ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน ธนาคารกลางสหรัฐฯยังตรึงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเช่นเดิม แม้จะสิ้นสุดมาตรการ QE2 ในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ พร้อมยังคงนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะ เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนสภาพคล่องที่อัดฉีดใน QE2 คาดเฟดจะทยอยดึงเงินออกจากระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไป
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ยังมีความจำเป็นที่จะต้องคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ระดับต่ำต่อไป และแม้จะคาดว่าเฟดคงสิ้นสุดมาตรการ QE2 ตามกำหนดที่วางไว้ในเดือน มิ.ย. 2554 แต่เฟดน่าจะคงขนาดงบดุลไว้ใกล้เคียงเดิม เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวยังคงมีอยู่ โดยสัญญาณเกี่ยวกับการอ่อนแรงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง
ในขณะที่การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้ออาจเป็นภาวะเกิดขึ้นชั่วคราวนอกจากนี้ จาก Taylor Rule จะพบว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในแดนลบ ในขณะที่หากนำประมาณการเศรษฐกิจของเฟด ที่ประเมินว่าอัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 8.4-8.7% และ 1.3-1.6% ตามลำดับ มาพิจารณาตามเกณฑ์เดียวกันก็บ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในช่วงสิ้นปียังคงอยู่ในระดับใกล้เคียง 0%
นอกจากนี้หลังสิ้นสุด QE2 ในเดือน มิ.ย. 2554นี้ แม้จะไม่มีการดำเนินนโยบายผ่อนคลายสภาพคล่องเพิ่มเติมด้วยการอัดฉีดเงินหรือการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม แต่เฟดน่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยการคงขนาดงบดุล ผ่านการนำเงินที่ได้จากการครบกำหนดของตราสารมาลงทุนอีก เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่ง (โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 157,000 ตำแหน่งต่อเดือน ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับปกติในระยะเวลาอันใกล้) ก่อนที่เฟดน่าจะค่อยๆ ลดขนาดของงบดุลลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบการเงินในระยะถัดไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า การถอยออกจากนโยบายการผ่อนคลายอย่างมากของเฟดน่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังไม่น่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ขณะที่ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ล่าสุด ประเมินว่า การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย FED Funds ของเฟด อาจเกิดขึ้นในช่วงประมาณกลางปี 2555 เลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้เป็นอย่างเร็ว
แม้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาในเดือน พ.ค. ออกมาค่อนข้างน่าผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการ การใช้จ่ายผู้บริโภค และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ว่า การอ่อนตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจนี้ อาจเป็นเพียงแค่ปัจจัยชั่วคราว โดยเป็นผลจาก 1.ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอันเกิดจากความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 2. การผลิตที่ชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตอันเป็นผลจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น 3. สภาพอากาศที่เลวร้ายและน้ำท่วมในบริเวณ ตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast) และตอนกลางของภาคตะวันตก (Midwest)
โดยปัจจัยเหล่านี้ น่าจะคลี่คลายลงในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ จะพบว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ โดยเฉพาะบริษัทนอกภาคการเงิน ได้ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากจากช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนุนการจ้างงาน และการบริโภคของสหรัฐฯ ในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นที่คาดหวังว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ น่าจะเป็นตัวนำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับสู่เส้นทางการฟื้นตัวได้ ในขณะที่เฟดค่อยๆ ดำเนินการถอยออกจากมาตรการผ่อนคลายอย่างมาก (Exit Strategy) อย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตามประเด็นการคลังยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยการปรับลดการใช้จ่ายของภาครัฐ เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน โดยในระยะสั้น ตลาดยังคงให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง การขยายเพดานหนี้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Debt Ceiling) โดยบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำ ต่างออกมาเตือนว่า หากสหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะมีข้อสรุปในการขยายเพดานนี้ในเร็วๆ นี้หรือประมาณกลางเดือน ก.ค. ก็มีโอกาสที่อันดับเครดิตของสหรัฐฯ จะถูกทบทวน (Put on review) รวมไปถึงโอกาสที่สหรัฐฯ อาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Default) หากเพดานหนี้ไม่สามารถขยายได้ทันช่วงก่อนวันที่ 2 ส.ค. 54 นี้ ตามการประเมินของ รมว. คลังสหรัฐฯ
ขณะเดียวกันแม้ว่าตลาดยังคงเชื่อว่า การขยายเพดานหนี้รอบนี้ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าในอดีต เพราะผูกพันกับประเด็นการต่อรองอำนาจทางการเมืองและการพิจารณาแผนงบประมาณปี 2555 (2012 Budget Plan) ที่ตามปกติจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค. 54 น่าจะสามารถบรรลุได้ทันและทำให้สหรัฐฯ รอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ได้ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จดังกล่าวคงแลกมาด้วยความพยายามในการประนีประนอมเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่สองพรรคการเมืองใหญ่รับได้ และนำไปสู่แนวทางการตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐ ในช่วงทศวรรษนี้อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ การปรับลดการขาดดุลในขนาดที่สูงอาจจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางได้ ซึ่งประเด็นนี้ อาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการคงมาตรการผ่อนคลายการเงินอย่างมากของเฟดต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่มองไปข้างหน้า บทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคงจะลดลง ทั้งในด้านของขนาดและความยืดหยุ่น โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด หรือมีเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
สำหรับจุดสนใจของตลาดคงจะมุ่งเน้นไปที่มุมมองของเฟดที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯในระยะถัดไป หลังสิ้นสุดมาตรการผ่อนคลายสภาพคล่องครั้งที่สอง (QE2) ท่ามกลางความเสี่ยงต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ในขณะที่ความสามารถของทางการสหรัฐฯ ในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภายภาคหน้าคงทำได้อย่างจำกัด
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ยังมีความจำเป็นที่จะต้องคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ระดับต่ำต่อไป และแม้จะคาดว่าเฟดคงสิ้นสุดมาตรการ QE2 ตามกำหนดที่วางไว้ในเดือน มิ.ย. 2554 แต่เฟดน่าจะคงขนาดงบดุลไว้ใกล้เคียงเดิม เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวยังคงมีอยู่ โดยสัญญาณเกี่ยวกับการอ่อนแรงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง
ในขณะที่การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้ออาจเป็นภาวะเกิดขึ้นชั่วคราวนอกจากนี้ จาก Taylor Rule จะพบว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในแดนลบ ในขณะที่หากนำประมาณการเศรษฐกิจของเฟด ที่ประเมินว่าอัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 8.4-8.7% และ 1.3-1.6% ตามลำดับ มาพิจารณาตามเกณฑ์เดียวกันก็บ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในช่วงสิ้นปียังคงอยู่ในระดับใกล้เคียง 0%
นอกจากนี้หลังสิ้นสุด QE2 ในเดือน มิ.ย. 2554นี้ แม้จะไม่มีการดำเนินนโยบายผ่อนคลายสภาพคล่องเพิ่มเติมด้วยการอัดฉีดเงินหรือการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม แต่เฟดน่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยการคงขนาดงบดุล ผ่านการนำเงินที่ได้จากการครบกำหนดของตราสารมาลงทุนอีก เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่ง (โดย ณ ปัจจุบัน อัตราการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 157,000 ตำแหน่งต่อเดือน ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับปกติในระยะเวลาอันใกล้) ก่อนที่เฟดน่าจะค่อยๆ ลดขนาดของงบดุลลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบการเงินในระยะถัดไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า การถอยออกจากนโยบายการผ่อนคลายอย่างมากของเฟดน่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังไม่น่าจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ขณะที่ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ล่าสุด ประเมินว่า การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย FED Funds ของเฟด อาจเกิดขึ้นในช่วงประมาณกลางปี 2555 เลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้เป็นอย่างเร็ว
แม้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาในเดือน พ.ค. ออกมาค่อนข้างน่าผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการ การใช้จ่ายผู้บริโภค และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ว่า การอ่อนตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจนี้ อาจเป็นเพียงแค่ปัจจัยชั่วคราว โดยเป็นผลจาก 1.ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอันเกิดจากความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 2. การผลิตที่ชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตอันเป็นผลจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น 3. สภาพอากาศที่เลวร้ายและน้ำท่วมในบริเวณ ตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast) และตอนกลางของภาคตะวันตก (Midwest)
โดยปัจจัยเหล่านี้ น่าจะคลี่คลายลงในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ จะพบว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ โดยเฉพาะบริษัทนอกภาคการเงิน ได้ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากจากช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนุนการจ้างงาน และการบริโภคของสหรัฐฯ ในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นที่คาดหวังว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ น่าจะเป็นตัวนำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับสู่เส้นทางการฟื้นตัวได้ ในขณะที่เฟดค่อยๆ ดำเนินการถอยออกจากมาตรการผ่อนคลายอย่างมาก (Exit Strategy) อย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตามประเด็นการคลังยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยการปรับลดการใช้จ่ายของภาครัฐ เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน โดยในระยะสั้น ตลาดยังคงให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง การขยายเพดานหนี้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Debt Ceiling) โดยบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำ ต่างออกมาเตือนว่า หากสหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะมีข้อสรุปในการขยายเพดานนี้ในเร็วๆ นี้หรือประมาณกลางเดือน ก.ค. ก็มีโอกาสที่อันดับเครดิตของสหรัฐฯ จะถูกทบทวน (Put on review) รวมไปถึงโอกาสที่สหรัฐฯ อาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Default) หากเพดานหนี้ไม่สามารถขยายได้ทันช่วงก่อนวันที่ 2 ส.ค. 54 นี้ ตามการประเมินของ รมว. คลังสหรัฐฯ
ขณะเดียวกันแม้ว่าตลาดยังคงเชื่อว่า การขยายเพดานหนี้รอบนี้ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าในอดีต เพราะผูกพันกับประเด็นการต่อรองอำนาจทางการเมืองและการพิจารณาแผนงบประมาณปี 2555 (2012 Budget Plan) ที่ตามปกติจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค. 54 น่าจะสามารถบรรลุได้ทันและทำให้สหรัฐฯ รอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ได้ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จดังกล่าวคงแลกมาด้วยความพยายามในการประนีประนอมเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่สองพรรคการเมืองใหญ่รับได้ และนำไปสู่แนวทางการตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐ ในช่วงทศวรรษนี้อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ การปรับลดการขาดดุลในขนาดที่สูงอาจจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางได้ ซึ่งประเด็นนี้ อาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการคงมาตรการผ่อนคลายการเงินอย่างมากของเฟดต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่มองไปข้างหน้า บทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคงจะลดลง ทั้งในด้านของขนาดและความยืดหยุ่น โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด หรือมีเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
สำหรับจุดสนใจของตลาดคงจะมุ่งเน้นไปที่มุมมองของเฟดที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯในระยะถัดไป หลังสิ้นสุดมาตรการผ่อนคลายสภาพคล่องครั้งที่สอง (QE2) ท่ามกลางความเสี่ยงต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ในขณะที่ความสามารถของทางการสหรัฐฯ ในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภายภาคหน้าคงทำได้อย่างจำกัด