ศก. สหรัฐฯ เริ่มเดินถดถอย จากปัจจัยบ่งชี้ ทั้งการจ้างงาน และผลกำไรของบริษัท ขณะที่จีน ยังเน้นย้ำ นโยบายการเงิน "แบบรอบคอบ"รักษาการโตของของศก. แบบมีเสถียรภาพและรวดเร็ว
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ. ยูโอบี จำกัด รายงายภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศว่า นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุน PIMCO กล่าวว่า การร่วงลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 60 ปี สะท้อนถึงความเป็นไปได้มากขึ้นที่สหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากมุมมองเรื่องการจ้างงาน รวมทั้งมุมมองจากผลกำไรของบริษัทเอกชนยังได้เพิ่มน้ำหนักบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย นอกจากนี้ นายกรอสยังได้กล่าวอีกว่า สหรัฐฯ กำลังจะหมดทางเลือกด้านนโยบายการเงินและการคลัง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจกำลังชะลอลง
ขณะที่ CME Group ของสหรัฐฯ ปรับลดค่ามาร์จินในการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบสหรัฐฯลง 4% การตัดสินใจดังกล่าวของ CME นั้นเกิดขึ้นจากการที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯดิ่งลงจากระดับใกล้ 99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงต้นเดือนสู่ระดับ 85.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และระดับความผันผวนของตลาดที่ลดลง
ด้านเศรษฐกิจยุโรป ฝรั่งเศสปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ สำหรับปีหน้า ลงสู่ระดับ 1.75% จาก 2.25% และลดคาดการณ์จีดีพีในปีนี้ลงมาที่ 1.75% จาก 2.0% นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังจะมีการลดการยกเว้นภาษีไปจนถึงการเก็บภาษีในอัตรา 3% จากผู้มีเงินได้ต่อไปมากกว่า 500,000 ยูโร โดยการเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 200 ล้านยูโรต่อปี โดยการกระทำดังกล่าว ได้มีการวิเคราะห์ว่าทางฝรั่งเศสต้องการที่จะรักษาอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AAA ไว้
ส่วนประเทศจีน รองนายกรัฐมนตรีจีนฯ ประกาศจีนจะยังคงจุดเดิม โดยการใช้นโยบายทางการเงิน "แบบรอบคอบ" และตอกย้ำความจำเป็นที่ธนาคารต่างๆ ต้องเพิ่มการสนับสนุนบริษัทขนาดย่อมและภาคเกษตรกรรม ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนสูงจากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และยุโรป แต่ทางการจีนยังคงจุดเดิมเกี่ยวกับนโยบายการเงิน แม้จะมีการชะลอการคุมเข้มทางการเงินก็ตาม โดยทางการจีนได้ให้เหตุผลว่า เป้าหมายหลักของจีนคือการจัดการอย่างระมัดระวังต่อความสัมพันธ์ของการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการการคาดการณ์เงินเฟ้อ
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์จีนระบุว่า วิกฤตหนี้ยูโรโซนจะกระทบกับภาคการส่งออกของจีน แต่จะไม่กระทบกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนถือครองสินทรัพย์ยูโรเพียงเล็กน้อยโดยนักเศรษฐศาสตร์จีนได้ระบุว่า การลุกลามของวิกฤตหนี้ยูโรโซนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนมากเท่ากับการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะรัฐบาลจีนถือสินทรัพย์ที่เป็นดอลล่าร์มากกว่าสินทรัพย์ยูโรอยู่มาก นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ของรัฐบาลจีนได้ให้ความเห็นว่า ยุโรปมีความสามารถทางการเงินในการสกัดกั้นวิกฤตหนี้ไม่ให้ลุกลามออกไปได้ และการคาดการณ์ว่ายูโรโซนกำลังจะล่มสลายถือเป็นการคาดการณ์ในเชิงลบมากเกินไป และยังเชื่อว่ายุโรปจะสามารถเอาชนะปัญหาของตัวเองได้ และเศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง
สำหรับประเทศอินเดีย ดัชนี NIFTY ได้มีการปรับตัวลดลง 2.02% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และปิดที่ 4,747.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน เชื่อว่าราคาหุ้นของอินเดียได้สะท้อนความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศไปมากแล้ว โดยระดับของราคาหุ้นของอินเดียในปัจจุบันที่ P/E ratio 12 เท่า อยู่ต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 17 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คาดการณ์ว่าโอกาสที่จะปรับลดลงไปอีกเหลืออีกไม่มากนัก โดยตลาดอินเดียน่าจะกลับมาได้หลังจากที่เงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลง
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ. ยูโอบี จำกัด รายงายภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศว่า นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุน PIMCO กล่าวว่า การร่วงลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 60 ปี สะท้อนถึงความเป็นไปได้มากขึ้นที่สหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากมุมมองเรื่องการจ้างงาน รวมทั้งมุมมองจากผลกำไรของบริษัทเอกชนยังได้เพิ่มน้ำหนักบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย นอกจากนี้ นายกรอสยังได้กล่าวอีกว่า สหรัฐฯ กำลังจะหมดทางเลือกด้านนโยบายการเงินและการคลัง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจกำลังชะลอลง
ขณะที่ CME Group ของสหรัฐฯ ปรับลดค่ามาร์จินในการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบสหรัฐฯลง 4% การตัดสินใจดังกล่าวของ CME นั้นเกิดขึ้นจากการที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯดิ่งลงจากระดับใกล้ 99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงต้นเดือนสู่ระดับ 85.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และระดับความผันผวนของตลาดที่ลดลง
ด้านเศรษฐกิจยุโรป ฝรั่งเศสปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ สำหรับปีหน้า ลงสู่ระดับ 1.75% จาก 2.25% และลดคาดการณ์จีดีพีในปีนี้ลงมาที่ 1.75% จาก 2.0% นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังจะมีการลดการยกเว้นภาษีไปจนถึงการเก็บภาษีในอัตรา 3% จากผู้มีเงินได้ต่อไปมากกว่า 500,000 ยูโร โดยการเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 200 ล้านยูโรต่อปี โดยการกระทำดังกล่าว ได้มีการวิเคราะห์ว่าทางฝรั่งเศสต้องการที่จะรักษาอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AAA ไว้
ส่วนประเทศจีน รองนายกรัฐมนตรีจีนฯ ประกาศจีนจะยังคงจุดเดิม โดยการใช้นโยบายทางการเงิน "แบบรอบคอบ" และตอกย้ำความจำเป็นที่ธนาคารต่างๆ ต้องเพิ่มการสนับสนุนบริษัทขนาดย่อมและภาคเกษตรกรรม ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนสูงจากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน และแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และยุโรป แต่ทางการจีนยังคงจุดเดิมเกี่ยวกับนโยบายการเงิน แม้จะมีการชะลอการคุมเข้มทางการเงินก็ตาม โดยทางการจีนได้ให้เหตุผลว่า เป้าหมายหลักของจีนคือการจัดการอย่างระมัดระวังต่อความสัมพันธ์ของการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการการคาดการณ์เงินเฟ้อ
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์จีนระบุว่า วิกฤตหนี้ยูโรโซนจะกระทบกับภาคการส่งออกของจีน แต่จะไม่กระทบกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนถือครองสินทรัพย์ยูโรเพียงเล็กน้อยโดยนักเศรษฐศาสตร์จีนได้ระบุว่า การลุกลามของวิกฤตหนี้ยูโรโซนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนมากเท่ากับการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะรัฐบาลจีนถือสินทรัพย์ที่เป็นดอลล่าร์มากกว่าสินทรัพย์ยูโรอยู่มาก นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ของรัฐบาลจีนได้ให้ความเห็นว่า ยุโรปมีความสามารถทางการเงินในการสกัดกั้นวิกฤตหนี้ไม่ให้ลุกลามออกไปได้ และการคาดการณ์ว่ายูโรโซนกำลังจะล่มสลายถือเป็นการคาดการณ์ในเชิงลบมากเกินไป และยังเชื่อว่ายุโรปจะสามารถเอาชนะปัญหาของตัวเองได้ และเศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง
สำหรับประเทศอินเดีย ดัชนี NIFTY ได้มีการปรับตัวลดลง 2.02% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และปิดที่ 4,747.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน เชื่อว่าราคาหุ้นของอินเดียได้สะท้อนความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศไปมากแล้ว โดยระดับของราคาหุ้นของอินเดียในปัจจุบันที่ P/E ratio 12 เท่า อยู่ต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 17 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คาดการณ์ว่าโอกาสที่จะปรับลดลงไปอีกเหลืออีกไม่มากนัก โดยตลาดอินเดียน่าจะกลับมาได้หลังจากที่เงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลง