ดึงคะแนนเสียงคนชั้นกลาง “กรณ์” เปิดสำนักปากท้องแก้หนี้ภาคประชาชน ใช้แบงก์กรุงไทย-ออมสินลดดอกเบี้ยลูกค้าบัตรเครดิตที่มีประวัติผ่อนชำระดีเหลือแค่ 10% ตั้งวงเงิน 5 หมื่นล้าน มั่นใจเดินหน้าปลายเดือนนี้หรือต้นเดือน มิ.ย. พร้อมรับบทบาทแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเฟส 2
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดตัวสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชนหรือ สำนักปากท้องว่า เป้าหมายหลักของเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริษัททางการเงินและสวัสดิการของประชาชนอย่างทั่วถึงด้วยการประสานงานกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนจะร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB และธนาคารออมสินเปิดตัวโครงการแก้หนี้บัตรเครดิตของลูกหนี้ที่มีประวัติในการชำระหนี้ดี แต่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ
ปัจจุบันมีหนี้บัตรเครดิตทั้งระบบประมาณ 1.9 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ดีประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และมีลูกหนี้ที่ผ่อนชำระดอกเบี้ยหรือชำระขั้นต่ำ 10% ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 30-35% ของวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท
ธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งจะเป็นผู้รับภาระรับโอนหนี้บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินและเปลี่ยนสถานะเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่มีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ระยะยาวขึ้นและอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากเดิม และเชื่อว่าธนาคารทั้ง 2แห่งคงไม่ต้องเตรียมวงเงินรองรับถึง 5 หมื่นล้านบาท เพราะมั่นใจว่า สถาบันการเงินผู้ออกบัตรจะต้องเสนอเงื่อนไขเข้ามาแข่งขัน เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ดีกลุ่มนี้ไว้ เพราะสิ่งที่รัฐบาลต้องการจากมาตรการดังกล่าวคือ ต้องการกระตุ้นให้สถาบันการเงินที่อออกบัตรเครดิตพิจารณาสถานะลูกหนี้ในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่ดี แต่กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ย เพื่อที่จะไม่ให้ต้องสูญเสียลูกค้ากลุ่มนี้ให้แก่ธนาคารรัฐ และรักษาสถานภาพของลูกหนี้กลุ่มนี้ต่อไป
“บัตรเครดิตถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน หากผู้ใช้บัตรไม่มีวินัย ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความคล่องตัวของมาตรการด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะเข้าโครงการยังถือบัตรไว้ได้ 1 ใบ รองรับเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ได้สักระยะหนึ่งก่อนเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มั่นใจว่า แม้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อาจจะได้รับเงื่อนไขที่ดีขึ้นจากธนาคารเจ้าของบัตร เพราะธนาคารผู้ออกบัตรจำเป็นต้องเสนอเงื่อนไขที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เพื่อที่จะไม่รักษาลูกค้าไว้ ไม่เช่นนั้น ก็มีสิทธิโดนโอนหนี้ส่วนนี้มาที่ธนาคารออมสินและกรุงไทยแทน" นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้ สำนักปากท้องยังต้องประสานความร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐในการเปิดโครงการแก้หนี้นอกระบบรอบที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงทะเบียนในเดือนสิงหาคม โดยมีเงื่อนไขเปลี่ยนไปจากรอบแรกคือจะลดวงเงินในการแก้หนี้จาก 2 แสนบาทต่อราย เหลือ 1.2 แสนบาทต่อราย และจะเปลี่ยนการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้จากเดิมที่จ่ายหนี้แทนก้อนเดียวทั้งหมด เปลี่ยนเป็นทยอยจ่ายคืนเป็นงวด เพื่อรอดูพฤติกรรมของลูกหนี้ด้วย รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเกษตร โดยจะดำเนินการทั้งในส่วนของลูกหนี้ของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส.เอง ไปควบคู่กัน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เบื้องต้นธนาคารออมสิน และกรุงไทยจะรับโอนหนี้บัตรเครดิตที่มีวงเงินเฉลี่ย 1-2 แสนบาทต่อราย โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 10% ต่อ ปี หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ (เอ็มแอลอาร์) บวก 3-5% ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับ 20 % โดยคาดว่าน่าจะเปิดขึ้นทะเบียนได้ในเดือนมิถุนายนนี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดตัวสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชนหรือ สำนักปากท้องว่า เป้าหมายหลักของเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริษัททางการเงินและสวัสดิการของประชาชนอย่างทั่วถึงด้วยการประสานงานกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนจะร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB และธนาคารออมสินเปิดตัวโครงการแก้หนี้บัตรเครดิตของลูกหนี้ที่มีประวัติในการชำระหนี้ดี แต่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ
ปัจจุบันมีหนี้บัตรเครดิตทั้งระบบประมาณ 1.9 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ดีประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และมีลูกหนี้ที่ผ่อนชำระดอกเบี้ยหรือชำระขั้นต่ำ 10% ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 30-35% ของวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท
ธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งจะเป็นผู้รับภาระรับโอนหนี้บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินและเปลี่ยนสถานะเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่มีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ระยะยาวขึ้นและอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากเดิม และเชื่อว่าธนาคารทั้ง 2แห่งคงไม่ต้องเตรียมวงเงินรองรับถึง 5 หมื่นล้านบาท เพราะมั่นใจว่า สถาบันการเงินผู้ออกบัตรจะต้องเสนอเงื่อนไขเข้ามาแข่งขัน เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ดีกลุ่มนี้ไว้ เพราะสิ่งที่รัฐบาลต้องการจากมาตรการดังกล่าวคือ ต้องการกระตุ้นให้สถาบันการเงินที่อออกบัตรเครดิตพิจารณาสถานะลูกหนี้ในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่ดี แต่กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ย เพื่อที่จะไม่ให้ต้องสูญเสียลูกค้ากลุ่มนี้ให้แก่ธนาคารรัฐ และรักษาสถานภาพของลูกหนี้กลุ่มนี้ต่อไป
“บัตรเครดิตถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน หากผู้ใช้บัตรไม่มีวินัย ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความคล่องตัวของมาตรการด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะเข้าโครงการยังถือบัตรไว้ได้ 1 ใบ รองรับเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ได้สักระยะหนึ่งก่อนเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มั่นใจว่า แม้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อาจจะได้รับเงื่อนไขที่ดีขึ้นจากธนาคารเจ้าของบัตร เพราะธนาคารผู้ออกบัตรจำเป็นต้องเสนอเงื่อนไขที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เพื่อที่จะไม่รักษาลูกค้าไว้ ไม่เช่นนั้น ก็มีสิทธิโดนโอนหนี้ส่วนนี้มาที่ธนาคารออมสินและกรุงไทยแทน" นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้ สำนักปากท้องยังต้องประสานความร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐในการเปิดโครงการแก้หนี้นอกระบบรอบที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงทะเบียนในเดือนสิงหาคม โดยมีเงื่อนไขเปลี่ยนไปจากรอบแรกคือจะลดวงเงินในการแก้หนี้จาก 2 แสนบาทต่อราย เหลือ 1.2 แสนบาทต่อราย และจะเปลี่ยนการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้จากเดิมที่จ่ายหนี้แทนก้อนเดียวทั้งหมด เปลี่ยนเป็นทยอยจ่ายคืนเป็นงวด เพื่อรอดูพฤติกรรมของลูกหนี้ด้วย รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเกษตร โดยจะดำเนินการทั้งในส่วนของลูกหนี้ของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส.เอง ไปควบคู่กัน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เบื้องต้นธนาคารออมสิน และกรุงไทยจะรับโอนหนี้บัตรเครดิตที่มีวงเงินเฉลี่ย 1-2 แสนบาทต่อราย โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 10% ต่อ ปี หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ (เอ็มแอลอาร์) บวก 3-5% ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับ 20 % โดยคาดว่าน่าจะเปิดขึ้นทะเบียนได้ในเดือนมิถุนายนนี้