“กรณ์” ยัน มาถูกทาง ฟุ้งลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันคุมเงินเฟ้อได้ 0.4% ระบุ หากไม่ทำเกิดเงินฝืด-เงินเฟ้อพร้อมกันจะแก้ปัญหายากกว่านี้ ขณะที่ สศค.หนุนอุ้มดีเซล เลี่ยงผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว ยันหลีกเลี่ยงผลกระทบเฟ้อพุ่งได้ยาก เหตุนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ขณะที่กรมสรรพสามิตยอมรับหากรัฐบาลไม่ตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรจะส่งผลเสียกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า สาเหตุที่ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง 5.30 บาท เนื่องจากประเมินแล้วปัจจุบันมีการอุดหนุนราคาน้ำมันอยู่แล้วที่ 6 บาทต่อลิตร หากจะช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรก็ต้องลดภาษีลงทั้งหมด เพราะก่อนตัดสินใจได้ประเมินผลกระทบจากการลดภาษีในระดับต่างๆ แล้วว่า จะมีผลกระทบต่อวินัยการคลังอย่างไรบ้าง ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เองได้รายงานว่า การจัดเก็บรายได้ปี 2554 จะเกินกว่าเป้าหมายที่เคยประเมินไว้สูงมากเกิน 1.2 แสนล้านบาท และขาดดุลงบประมาณเองก็จะไม่สูงถึง 4.2 แสนล้านบาทตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณ
“การลดภาษีส่วนนี้เพื่ออุ้มน้ำมันดีเซลช่วยชะลอไม่ให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นทันทีซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้บอกมาแล้วว่าจะช่วยชะลอเงินเฟ้อได้ 0.4% ผมเองคิดว่า มาตรการนี้คิดรอบคอบแล้วและส่งผลดีต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพราะหากไม่ทำอะไรเลยอาจเกิดทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดขึ้นพร้อมกันจะส่งผลลบต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมากกว่านี้” นายกรณ์ กล่าวและว่า แต่ทั้งนี้ขีดเส้นมาตรการนี้ไม่เกินสิ้นปีงบประมาณนี้เท่านั้น
ด้าน นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สศค.กล่าวว่า สศค.ได้ประเมินผลกระทบราคาน้ำมันที่เพิ่มในตลาดโลกต่อระบบเศรษฐกิจไทย พบว่า การที่รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรจนถึงเดือนกันยายน จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีลดลง 0.7% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลง 0.3% จากประมาณการทั้งปี ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัว 3.6% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 2.5% ซึ่งหากสามารถรักษาระดับเงินเฟ้อไว้ได้ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนไม่ชะลอลง และกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในที่สุด
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมขยายตัว 3.14% และเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 1.62% เฉลี่ยไตรมาสแรกปีนี้ เงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 3.0% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.46% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อเช่นเดียวกันและรุนแรงกว่าไทย โดยจะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนขยายตัว 5.4% เกาหลี 4.7% อินโดนีเซีย 6.7% ฟิลิปปินส์ 4.3% เวียดนาม 13.9%
“เงินเฟ้อเราเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมา เราควบคุมราคาสินค้าหลายอย่าง ขณะที่ต่างประเทศปรับราคาไปก่อนหน้านั้นนานแล้ว และแม้ว่า เงินเฟ้อเราจะขยายตัวขึ้น แต่ยังต่ำกว่าหลายๆ ประเทศทั่วโลก ที่ใกล้เคียงกับเรา คือ มาเลเซีย ที่เงินเฟ้อขยายตัว 3% แต่รัฐบาลมาเลเซียใช้มาตรการอุดหนุนน้ำมันมากกว่าไทยมาก ซึ่งหากเราปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด บวกกลับเงินเฟ้อที่ลดลง และจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกมาก และกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน” นายนริศ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเป็นการทั่วไป เพราะต้องการลดต้นทุนค่าขนส่งผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น และเป็นการยากที่จะแยกว่า รถยนต์ประเภทไหนที่เป็นการใช้น้ำมัน เพื่อการขนส่ง ขณะที่รถยนต์ในระบบประมาณ 7 ล้านคัน มีการใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพียง 32,000 คันและใช้ผสมระหว่างเอ็นจีวีน้ำมัน 40,000 คัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ขณะที่กรมสรรพสามิตได้ประเมินว่า ผลจากการตรึงราคาน้ำมันไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพียง 4% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 1,600 ล้านลิตรต่อเดือนเท่านั้น
แหล่งข่าวกรมสรรพสามิต ยอมรับว่า การตรึงราคาดีเซลนานๆ อาจทำให้ราคาตลาดบิดเบือนแต่หากรัฐบาลไม่ตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร จะส่งผลเสียกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เนื่อจากราคาสินค้าและค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้นทันที และมีผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึง 8% เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ได้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันดีเซลจำนวนมากประมาณวันละ 1.8 หมื่นล้านลิตร ขณะที่เบนซินมีการใช้เพียง 7 พันล้านลิตรเท่านั้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า สาเหตุที่ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง 5.30 บาท เนื่องจากประเมินแล้วปัจจุบันมีการอุดหนุนราคาน้ำมันอยู่แล้วที่ 6 บาทต่อลิตร หากจะช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรก็ต้องลดภาษีลงทั้งหมด เพราะก่อนตัดสินใจได้ประเมินผลกระทบจากการลดภาษีในระดับต่างๆ แล้วว่า จะมีผลกระทบต่อวินัยการคลังอย่างไรบ้าง ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เองได้รายงานว่า การจัดเก็บรายได้ปี 2554 จะเกินกว่าเป้าหมายที่เคยประเมินไว้สูงมากเกิน 1.2 แสนล้านบาท และขาดดุลงบประมาณเองก็จะไม่สูงถึง 4.2 แสนล้านบาทตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณ
“การลดภาษีส่วนนี้เพื่ออุ้มน้ำมันดีเซลช่วยชะลอไม่ให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นทันทีซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้บอกมาแล้วว่าจะช่วยชะลอเงินเฟ้อได้ 0.4% ผมเองคิดว่า มาตรการนี้คิดรอบคอบแล้วและส่งผลดีต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพราะหากไม่ทำอะไรเลยอาจเกิดทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดขึ้นพร้อมกันจะส่งผลลบต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมากกว่านี้” นายกรณ์ กล่าวและว่า แต่ทั้งนี้ขีดเส้นมาตรการนี้ไม่เกินสิ้นปีงบประมาณนี้เท่านั้น
ด้าน นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สศค.กล่าวว่า สศค.ได้ประเมินผลกระทบราคาน้ำมันที่เพิ่มในตลาดโลกต่อระบบเศรษฐกิจไทย พบว่า การที่รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรจนถึงเดือนกันยายน จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีลดลง 0.7% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลง 0.3% จากประมาณการทั้งปี ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัว 3.6% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 2.5% ซึ่งหากสามารถรักษาระดับเงินเฟ้อไว้ได้ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนไม่ชะลอลง และกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในที่สุด
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมขยายตัว 3.14% และเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 1.62% เฉลี่ยไตรมาสแรกปีนี้ เงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 3.0% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.46% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อเช่นเดียวกันและรุนแรงกว่าไทย โดยจะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนขยายตัว 5.4% เกาหลี 4.7% อินโดนีเซีย 6.7% ฟิลิปปินส์ 4.3% เวียดนาม 13.9%
“เงินเฟ้อเราเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมา เราควบคุมราคาสินค้าหลายอย่าง ขณะที่ต่างประเทศปรับราคาไปก่อนหน้านั้นนานแล้ว และแม้ว่า เงินเฟ้อเราจะขยายตัวขึ้น แต่ยังต่ำกว่าหลายๆ ประเทศทั่วโลก ที่ใกล้เคียงกับเรา คือ มาเลเซีย ที่เงินเฟ้อขยายตัว 3% แต่รัฐบาลมาเลเซียใช้มาตรการอุดหนุนน้ำมันมากกว่าไทยมาก ซึ่งหากเราปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด บวกกลับเงินเฟ้อที่ลดลง และจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกมาก และกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน” นายนริศ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเป็นการทั่วไป เพราะต้องการลดต้นทุนค่าขนส่งผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น และเป็นการยากที่จะแยกว่า รถยนต์ประเภทไหนที่เป็นการใช้น้ำมัน เพื่อการขนส่ง ขณะที่รถยนต์ในระบบประมาณ 7 ล้านคัน มีการใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพียง 32,000 คันและใช้ผสมระหว่างเอ็นจีวีน้ำมัน 40,000 คัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ขณะที่กรมสรรพสามิตได้ประเมินว่า ผลจากการตรึงราคาน้ำมันไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพียง 4% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 1,600 ล้านลิตรต่อเดือนเท่านั้น
แหล่งข่าวกรมสรรพสามิต ยอมรับว่า การตรึงราคาดีเซลนานๆ อาจทำให้ราคาตลาดบิดเบือนแต่หากรัฐบาลไม่ตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร จะส่งผลเสียกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เนื่อจากราคาสินค้าและค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้นทันที และมีผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึง 8% เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ได้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันดีเซลจำนวนมากประมาณวันละ 1.8 หมื่นล้านลิตร ขณะที่เบนซินมีการใช้เพียง 7 พันล้านลิตรเท่านั้น