สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเฮียริ่ง จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ชงแนวทาง 2 รูปแบบ หวังมีส่วนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Carbon fund)
โดยก.ล.ต. จะเปิดหลักการและร่างประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนคาร์บอน เพื่อเพิ่มช่องทางในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจ และเป็นการส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยอำนวยความสะดวกในการขาย carbon credit ในประเทศไทยให้ง่ายยิ่งขึ้น โดย ก.ล.ต. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2554
สำหรับรายละเอียดของการเปิดรัลฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) ในครั้งนี้ เนื่องจาก ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ 2 รูปแบบ โดยกำหนดตามลักษณะการจ่ายผลตอบแทนหรือการคืนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ได้แก่ 1) กองทุนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Fund) คือ กองทุนเพื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบ carbon credit และ 2) กองทุนคาร์บอนทั่วไป (General Carbon Fund) คือ กองทุนเพื่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งรับกำไร/ขาดทุนจากการลงทุนเป็นเงินสด
ทั้งนี้ กองทุนทั้งสองรูปแบบมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นหลักไม่ต่ำกว่า 85% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) (เช่น carbon credit และสัญญาซื้อขาย carbon credit ล่วงหน้า รวมถึงตราสารทุนและตราสารหนี้ของบริษัทที่ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซ) และลงทุนเกี่ยวกับการลด carbon credit ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 65% ของ NAV
โดยในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่หลักการดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2554 ที่เว็บไซต์ดังกล่าว
นายประเวช กล่าวว่า การจัดตั้ง carbon fund จะเป็นกลไกสำคัญในการเป็นตัวกลางเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศให้แก่กิจการที่ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย รวมทั้งมีบทบาทในการรวบรวม carbon credit เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในประเทศอุตสาหกรรมได้เข้าถึงและสามารถซื้อขาย carbon credit ของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น กองทุนนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แก้ปัญหามลพิษ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Carbon fund)
โดยก.ล.ต. จะเปิดหลักการและร่างประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนคาร์บอน เพื่อเพิ่มช่องทางในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจ และเป็นการส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยอำนวยความสะดวกในการขาย carbon credit ในประเทศไทยให้ง่ายยิ่งขึ้น โดย ก.ล.ต. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2554
สำหรับรายละเอียดของการเปิดรัลฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) ในครั้งนี้ เนื่องจาก ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ 2 รูปแบบ โดยกำหนดตามลักษณะการจ่ายผลตอบแทนหรือการคืนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ได้แก่ 1) กองทุนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Fund) คือ กองทุนเพื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบ carbon credit และ 2) กองทุนคาร์บอนทั่วไป (General Carbon Fund) คือ กองทุนเพื่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งรับกำไร/ขาดทุนจากการลงทุนเป็นเงินสด
ทั้งนี้ กองทุนทั้งสองรูปแบบมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นหลักไม่ต่ำกว่า 85% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) (เช่น carbon credit และสัญญาซื้อขาย carbon credit ล่วงหน้า รวมถึงตราสารทุนและตราสารหนี้ของบริษัทที่ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซ) และลงทุนเกี่ยวกับการลด carbon credit ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 65% ของ NAV
โดยในการนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่หลักการดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2554 ที่เว็บไซต์ดังกล่าว
นายประเวช กล่าวว่า การจัดตั้ง carbon fund จะเป็นกลไกสำคัญในการเป็นตัวกลางเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศให้แก่กิจการที่ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย รวมทั้งมีบทบาทในการรวบรวม carbon credit เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในประเทศอุตสาหกรรมได้เข้าถึงและสามารถซื้อขาย carbon credit ของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น กองทุนนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แก้ปัญหามลพิษ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย