Thai BMA เผยแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ภาครัฐและเอกชนเห็นชอบ สนับสนุนทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง กระทุ้งให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น หวังให้เป็นแหล่งระดมทุนที่มั่นคง
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดตราสารหนี้ไทยได้มีมติที่จะจัดทำแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย โดยสมาคมฯได้จัดประชุมหารือ และระดมสมองกับผู้ร่วมตลาดที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้ค้าตราสารหนี้ และกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกัน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย และจัดทำเป็นแผนพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้สมาคมฯ ได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ได้จากการระดมสมองในครั้งนี้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยเบื้องต้นแล้วซึ่งทาง ThaiBMA จะนำร่างดังกล่าวไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันศึกษา และรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่สมบูรณ์ต่อไป โดยมาตรการเพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับร่างนี้ สามารถสรุปเป็นมาตรการหลักๆ
โดยมาตรการที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรก ได้แก่ 1.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันภาคเอกชนที่ระดมทุนด้วยหุ้นกู้ยังมีจำกัด และบริษัทที่มีศักยภาพหลายๆ รายยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการระดมทุนผ่านช่องทางตราสารหนี้ ซึ่งแนวทางการผลักดันจะเน้นไปที่การให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกหุ้นกู้ในกลุ่มบริษัทภาคเอกชนรายใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยออกหุ้นกู้ ควบคู่ไปกับศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการระดมทุนผ่าน หุ้นกู้ ทั้งด้านต้นทุนและกฎระเบียบ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขต่อไป และ 2.มาตรการด้านภาษีอากรเกี่ยวกับตราสารหนี้ โดยพิจารณาปัญหาด้านภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในตราสารหนี้ของกลุ่มนักลงทุน อาทิ ภาษีการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย ควบคู่ไปกับความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น
ส่วนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับตลาดรอง ได้แก่ 1.ผลักดันให้ผู้ค้าตราสารหนี้หลัก (Primary Dealer: PD) ทำหน้าที่สร้างให้เกิดสภาพคล่องในตลาด (Market Maker) โดยกำหนดสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้ค้าตราสารหนี้หลัก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ค้าตราสารหนี้หลักสามารถทำหน้าที่ในฐานะผู้ค้าหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดแรกและตลาดรองตราสารหนี้ พร้อมกับพิจารณาสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำหน้าที่ของผู้ค้าตราสารหนี้หลักต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 2.เพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรรัฐบาลโดยการลดจำนวนรุ่นและเพิ่มปริมาณต่อรุ่น พันธบัตรรัฐบาลที่ปัจจุบันมีมากถึง 53 รุ่น ทำให้การซื้อขายค่อนข้างกระจัดกระจายและขาดสภาพคล่องโดยเฉพาะในรุ่นที่มีขนาดเล็กและไม่ได้มีการออกต่อเนื่อง ซึ่งหากมีปรับลดจำนวนรุ่นลง และเพิ่มมูลค่าต่อรุ่นให้มีค่าสูงขึ้น จะส่งผลให้สภาพคล่องของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลแต่ละรุ่นเพิ่มขึ้น
3.ส่งเสริมการทำธุรกรรมกู้ยืม และการทำธุรกรรมขายชอร์ต Short sell โดยมีแนวทางสนับสนุนการทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน(Private repo) โดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับศึกษาระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมยิ่งขึ้น อาทิ ระบบ Tri-Party Repo และการผลักดันธุรกรรมกู้ยืมหลักทรัพย์ Securities Borrowing and Lending (SBL) ในตราสารหนี้เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ร่วมตลาดทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบการซื้อขายได้ง่ายขึ้น
4.ส่งเสริมการซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อย โดยจัดทำหน้าตารางการซื้อขายตราสารหนี้สำหรับนักลงทุนรายย่อย (Bond Mart) เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถทราบข้อมูลราคาตราสารหนี้ได้สะดวก และรวดเร็ว ควบคู่ไปกับเพิ่มช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์การลงทุนในตราสารหนี้ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้กับนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ค้าตราสารหนี้ในการให้บริการแก่นักลงทุนรายย่อยด้วย
5.พัฒนาระบบการซื้อขายในตลาดรองตราสารหนี้ โดยพัฒนาระบบซื้อขายหรืออำนวยความสะดวกในการซื้อขายให้แก่ผู้ค้าตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ร่วมตลาดกลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงระบบการเจรจาต่อรอง การยืนยันการซื้อขายและการรายงานข้อมูลมายัง ThaiBMA เข้าด้วยกัน
นายบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรวมเข้ากับแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ฉบับนี้ เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านตราสารหนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านตราสารหนี้ใหม่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การเชื่อมโยงตลาดตราสารหนี้ไทยกับตลาดตราสารหนี้ภูมิภาค เป็นต้น
“คณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มั่นใจว่าแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยฉบับนี้ ซึ่งเป็นการริเริ่มครั้งแรกจากการผลักดันของผู้ร่วมตลาดในตลาดตราสารหนี้ทุกฝ่าย จะทำให้ตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทยมีการพัฒนาทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง และทำให้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งระดมทุนที่มั่นคงอีกทางหนึ่งของทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ” นายบัณฑิตกล่าว
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดตราสารหนี้ไทยได้มีมติที่จะจัดทำแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย โดยสมาคมฯได้จัดประชุมหารือ และระดมสมองกับผู้ร่วมตลาดที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้ค้าตราสารหนี้ และกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกัน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย และจัดทำเป็นแผนพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้สมาคมฯ ได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ได้จากการระดมสมองในครั้งนี้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยเบื้องต้นแล้วซึ่งทาง ThaiBMA จะนำร่างดังกล่าวไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันศึกษา และรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่สมบูรณ์ต่อไป โดยมาตรการเพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับร่างนี้ สามารถสรุปเป็นมาตรการหลักๆ
โดยมาตรการที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรก ได้แก่ 1.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันภาคเอกชนที่ระดมทุนด้วยหุ้นกู้ยังมีจำกัด และบริษัทที่มีศักยภาพหลายๆ รายยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการระดมทุนผ่านช่องทางตราสารหนี้ ซึ่งแนวทางการผลักดันจะเน้นไปที่การให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกหุ้นกู้ในกลุ่มบริษัทภาคเอกชนรายใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยออกหุ้นกู้ ควบคู่ไปกับศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการระดมทุนผ่าน หุ้นกู้ ทั้งด้านต้นทุนและกฎระเบียบ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขต่อไป และ 2.มาตรการด้านภาษีอากรเกี่ยวกับตราสารหนี้ โดยพิจารณาปัญหาด้านภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในตราสารหนี้ของกลุ่มนักลงทุน อาทิ ภาษีการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย ควบคู่ไปกับความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น
ส่วนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับตลาดรอง ได้แก่ 1.ผลักดันให้ผู้ค้าตราสารหนี้หลัก (Primary Dealer: PD) ทำหน้าที่สร้างให้เกิดสภาพคล่องในตลาด (Market Maker) โดยกำหนดสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้ค้าตราสารหนี้หลัก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ค้าตราสารหนี้หลักสามารถทำหน้าที่ในฐานะผู้ค้าหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดแรกและตลาดรองตราสารหนี้ พร้อมกับพิจารณาสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำหน้าที่ของผู้ค้าตราสารหนี้หลักต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 2.เพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรรัฐบาลโดยการลดจำนวนรุ่นและเพิ่มปริมาณต่อรุ่น พันธบัตรรัฐบาลที่ปัจจุบันมีมากถึง 53 รุ่น ทำให้การซื้อขายค่อนข้างกระจัดกระจายและขาดสภาพคล่องโดยเฉพาะในรุ่นที่มีขนาดเล็กและไม่ได้มีการออกต่อเนื่อง ซึ่งหากมีปรับลดจำนวนรุ่นลง และเพิ่มมูลค่าต่อรุ่นให้มีค่าสูงขึ้น จะส่งผลให้สภาพคล่องของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลแต่ละรุ่นเพิ่มขึ้น
3.ส่งเสริมการทำธุรกรรมกู้ยืม และการทำธุรกรรมขายชอร์ต Short sell โดยมีแนวทางสนับสนุนการทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน(Private repo) โดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับศึกษาระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมยิ่งขึ้น อาทิ ระบบ Tri-Party Repo และการผลักดันธุรกรรมกู้ยืมหลักทรัพย์ Securities Borrowing and Lending (SBL) ในตราสารหนี้เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ร่วมตลาดทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบการซื้อขายได้ง่ายขึ้น
4.ส่งเสริมการซื้อขายตราสารหนี้ของนักลงทุนรายย่อย โดยจัดทำหน้าตารางการซื้อขายตราสารหนี้สำหรับนักลงทุนรายย่อย (Bond Mart) เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถทราบข้อมูลราคาตราสารหนี้ได้สะดวก และรวดเร็ว ควบคู่ไปกับเพิ่มช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์การลงทุนในตราสารหนี้ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้กับนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ค้าตราสารหนี้ในการให้บริการแก่นักลงทุนรายย่อยด้วย
5.พัฒนาระบบการซื้อขายในตลาดรองตราสารหนี้ โดยพัฒนาระบบซื้อขายหรืออำนวยความสะดวกในการซื้อขายให้แก่ผู้ค้าตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ร่วมตลาดกลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงระบบการเจรจาต่อรอง การยืนยันการซื้อขายและการรายงานข้อมูลมายัง ThaiBMA เข้าด้วยกัน
นายบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรวมเข้ากับแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ฉบับนี้ เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านตราสารหนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านตราสารหนี้ใหม่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การเชื่อมโยงตลาดตราสารหนี้ไทยกับตลาดตราสารหนี้ภูมิภาค เป็นต้น
“คณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มั่นใจว่าแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยฉบับนี้ ซึ่งเป็นการริเริ่มครั้งแรกจากการผลักดันของผู้ร่วมตลาดในตลาดตราสารหนี้ทุกฝ่าย จะทำให้ตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทยมีการพัฒนาทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง และทำให้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งระดมทุนที่มั่นคงอีกทางหนึ่งของทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ” นายบัณฑิตกล่าว