สมาคมตราสารหนี้ไทยประเมิน ตลาดบอนด์ไทยไมีมีผลกระทบ จากความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในประเทศอียิปต์ แต่พบสัญญาณโยกเงินพักบอนด์มากขึ้น เหตุกังวลสถานการณ์สู้รบ "ไทย-กัมพูชา"
รายงานข่าวจากสมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในประเทศอียิปต์ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศต่างๆทั่วโลก แต่ในด้านของตลาดตราสารหนี้ไทยยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ประกอบกับยังไม่มีข่าวหรือปัจจัยใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบกับตลาดตราสารหนี้ในช่วงนี้ มูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นจึงไปกระจุกตัวในตราสารระยะสั้นที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหลัก นื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งใช้เป็นที่พักเงินจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้น ในขณะที่ช่วงท้ายสัปดาห์เกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา จึงมีผลทำให้เกิดแรงขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นออกมาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวน่าจะพักอยู่ในตราสารหนี้ระยะสั้น จนกว่าสถานการณ์จะต่างๆปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (31 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2554) นั้น เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เฉลี่ยแล้วขยับตัวขึ้นลงอยู่ในช่วงประมาณ -2 ถึง +2 basis point (100 Basis point มีค่าเท่ากับ 1%) โดยสามารถสรุปการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนในแต่ละช่วงอายุของพันธบัตรรัฐบาลได้ดังนี้ คือ พันธบัตรอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ +1 basis point ส่วนพันธบัตรอายุคงเหลือในช่วง 1 - 15 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงประมาณ -1 basis point และพันธบัตรอายุคงเหลือมากกว่า 15 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงประมาณ -3 basis point
สำหรับมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ ที่น่าสนใจนั้น พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 37,753 ล้านบาท ทางด้านนักลงทุนรายย่อย ถึงแม้จะมีสัดส่วนของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดค่อนข้างน้อย แต่การซื้อขายในสัปดาห์ที่ผ่านมามียอดซื้อสุทธิเช่นเดียวกัน มูลค่า 1,238 ล้านบาท
ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยรายงานแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตลาดน่าจะเคลื่อนไหวผันผวนตามปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่าที่คาด หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมาก เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างมากในระยะหลัง ซึ่งอาจทำให้ตลาดผันผวนได้มาก หากนักลงทุนต่างชาติหันมาขายทำกำไร และสภาพคล่องในระบบการเงินที่ยังมีปริมาณมาก
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ดังนี้ 1. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จาก 2.00% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มกราคม เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาก และได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนถึงความเป็นไปได้ที่ในปีนี้อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ 2. ผลประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่ได้รับการตอบรับไม่ค่อยดีนัก ทำให้ Yield ในตลาดรองปรับเพิ่มขึ้นตาม 3. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เคลื่อนไหวผันผวนตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมา และความกังวลในปัญหาหนี้ของยุโรป
โดยภาพรวม ผลตอบแทน (Return) ของตลาดตราสารหนี้วัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Index) ในเดือนมกราคมปรับตัวลดลง -0.24% โดยดัชนีมี Duration เฉลี่ย 5.58 ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชน (Corporate Bond Index (BBB up)) ในเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.07% โดยดัชนีมี Duration เฉลี่ย 2.56 ปี
รายงานข่าวจากสมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในประเทศอียิปต์ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศต่างๆทั่วโลก แต่ในด้านของตลาดตราสารหนี้ไทยยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ประกอบกับยังไม่มีข่าวหรือปัจจัยใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบกับตลาดตราสารหนี้ในช่วงนี้ มูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นจึงไปกระจุกตัวในตราสารระยะสั้นที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหลัก นื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งใช้เป็นที่พักเงินจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้น ในขณะที่ช่วงท้ายสัปดาห์เกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา จึงมีผลทำให้เกิดแรงขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นออกมาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวน่าจะพักอยู่ในตราสารหนี้ระยะสั้น จนกว่าสถานการณ์จะต่างๆปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (31 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2554) นั้น เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เฉลี่ยแล้วขยับตัวขึ้นลงอยู่ในช่วงประมาณ -2 ถึง +2 basis point (100 Basis point มีค่าเท่ากับ 1%) โดยสามารถสรุปการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนในแต่ละช่วงอายุของพันธบัตรรัฐบาลได้ดังนี้ คือ พันธบัตรอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ +1 basis point ส่วนพันธบัตรอายุคงเหลือในช่วง 1 - 15 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงประมาณ -1 basis point และพันธบัตรอายุคงเหลือมากกว่า 15 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงประมาณ -3 basis point
สำหรับมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ ที่น่าสนใจนั้น พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 37,753 ล้านบาท ทางด้านนักลงทุนรายย่อย ถึงแม้จะมีสัดส่วนของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดค่อนข้างน้อย แต่การซื้อขายในสัปดาห์ที่ผ่านมามียอดซื้อสุทธิเช่นเดียวกัน มูลค่า 1,238 ล้านบาท
ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยรายงานแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตลาดน่าจะเคลื่อนไหวผันผวนตามปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่าที่คาด หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมาก เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างมากในระยะหลัง ซึ่งอาจทำให้ตลาดผันผวนได้มาก หากนักลงทุนต่างชาติหันมาขายทำกำไร และสภาพคล่องในระบบการเงินที่ยังมีปริมาณมาก
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ดังนี้ 1. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จาก 2.00% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มกราคม เนื่องจากเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาก และได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนถึงความเป็นไปได้ที่ในปีนี้อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ 2. ผลประมูลพันธบัตรในตลาดแรกที่ได้รับการตอบรับไม่ค่อยดีนัก ทำให้ Yield ในตลาดรองปรับเพิ่มขึ้นตาม 3. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เคลื่อนไหวผันผวนตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมา และความกังวลในปัญหาหนี้ของยุโรป
โดยภาพรวม ผลตอบแทน (Return) ของตลาดตราสารหนี้วัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Index) ในเดือนมกราคมปรับตัวลดลง -0.24% โดยดัชนีมี Duration เฉลี่ย 5.58 ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชน (Corporate Bond Index (BBB up)) ในเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.07% โดยดัชนีมี Duration เฉลี่ย 2.56 ปี