยจะมีทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคลที่เน้นลงทุนระยะยาว และพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของกิจการ ซึ่งกองทุนจะต้องเข้าไปลงทุนในสัดส่วนมากกว่า 25% ของมูลค่าของบริษัทหรือมูลค่าโครงการที่ร่วมลงทุน
ทั้งนี้ การลงทุนในรูปแบบดังกล่าว นักลงทุนส่วนใหญ่จะคาดหวังผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน (IRR) ปีละมากกว่า 20% และมีระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3 ปี เพราะฉะนั้นคาดว่า จะได้ IRR ประมาณ 60-100%
“ในปัจจุบัน กองทุน Private Equity ที่ลงทุนในรูปแบบดังกล่าวมีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเข้าร่วมลงทุนอยู่หลายแห่ง แต่ยังถือว่า อยู่ในระยะเริ่มต้น จึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะต้องเพิ่มขนาดสินทรัพย์เป็นเท่าไร” นายวิชชุ กล่าว
นอกจากนี้ นายวิชชุ ยังกล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Carbon fund) หรือ กองทุนคาร์บอน เพื่อลงทุนเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่คาดว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาอีกระยะ และจำเป็นต้องให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุน เพื่อนำร่องการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบนี้
“หากจะจัดตั้งอาจจะเริ่มจากกองทุนคาร์บอนทั่วไปก่อน โดยการลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะกลับมาเป็นรายได้ของกองทุน และจากนั้นจึงพัฒนาไปเป็นกองทุนคาร์บอนเครดิต” นายวิชชุ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตยังไม่มีความแน่นอน เพราะสนธิสัญญาโตเกียวที่มีข้อกำหนดเรื่องคาร์บอนเครดิตกำลังจะหมดอายุในปีหน้า ซึ่งยังไม่มีใครตอบได้ว่า จะมีการต่ออายุออกไปหรือไม่ และหากได้รับการต่ออายุจะมีระยะเวลา 5 ปี แต่หากประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตมีปัญหาทางเศรษฐกิจ อาจจะกระทบกับการต่ออายุ หรือ ชะลอการต่ออายุออกไปก็ได้
ด้านนายทอมมี่ เตชะอุบล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้สร้างทีมงานในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่เป็นส่วนหนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์เองบริษัทมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะเน้นลงทุนในกรรมสิทธิ์ (Free Hold) เป็นหลัก ถ้าจะเป็นสิทธิการเช่า (Lease Hold) สินทรัพย์นั้นจะต้องมีจุดเด่นที่เด่นจริงๆ เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่ทำเลย
ด้านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เองนั้น บริษัทก็มีความพร้อมและปัจจุบันก็ได้มีการพูดคุยกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและในภาคของเอกชนควบคู่กันไป โดยในส่วนของเอกชนนั้นคงจะเน้นไปที่โครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเป็นหลัก ในขณะที่ภาครัฐมีโครงการของหน่วยงานรัฐบาลแห่งที่สามารถจะนำมาทำกองทุนได้เช่นกัน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้ ทั้งนี้เชื่อว่าอีกไม่นานทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คงจะมีเกณฑ์เกี่ยวกับ “กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)” และ “กองทุนสาธารณูปโภค” ออกมา
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือของปี 54 นี้ มีแผนที่จะเปิดตัวกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เพิ่มเติมอีก 2 กองทุน โดยกองแรกจะลงทุนในโรงแรมบนเกาะพีพี มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว ครึ่ง ซึ่งจากการสำรวจตลาดได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอจัดตั้งกับทางสำนักงานก.ล.ต.อยู่ นอกจากนี้ยังมีกองทุนที่ไปลงทุนในศูนย์ค้าปลีกใจกลางกรุงเทพ มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท และหลังจากนี้ทางบลจ.เอ็มเอฟซีคงจะมีแผนออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแผนระยะกลาง-ยาวที่จะออกไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน เพราะบริษัทมีทีมงานที่มีความพร้อมในเรื่องนี้อยู่แล้ว
นายวิชชุ จันทาทับ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บลจ.เอ็มเอฟซีมีความพร้อมที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีขนาดธุรกิจประมาณ 2,000-4,000 ล้านบาท โดยการจัดตั้งเป็นกองทุน Private Equity มูลค่ากองทุนละ 500-1,000 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุนนั้น เป็นการร่วมทุนแบบเดียวกับ Venture Capital โดยจะมีทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคลที่เน้นลงทุนระยะยาว และพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของกิจการ ซึ่งกองทุนจะต้องเข้าไปลงทุนในสัดส่วนมากกว่า 25% ของมูลค่าของบริษัทหรือมูลค่าโครงการที่ร่วมลงทุน
ทั้งนี้ การลงทุนในรูปแบบดังกล่าว นักลงทุนส่วนใหญ่จะคาดหวังผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน (IRR) ปีละมากกว่า 20% และมีระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3 ปี เพราะฉะนั้นคาดว่า จะได้ IRR ประมาณ 60-100%
“ในปัจจุบัน กองทุน Private Equity ที่ลงทุนในรูปแบบดังกล่าวมีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเข้าร่วมลงทุนอยู่หลายแห่ง แต่ยังถือว่า อยู่ในระยะเริ่มต้น จึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะต้องเพิ่มขนาดสินทรัพย์เป็นเท่าไร” นายวิชชุ กล่าว
นอกจากนี้ นายวิชชุ ยังกล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Carbon fund) หรือ กองทุนคาร์บอน เพื่อลงทุนเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่คาดว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาอีกระยะ และจำเป็นต้องให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุน เพื่อนำร่องการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบนี้
“หากจะจัดตั้งอาจจะเริ่มจากกองทุนคาร์บอนทั่วไปก่อน โดยการลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะกลับมาเป็นรายได้ของกองทุน และจากนั้นจึงพัฒนาไปเป็นกองทุนคาร์บอนเครดิต” นายวิชชุ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตยังไม่มีความแน่นอน เพราะสนธิสัญญาโตเกียวที่มีข้อกำหนดเรื่องคาร์บอนเครดิตกำลังจะหมดอายุในปีหน้า ซึ่งยังไม่มีใครตอบได้ว่า จะมีการต่ออายุออกไปหรือไม่ และหากได้รับการต่ออายุจะมีระยะเวลา 5 ปี แต่หากประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตมีปัญหาทางเศรษฐกิจ อาจจะกระทบกับการต่ออายุ หรือ ชะลอการต่ออายุออกไปก็ได้
ด้านนายทอมมี่ เตชะอุบล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้สร้างทีมงานในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่เป็นส่วนหนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์เองบริษัทมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะเน้นลงทุนในกรรมสิทธิ์ (Free Hold) เป็นหลัก ถ้าจะเป็นสิทธิการเช่า (Lease Hold) สินทรัพย์นั้นจะต้องมีจุดเด่นที่เด่นจริงๆ เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่ทำเลย
ด้านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เองนั้น บริษัทก็มีความพร้อมและปัจจุบันก็ได้มีการพูดคุยกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและในภาคของเอกชนควบคู่กันไป โดยในส่วนของเอกชนนั้นคงจะเน้นไปที่โครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเป็นหลัก ในขณะที่ภาครัฐมีโครงการของหน่วยงานรัฐบาลแห่งที่สามารถจะนำมาทำกองทุนได้เช่นกัน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้ ทั้งนี้เชื่อว่าอีกไม่นานทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คงจะมีเกณฑ์เกี่ยวกับ “กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)” และ “กองทุนสาธารณูปโภค” ออกมา
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือของปี 54 นี้ มีแผนที่จะเปิดตัวกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เพิ่มเติมอีก 2 กองทุน โดยกองแรกจะลงทุนในโรงแรมบนเกาะพีพี มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว ครึ่ง ซึ่งจากการสำรวจตลาดได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอจัดตั้งกับทางสำนักงานก.ล.ต.อยู่ นอกจากนี้ยังมีกองทุนที่ไปลงทุนในศูนย์ค้าปลีกใจกลางกรุงเทพ มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท และหลังจากนี้ทางบลจ.เอ็มเอฟซีคงจะมีแผนออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแผนระยะกลาง-ยาวที่จะออกไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน เพราะบริษัทมีทีมงานที่มีความพร้อมในเรื่องนี้อยู่แล้ว