ASTVผู้จัดการรายวัน - Goldman Sachs คาดการณ์ราคาน้ำมัน วิ่งขึ้น 120 เหรียญฯปลายปีนี้ และขึ้นถึง 130 เหรียญฯ ในปลายปีหน้า จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศเกิดใหม่ และการเสียกำลังผลิตจากลิเบีย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานว่า Goldman Sachs และ Morgan Stanley ได้มีการปรับขึ้นประมาณการราคาน้ำมันขึ้น 20% ในปลายปี 2554 จาก 100 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น 120 เหรียญต่อบาร์เรล และปลายปี 2555 จาก 105 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น 130 เหรียญต่อบาร์เรล โดยสาเหตุสำคัญที่ Goldman Sachs และ Morgan Stanley ได้มีการปรับประมาณการราคาน้ำมันขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และการสูญเสียกำลังการผลิตจากประเทศลิเบีย เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ว่า สต็อกน้ำมันจะตึงตัวอย่างมากในไตรมาส 3 และ 4 ถ้ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่เพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากสูญเสียกำลังการผลิตไปราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันของลิเบีย และอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ขอบเขตที่สำคัญนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความสามารถของประเทศเกิดใหม่ในการรักษาเงินอุดหนุน และ ความแข็งแกร่งของค่าการกลั่น นอกจากนี้ ทาง Goldman Sachs ได้ให้น้ำหนักมากกว่าตลาด (Overweight) ในระยะยาวต่อน้ำมัน ทองแดง และสังกะสี และยังระบุอีกว่าตลาดจะตึงตัวอย่างรุนแรงในปี 2555ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างมาก
ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) ได้รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.0 และหากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ร้อยละ2.0 สศค. ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.0 การบริโภคและการลงทุนเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 8.5ตามลำดับ
โดย การบริโภคในประเทศน่าจะยังคงขยายตัวได้ดี และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ขณะเดียวกันในส่วนของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในกรอบแคบ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปีเปลี่ยนแปลงร้อยละ -0.04 - +0.04 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2 - 10 ปี เปลี่ยนแปลงร้อยละ -0.01 - +0.03 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปีปรับลดลงร้อยละ 0.00 - 0.05 ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 - 10 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.53 ในสัปดาห์ก่อน เป็นร้อยละ 0.50 ในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในกรอบแคบเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีปัจจัยใหม่ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ว่า คณะกรรมการฯ จะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างไร เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะถัดไปนอกจากนี้ในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนพฤษภาคมด้วย หากอัตราเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นเร็ว ก็น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นได้อีก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานว่า Goldman Sachs และ Morgan Stanley ได้มีการปรับขึ้นประมาณการราคาน้ำมันขึ้น 20% ในปลายปี 2554 จาก 100 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น 120 เหรียญต่อบาร์เรล และปลายปี 2555 จาก 105 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น 130 เหรียญต่อบาร์เรล โดยสาเหตุสำคัญที่ Goldman Sachs และ Morgan Stanley ได้มีการปรับประมาณการราคาน้ำมันขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และการสูญเสียกำลังการผลิตจากประเทศลิเบีย เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ว่า สต็อกน้ำมันจะตึงตัวอย่างมากในไตรมาส 3 และ 4 ถ้ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่เพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากสูญเสียกำลังการผลิตไปราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันของลิเบีย และอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ขอบเขตที่สำคัญนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความสามารถของประเทศเกิดใหม่ในการรักษาเงินอุดหนุน และ ความแข็งแกร่งของค่าการกลั่น นอกจากนี้ ทาง Goldman Sachs ได้ให้น้ำหนักมากกว่าตลาด (Overweight) ในระยะยาวต่อน้ำมัน ทองแดง และสังกะสี และยังระบุอีกว่าตลาดจะตึงตัวอย่างรุนแรงในปี 2555ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างมาก
ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) ได้รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.0 และหากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ร้อยละ2.0 สศค. ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.0 การบริโภคและการลงทุนเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 8.5ตามลำดับ
โดย การบริโภคในประเทศน่าจะยังคงขยายตัวได้ดี และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ขณะเดียวกันในส่วนของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในกรอบแคบ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปีเปลี่ยนแปลงร้อยละ -0.04 - +0.04 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2 - 10 ปี เปลี่ยนแปลงร้อยละ -0.01 - +0.03 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปีปรับลดลงร้อยละ 0.00 - 0.05 ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 - 10 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.53 ในสัปดาห์ก่อน เป็นร้อยละ 0.50 ในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในกรอบแคบเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีปัจจัยใหม่ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ว่า คณะกรรมการฯ จะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างไร เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะถัดไปนอกจากนี้ในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนพฤษภาคมด้วย หากอัตราเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นเร็ว ก็น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นได้อีก