ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.บัวหลวง เผย สภาพคล่องกองทุนอสังหาฯไทคอน ยังมีอีกมาก หลังขายโรงงานไป 8 เเห่งรับทรัพย์เพิ่ม 35 ล้านบาท รับหากเศรษฐกิจไทย-เทศยังมีปัญหาส่งผลกระทบกับกองทุนเตรียมนำเงินที่ขายโรงงานปันผลให้นักลงทุน
นายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) มีเงินสดจากการขายโรงงานออกไปจำนวน 8 โรงงาน เป็นเงินประมาณ 35 ล้านบาท ที่พร้อมจะนำมาพิจารณาจ่ายเป็นเงินปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนในอนาคต อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจโลกและศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่มีปัญหาแล้ว จึงจะพิจารณานำเงินสดส่วนนี้ออกมาจ่ายเป็นเงินปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไปแต่คงต้องรอให้ผ่านไตรมาสที่2 นี้ไปก่อน
โดยเราตั้งใจจะจะจ่ายอัตราเงินปันผลไม่ให้ต่ำกว่า 8.0% ในปีที่ผ่านมาตั้งใจจะจ่ายให้ได้ 8.25% แต่หากเจอวิกฤติเศรษฐกิจเราก็ยังจ่ายได้ที่ 8.0% และยังมีเงินสดสำรองจากการขายโรงงานกันเอาไว้อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่า หากสถานการณ์ไม่ดีเกิดวิกฤติรอบ 2 ขึ้นมาก็จะมีเงินสดส่วนนี้ไปเสริมเพื่อให้จ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยได้ตามที่ ตั้งใจเอาไว้ แต่ถ้าผ่านไตรมาสที่2/53 ไปแล้ว มั่นใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยไม่มีอะไร ก็พร้อมจะนำเงินสดส่วนนี้มาพิจารณาจ่ายเป็นปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไปเช่นกัน
นายสุทธิพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องการเพิ่มทุนกองทุน TFUND จะต้องไม่ทำให้อัตราเงินปันผลของผู้ถือหน่วยเดิมลดลง ซึ่งแนวทางในเบื้องต้นที่ตั้งใจจะมีการใช้เงินกู้บางส่วนประมาณ 10% นั้น อาจจะทำไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไขจากทางธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ให้กองทุนนำเงินมาคืนหนี้ก่อนได้ ห้ามไม่ให้กองทุนเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาคืนหนี้ ซึ่งหากเป็นแบบนี้การเพิ่มทุนกองทุน TFUND ก็คงไม่มีการกู้ยืมเงินบางส่วนแต่จะเป็นการเพิ่มทุนตามปกติ เพราะกองทุน TFUND มีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูงอยู่แล้วประมาณ 95% เหลือเงินเพียงเล็กน้อยถ้าจะต้องมาเจอภาระดอกเบี้ยในลักษณะนั้นคงไม่คุ้มกัน ที่จะทำ ส่วนกระบวนการในการเพิ่มทุนก็คงต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยว่าจะเพิ่ม ทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทไหน ที่ราคาเท่าไร จะเอาหรือไม่ตามขั้นตอนไป
สำหรับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะให้จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของ REIT แทนรูปแบบเดิมนั้น เรามองว่ารูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ใช้ในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบที่เป็น REIT และเท่าที่ทราบมาหากเป็นรูปแบบ REIT สิทธิประโยชน์ทางภาษีของนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลจะไม่มี จากปกติที่บริษัทจดทะเบียนถ้าลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก่อนและหลังรับปันผล 3 เดือน เงินปันผลนั้นไม่ต้องเสียภาษี แต่รูปแบบของ REIT เงินปันผลต้องเสียภาษี ดังนั้นถ้าใช้รูปแบบของ REIT ก็อาจจะเสียฐานลูกค้ากลุ่มหนึ่งไปแน่นอนคือกลุ่มลูกค้าสถาบันที่เป็นิติบุคคล ส่วนรายย่อยประโยชน์ทางภาษียังเหมือนเดิม
“นอกจากนี้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของ REIT ยังจะทำให้การจัดตั้งกองทุนทำได้ยากขึ้นด้วย เพราะตามแนวคิดจะแยกคนจัดตั้งกับคนบริหารออกจากกันให้เป็นคนละกลุ่ม เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ถ้าอยากจัดตั้งก็อาจจะไปจ้างธนาคารมาบริหารให้ แล้วธนาคารก็ต้องไปให้บริษัทลูกของธนาคารบริหารให้อยู่ดี สุดท้ายกลไกการตรวจสอบที่มีอยู่ในปัจจุบันจะให้ใครมาเป็นคนกำกับดูแล ซึ่งเข้าใจว่าในเรื่องของ REIT ยังมีประเด็นปัญหาอีกมากและคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรกว่าจะหาข้อยุติในเรื่องนี้ลงได้ แต่ส่วนตัวมองว่ารูปแบบเดิมของกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีความยืดหยุ่นดีเพียงพออยู่แล้ว” นายสุทธิพงศ์ กล่าว
นายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) มีเงินสดจากการขายโรงงานออกไปจำนวน 8 โรงงาน เป็นเงินประมาณ 35 ล้านบาท ที่พร้อมจะนำมาพิจารณาจ่ายเป็นเงินปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนในอนาคต อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจโลกและศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่มีปัญหาแล้ว จึงจะพิจารณานำเงินสดส่วนนี้ออกมาจ่ายเป็นเงินปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไปแต่คงต้องรอให้ผ่านไตรมาสที่2 นี้ไปก่อน
โดยเราตั้งใจจะจะจ่ายอัตราเงินปันผลไม่ให้ต่ำกว่า 8.0% ในปีที่ผ่านมาตั้งใจจะจ่ายให้ได้ 8.25% แต่หากเจอวิกฤติเศรษฐกิจเราก็ยังจ่ายได้ที่ 8.0% และยังมีเงินสดสำรองจากการขายโรงงานกันเอาไว้อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่า หากสถานการณ์ไม่ดีเกิดวิกฤติรอบ 2 ขึ้นมาก็จะมีเงินสดส่วนนี้ไปเสริมเพื่อให้จ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยได้ตามที่ ตั้งใจเอาไว้ แต่ถ้าผ่านไตรมาสที่2/53 ไปแล้ว มั่นใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยไม่มีอะไร ก็พร้อมจะนำเงินสดส่วนนี้มาพิจารณาจ่ายเป็นปันผลส่วนเพิ่มให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไปเช่นกัน
นายสุทธิพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องการเพิ่มทุนกองทุน TFUND จะต้องไม่ทำให้อัตราเงินปันผลของผู้ถือหน่วยเดิมลดลง ซึ่งแนวทางในเบื้องต้นที่ตั้งใจจะมีการใช้เงินกู้บางส่วนประมาณ 10% นั้น อาจจะทำไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไขจากทางธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ให้กองทุนนำเงินมาคืนหนี้ก่อนได้ ห้ามไม่ให้กองทุนเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาคืนหนี้ ซึ่งหากเป็นแบบนี้การเพิ่มทุนกองทุน TFUND ก็คงไม่มีการกู้ยืมเงินบางส่วนแต่จะเป็นการเพิ่มทุนตามปกติ เพราะกองทุน TFUND มีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูงอยู่แล้วประมาณ 95% เหลือเงินเพียงเล็กน้อยถ้าจะต้องมาเจอภาระดอกเบี้ยในลักษณะนั้นคงไม่คุ้มกัน ที่จะทำ ส่วนกระบวนการในการเพิ่มทุนก็คงต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยว่าจะเพิ่ม ทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทไหน ที่ราคาเท่าไร จะเอาหรือไม่ตามขั้นตอนไป
สำหรับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะให้จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของ REIT แทนรูปแบบเดิมนั้น เรามองว่ารูปแบบของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ใช้ในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบที่เป็น REIT และเท่าที่ทราบมาหากเป็นรูปแบบ REIT สิทธิประโยชน์ทางภาษีของนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลจะไม่มี จากปกติที่บริษัทจดทะเบียนถ้าลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก่อนและหลังรับปันผล 3 เดือน เงินปันผลนั้นไม่ต้องเสียภาษี แต่รูปแบบของ REIT เงินปันผลต้องเสียภาษี ดังนั้นถ้าใช้รูปแบบของ REIT ก็อาจจะเสียฐานลูกค้ากลุ่มหนึ่งไปแน่นอนคือกลุ่มลูกค้าสถาบันที่เป็นิติบุคคล ส่วนรายย่อยประโยชน์ทางภาษียังเหมือนเดิม
“นอกจากนี้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของ REIT ยังจะทำให้การจัดตั้งกองทุนทำได้ยากขึ้นด้วย เพราะตามแนวคิดจะแยกคนจัดตั้งกับคนบริหารออกจากกันให้เป็นคนละกลุ่ม เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ถ้าอยากจัดตั้งก็อาจจะไปจ้างธนาคารมาบริหารให้ แล้วธนาคารก็ต้องไปให้บริษัทลูกของธนาคารบริหารให้อยู่ดี สุดท้ายกลไกการตรวจสอบที่มีอยู่ในปัจจุบันจะให้ใครมาเป็นคนกำกับดูแล ซึ่งเข้าใจว่าในเรื่องของ REIT ยังมีประเด็นปัญหาอีกมากและคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรกว่าจะหาข้อยุติในเรื่องนี้ลงได้ แต่ส่วนตัวมองว่ารูปแบบเดิมของกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีความยืดหยุ่นดีเพียงพออยู่แล้ว” นายสุทธิพงศ์ กล่าว