“ประสาร” ชี้ เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในประเทศ และต่างประเทศ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันขึ้นลงวูบวาบ เป็นผลจากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผันผวนมากกว่าปีก่อน เตือนนักลงทุนกระจายความเสี่ยง แตะเบรกมาตรการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตต้องระวังวินัยการเงินด้วย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปี 2554 สถานการณ์ความผันผวนยังมีไม่น้อยกว่าปีก่อน เพราะมีความไม่แน่นอน ทั้งเศรษฐกิจ การเมืองในประเทศและปัจจัยต่างประเทศยังไม่นับภัยธรรมชาติที่เป็นปัจจัยยากที่จะประเมิน ดังนั้นเงินทุนเคลื่อนย้ายจะมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้ามีความผันผวน ผู้ลงทุนต้องตระหนักในการบริหารและกระจายความเสี่ยง
วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวลงครั้งรุนแรง ส่งจนกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบไลท์ที่ตลาดนิวยอร์ก ปรับตัวลงต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นเอเชียรวมทั้งตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลงถ้วนหน้า
นายประสาร ยังกล่าวถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ว่า ยอมรับว่า มีผลต่อการออม การกู้เงิน การใช้จ่าย และราคาสินค้า แต่เป้าหมายการดูแลอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการประเมินสถานการณ์ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญแรงกดดันรอบด้านที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัว ทั้งการผลิตที่ตึงตัว การคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในระยะถัดไปต้องปรับดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติ
“ต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลเสถียรภาพของประเทศ การรักษาวินัยการเงินและการดูแลเงินเฟ้อต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย และ ธปท.ให้ความสำคัญกับการดูแลนโยบายการเงิน” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ส่วนการที่กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการรีไฟแนนซ์ลูกหนี้บัตรเครดิต โดยโอนหนี้ให้กับธนาคารรัฐนั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า กลไกดังกล่าวอยากให้คำนึงถึง 3 เรื่องหลัก คือ การทำงานที่เอื้อกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในที่สุดแล้วกลไกตลาดจะช่วยในการพัฒนาเอง ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ตลาดคำนึงถึงวินัยการเงินด้วย
การที่กลไกของรัฐในการออกมาตรการจะต้องระมัดระวังไม่ให้ทำลายวินัยการเงิน และวินัยการคลัง ซึ่งการใช้กลไกรัฐเข้ามามีบทบาทดังกล่าวจะมีภาระเรื่องงบประมาณ หากทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเป็นภาระผูกพันต่อฐานะการคลังของประเทศ
“ในช่วงบรรยากาศการเลือกตั้ง ไม่อยากแสดงความเห็นเป็นการเฉพาะและยังไม่ทราบรายละเอียด แต่มาตรการดังกล่าวมีกลไกแยกแยะลูกค้าระหว่างลูกค้าดีกับลูกค้าที่มีปัญหาก็เป็นเรื่องที่ดีและการลดดอกเบี้ยเหลือเฉลี่ย 10% ถือเป็นโจทย์ทางธุรกิจ” นายประสาร กล่าว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปี 2554 สถานการณ์ความผันผวนยังมีไม่น้อยกว่าปีก่อน เพราะมีความไม่แน่นอน ทั้งเศรษฐกิจ การเมืองในประเทศและปัจจัยต่างประเทศยังไม่นับภัยธรรมชาติที่เป็นปัจจัยยากที่จะประเมิน ดังนั้นเงินทุนเคลื่อนย้ายจะมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้ามีความผันผวน ผู้ลงทุนต้องตระหนักในการบริหารและกระจายความเสี่ยง
วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวลงครั้งรุนแรง ส่งจนกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบไลท์ที่ตลาดนิวยอร์ก ปรับตัวลงต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นเอเชียรวมทั้งตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลงถ้วนหน้า
นายประสาร ยังกล่าวถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ว่า ยอมรับว่า มีผลต่อการออม การกู้เงิน การใช้จ่าย และราคาสินค้า แต่เป้าหมายการดูแลอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการประเมินสถานการณ์ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญแรงกดดันรอบด้านที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัว ทั้งการผลิตที่ตึงตัว การคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในระยะถัดไปต้องปรับดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติ
“ต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลเสถียรภาพของประเทศ การรักษาวินัยการเงินและการดูแลเงินเฟ้อต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย และ ธปท.ให้ความสำคัญกับการดูแลนโยบายการเงิน” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ส่วนการที่กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการรีไฟแนนซ์ลูกหนี้บัตรเครดิต โดยโอนหนี้ให้กับธนาคารรัฐนั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า กลไกดังกล่าวอยากให้คำนึงถึง 3 เรื่องหลัก คือ การทำงานที่เอื้อกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในที่สุดแล้วกลไกตลาดจะช่วยในการพัฒนาเอง ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ตลาดคำนึงถึงวินัยการเงินด้วย
การที่กลไกของรัฐในการออกมาตรการจะต้องระมัดระวังไม่ให้ทำลายวินัยการเงิน และวินัยการคลัง ซึ่งการใช้กลไกรัฐเข้ามามีบทบาทดังกล่าวจะมีภาระเรื่องงบประมาณ หากทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเป็นภาระผูกพันต่อฐานะการคลังของประเทศ
“ในช่วงบรรยากาศการเลือกตั้ง ไม่อยากแสดงความเห็นเป็นการเฉพาะและยังไม่ทราบรายละเอียด แต่มาตรการดังกล่าวมีกลไกแยกแยะลูกค้าระหว่างลูกค้าดีกับลูกค้าที่มีปัญหาก็เป็นเรื่องที่ดีและการลดดอกเบี้ยเหลือเฉลี่ย 10% ถือเป็นโจทย์ทางธุรกิจ” นายประสาร กล่าว