xs
xsm
sm
md
lg

จับตาปัญหาวิกฤตหนี้สินกรีซ ปัจจัยที่ชี้ทิศทางการลงทุน...รุ่งหรือร่วง!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เสียงจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ "ไอเอ็มเอฟ" ที่ออกมากระตุ้นให้กลุ่มประเทศยูโรโซน เร่งใช้มาตรการเด็ดขาดในการเข้าช่วยเหลือแก่ประเทซกรีซอย่างเร่งด่วน ซึ่งกำลังดิ้นสุดกำลังเพื่อให้โงหัวขึ้นจากวิกฤตหนี้ ที่ล่วมหัวอยู่ในขณะนี้ และยังเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของโลกยังคงถูกท้าทายจากวิกฤติทางการเงินอยู่ โดยประเทศกรีซได้ยื่นขอความช่วยเหลือเป็นรอบที่ 2 ครั้งนี้ทำให้ทั่วโลกก็จับตาดูกันอย่างจริงจังว่าประเทศกรีซจะเป็นอย่างไรต่อ.... และจะมีผลต่อการลงทุนอย่างไรบ้าง เพราะล่าสุด สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ "เอสแอนด์พี" ได้ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของประเทศกรีซ ลงจากระดับ "B" มาห้อยอยู่แค่ที่ระดับ "CCC" เป็นการบอกให้นักลงทุนทั้งหลาย เข้าใจได้ว่าเป็นระดับที่ “ไม่มีความน่าเชื่อถือ”

จากพายุวิกฤตหนี้สินของประเทศกรีซนี่เองที่ส่งผลความมั่นใจของนักลงทุนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ตลาดหุ้นผันผวนบ้างในช่วงระยะนี้ ซึ่งนักลงทุนต่างรอดูความชัดเจนจากวิกฤตของยูโรโซนว่าจะเป็นอย่างไร.... ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดของ ธนาคารเอชเอสบีซี ระบุว่า ผู้จัดการกองทุน 44% ได้มีการปรับมุมมองความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้นมาอยู่ที่ระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ผู้จัดการกองทุนทั้งหมดให้น้ำหนักลงทุนในหุ้น แต่ก็ อีก 44% เช่นเดียวกันที่ยังมองว่าหุ้นยังน่าลงทุนโดยเฉพาะการเติบโตของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนต่างๆจะมีผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น นั้นเป็นมุมมองที่สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่ยังมีความน่าสนใจแม้จะมีความเสี่ยงจากปัจจัยด้านวิกฤติการเงินของยูโรโซน

เช่นเดียวกับ ผู้จัดการกองทุนของไทยอย่าง กรวุฒิ ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย ) จำกัด  ที่บอกว่าช่วง 1 - 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ปัญหาหนี้กรีซกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่มากพอสมควร เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของพญาอินทรีที่เริ่มมีความกังวลว่าหากไม่มีการต่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) ที่จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.2554 นี้ แล้วเศรษฐกิจสหรัฐจะเป็นอย่างไร แต่จากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่า เมื่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สิ้นสุดลงตลาดหุ้นสหรัฐจะปรับตัวลง ดังนั้นโอกาสที่ดัชนี S&P500 จะปรับลงมาต่ำกว่าระดับ 1,200 จุด ก็เป็นไปได้อีกครั้งเช่นกัน

ขณะเดียวกันอีกข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ ภาพตลาดหุ้นหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวมาประมาณ 2 ปีนี้ ซึ่งหากเอาไปเทียบเคียงกับวิกฤติในช่วงปี 1972-1977 นั้น จะเห็นได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นขณะนี้ก็น่าจะมาถึงจุดสูงสุดแล้วและมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้ และเมื่อย้อนไปอีกไปเทียบกับช่วงวิกฤติครั้งใหญ่ปี 1932-1938 จะเห็นได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นขณะนี้ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นต่อไปได้อีกประมาณ 3 ปี ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวลดลงตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หรือ ตลาดหุ้นอาจจะมาถึงช่วงที่ไม่ไปไหนไซด์เวย์ 2 - 5 ปี ก็ได้ หลังจากที่มีการฟื้นตัวมาต่อเนื่อง 2 ปีแล้ว

ดังนั้นจึงได้แนะนำว่า การลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ ควรจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น ให้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ลง เพราะปัจจัยในต่างประเทศเองยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก มุมมองของบลจ.ยูโอบีมองว่าการลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์เป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 อยู่ และไม่ต้องกังวลเพราะมูลค่าหุ้นในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา

แม้ว่าในห้วงช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจโลกจะมีการเติบโตๆพร้อมกับปัญหาที่น่าหวาดหวั่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้านเศรษฐกิจของเอเชียและตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตขึ้นมาจนเป็นน่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลกที่นำโดย เศรษฐกิจของ พญามังกร อย่างจีนหรืออินเดีย แต่ทั้งสองประเทศนี้ก็กำลังกุมขมับกับปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นๆ รวมถึง ประเทศเกิดใหม่จากละตินอเมริกาอย่าง "บราซิล" ที่กำลังโดนเงินเฟ้อเล่นงานอยู่ จนธนาคารกลางของบราซิล ต้องปรับขึ้นอีกจากระดับ 10.75% ไปอยู่ที่ 12.25% ส่งผลให้บราซิลเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงที่สุดในโลก หรือแม้แต่กลุ่มประเทศเกิดใหม่อื่นๆก็ตาม ที่ใช่ว่าการเติบโตที่แข็งแกร่งนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาของมหาอำนาจเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯและยุโรปแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงต้องติดตามสัญญาณทางเศรษฐกิจทั้งหลายว่าจะบ่งบอกทิศทางอย่างไรบ้าง น่าลงทุนหรือไม่ ต้องระวังปัจจัยอะไรรวมถึงตราสารใดที่น่าลงทุนและไม่น่าลงทุน เหล่านี้ เป็นเหมือนป้ายบอกทางได้แก่นักลงทุนทั้งหลายได้ทราบกัน ซึ่ง ป้ายบอกทางนี้เอง ผู้จัดการกองทุน ได้นำมาบอกกับนักลงทุนว่า มีป้ายอะะไรบ้างที่ต้องจับตามองต่อจากนี้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. ยูโอบี บอกว่า ปัจจัยที่จะต้องจับตาดูต่อไปนี้คือปัจัยที่จะส่งผลต่อภาพรวมของตลาดหุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ดี ได้แก่ 1) ตัวเลขดัชนีคำสั่งซื้อของเพื่อผลิต (ISM) ของสหรัฐที่ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวอย่างไม่ยั่งยืนมีสูงและดัชนีตัวนี้มีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้น S&P500 ในทางเดียวกันด้วย 2) ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทะลุ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งหากขึ้นสูงจะกระทบต้นทุนของบริษัทและความสามารถในการใช้จ่ายและการทำกำไรของบริษัท

ปัจจัยที่ 3 ได้แก่ 3) การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ไม่เป็นไปตามที่คาด เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆตาม 4) อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่จะให้ผลไม่ต่างกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 5) มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2 ) ที่จบลงแล้วไม่มี QE3

ปัจจัยที่ 6) คือ การที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนมากกว่า 5.0% ซึ่งสะท้อนเห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้นยังไม่ดี และปัจจัยสุดท้ายคือ ดัชนีชี้วัดความผันผวนต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณในเชิงลบต่อตลาดหุ้นทั้งสิ้น

แล้วจะมีสัญญาณที่ดีอะไรบ้างล่ะ...ที่จะบอกได้ว่า กำลังเข้าสู่ทิศทางที่ดี สัญาณที่ดีที่ว่านี้ก็ได้แก่ 1) การที่เศรษฐกิจสามารถกลับมาขับเคลื่อนต่อไปได้ ซึ่งมองว่าน่าจะกลับมาขับเคลื่อนไปต่อไปได้ แม้ว่าในช่วงระยะสั้นๆนี้จะเกิดปัญหาและชะงักไปบ้าง ปัจจัยที่ 2) คือ การที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังสามารถมีกำไรที่ดีอยู่ และมีเงินสดที่มากเพื่อลงทุนต่อไป ซึ่งก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้

ปัจจัยต่อมาคือ การที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่มีการควบคุมการเติบโตของเศรษฐกิจให้สอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อ นั่นก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจยังดีอยู่ และปัจจัยสุดท้ายคือ การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือ QE3 อีกต่อไปสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง

ครับ.. นั่นเป็น ปัจจัยต่างๆ ที่ให้นักลงทุนได้เฝ้ามองกันว่า ตอนนี้ มีสัญญาณอะไรที่ดีและไม่ดีบ้าง..จะได้ เตรียมการหรือปรับพอร์ตลงทุนได้ อย่างเหมาะสม... แต่ในขณะเดียวกันนี้ จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนนั้น ทำให้หุ้นของยุโรปได้ตกลงมามากพอสมควรจนขณะนี้มองกันแล้วว่า หุ้นของยุโรปน่าที่จะเข้าไปลงทุนได้ เพราะหุ้นในหลายๆบริษัทยังคงมีการเติบโตที่ดี แม้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจจะไม่น่าชื่นชมยินดีนักก็ตาม ....
กำลังโหลดความคิดเห็น