นักเศรษฐกิจศาสตร์ บริษัทแม่AACP มองเศรษฐกิจไทยโตแบบชะลอตัว4-4.5% ระบุแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตโตต่อเนื่อง เหตุมีการส่งเสริม และประชาชนเริ่มหันออมภายด้านนี้มากขึ้น พร้อมฟันธงอีก 10 ธุรกิจประกันชีวิตโตสองหลักแซงGDPแน่นอน
นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กลุ่มอลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี บริษัทแม่ของ บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในปีนี้น่าจะมีการเติบโตแบบชะลอตัว โดยประเทศไทยเองอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4-4.5% ซึ่งหลังจากนี้เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติจะมีความมั่นใจและกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามไทยยังมีควาาเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอตัวจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ปรับตัวลดลง
ส่วนนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้าทำหน้าที่นั้นมองว่า หากเป็นการขึ้นในอัตราก้าวกระโดดจริงจะต้องพิจารณาด้วยว่า จะกระทบต่อราคาสินค้าที่มีผลต่อภาคครัวเรือนภายในประเทศหรือไม่ โดยหากเป็นการขึ้นค่าแรงที่มีการเฉลี่ยลงไปในด้านอื่นเช่นกำไรของผู้ประกอบการมากกว่าการขึ้นราคาสินค้าก็น่าจะทำได้ แต่ถ้ามีผลกระทบกับราคาสินค้าเมื่อใดก็น่าจะขัดกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อลง
นายไมเคิล กล่าวอีกว่า ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันคนไทยมีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคิดเป็นมูลค่า 106 ยูโรต่อปี หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.5% มาอยู่ที่เกือบ 2.9% ในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
"ธุรกิจประกันชีวิตโตมากหลังจากมีการพัฒนาทำให้คนไทยเริ่มหันมาออมผ่านด้านนี้มากขึ้น ประกอบกับคนไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนอนาคตหลังจากพบว่าสังคมผู้สูงอายุในอนาคตจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่าคนทำงาน"นายไมเคิลกล่าว
ทั้งนี้ รายได้จากเบี้ยประกันภัยรวมในตลาดประกันชีวิตไทยเติบโตเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 7.2 พันล้านยูโร ณ สิ้นปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของแบงก์แอสชัวรันส์ และมาตรการลดหย่อนภาษีที่เป็นแรงจูงใจให้คนซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ามาอยู่ที่ 100,000 บาท (2,473 ยูโร) ต่อปี ส่งผลให้ตลาดสามารถเติบโตถึงเกือบ 16% แม้จะเป็นช่วงที่เผชิญวิกฤตอย่างรุนแรงที่สุดในปี 2009 ก็ตาม แต่การเติบโตของรายได้จากเบี้ยประกันก็ลดลงเล็กน้อยในปี 2010 มาอยู่ที่ 14.7% ซึ่งที่จริงแล้วก็ลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ในตลาดเกิดใหม่ของภูมิภาคเอเชีย
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้จัดทำแผนแม่บทประกันภัยแห่งชาติออกมา และได้มีการปรับปรุงใหม่ในปี 2006 และจะไปสิ้นสุดในสิ้นปี 2011 นี้ หนึ่งในจุดมุ่งหมายของแผนแม่บทนี้คือ การให้บริษัทประกันมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น และทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทประกันยังต้องมีบทบาทมากขึ้นในการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการเก็บออมเงินไว้สำหรับการเกษียณอายุในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้ มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีการนำเสนอออกมาเพื่อให้การสนับสนุนแผนแม่บทนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากดูที่อัตราการถือครองกรมธรรม์แล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังคงมีหนทางอีกยาวไกลกว่าที่จะตามทันบรรดาประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ของโลก ผลที่ตามมาก็คือ ตลาดประกันชีวิตของไทยจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปในอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลักในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะเติบโตแซงหน้าการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม
นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กลุ่มอลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี บริษัทแม่ของ บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในปีนี้น่าจะมีการเติบโตแบบชะลอตัว โดยประเทศไทยเองอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4-4.5% ซึ่งหลังจากนี้เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติจะมีความมั่นใจและกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามไทยยังมีควาาเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอตัวจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ปรับตัวลดลง
ส่วนนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้าทำหน้าที่นั้นมองว่า หากเป็นการขึ้นในอัตราก้าวกระโดดจริงจะต้องพิจารณาด้วยว่า จะกระทบต่อราคาสินค้าที่มีผลต่อภาคครัวเรือนภายในประเทศหรือไม่ โดยหากเป็นการขึ้นค่าแรงที่มีการเฉลี่ยลงไปในด้านอื่นเช่นกำไรของผู้ประกอบการมากกว่าการขึ้นราคาสินค้าก็น่าจะทำได้ แต่ถ้ามีผลกระทบกับราคาสินค้าเมื่อใดก็น่าจะขัดกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อลง
นายไมเคิล กล่าวอีกว่า ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันคนไทยมีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคิดเป็นมูลค่า 106 ยูโรต่อปี หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.5% มาอยู่ที่เกือบ 2.9% ในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
"ธุรกิจประกันชีวิตโตมากหลังจากมีการพัฒนาทำให้คนไทยเริ่มหันมาออมผ่านด้านนี้มากขึ้น ประกอบกับคนไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนอนาคตหลังจากพบว่าสังคมผู้สูงอายุในอนาคตจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่าคนทำงาน"นายไมเคิลกล่าว
ทั้งนี้ รายได้จากเบี้ยประกันภัยรวมในตลาดประกันชีวิตไทยเติบโตเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 7.2 พันล้านยูโร ณ สิ้นปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของแบงก์แอสชัวรันส์ และมาตรการลดหย่อนภาษีที่เป็นแรงจูงใจให้คนซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ามาอยู่ที่ 100,000 บาท (2,473 ยูโร) ต่อปี ส่งผลให้ตลาดสามารถเติบโตถึงเกือบ 16% แม้จะเป็นช่วงที่เผชิญวิกฤตอย่างรุนแรงที่สุดในปี 2009 ก็ตาม แต่การเติบโตของรายได้จากเบี้ยประกันก็ลดลงเล็กน้อยในปี 2010 มาอยู่ที่ 14.7% ซึ่งที่จริงแล้วก็ลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ในตลาดเกิดใหม่ของภูมิภาคเอเชีย
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้จัดทำแผนแม่บทประกันภัยแห่งชาติออกมา และได้มีการปรับปรุงใหม่ในปี 2006 และจะไปสิ้นสุดในสิ้นปี 2011 นี้ หนึ่งในจุดมุ่งหมายของแผนแม่บทนี้คือ การให้บริษัทประกันมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น และทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทประกันยังต้องมีบทบาทมากขึ้นในการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการเก็บออมเงินไว้สำหรับการเกษียณอายุในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้ มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีการนำเสนอออกมาเพื่อให้การสนับสนุนแผนแม่บทนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากดูที่อัตราการถือครองกรมธรรม์แล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังคงมีหนทางอีกยาวไกลกว่าที่จะตามทันบรรดาประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ของโลก ผลที่ตามมาก็คือ ตลาดประกันชีวิตของไทยจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปในอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลักในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะเติบโตแซงหน้าการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม