ต้องยอมรับว่าปี 2552 เป็นปีของกองทุนรวมและกองทุนประเภทต่างๆ จริง แม้ช่วงต้นปีจะส่อแววหมองหม่นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จนส่งผลกระทบต่อกองทุนหุ้นและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้บรรดาบริษัทจัดการกองทุน(บลจ.) ต้องดิ้นรนกันเป็นเฮือกๆ
ที่ผ่านมาบลจ.ต่างพาเหรดกันออกมาโชว์ผลงานและประกาศกลยุทธ์ในปีนี้(25553) กันอย่างต่อเนื่อง แต่ที่เห็นจะมองข้ามไม่ได้นอกเหนือจากการควบคุมดูแลจากหน่วยงานของภาครัฐทั้ง แบงก์ชาติ และสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว ในระดับองค์กรเอกชนยังมีสมาคมจัดการลงทุนอีกแห่งที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมกองทุน
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณวรรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน คุณอารยา ธีระโกเมน อุปนายกและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และคุณบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ อุปนายกและประธานกุล่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล แถลงผลงานประจำปี 2552
ใจความสำคัญประการหนึ่งคือ"อุตสหกรรมกองทุนมีการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือและการยอมรับจากบริษัทสมาชิก ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี"จากรายงานของสมาคมฯ พบว่า
ในปี 2552 อุตสาหกรรมจัดการกองทุน มีมูลค่ารวม 2.576 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 19.26% โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลเติบโตขึ้น 20.88% 10.52% และ 28.66% ตามลำดับ
ในส่วนกองทุนรวม ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2552 มีเม็ดเงินใหม่ตั้งแต่ต้นปีเข้าสู่ธุรกิจ กองทุนรวมประเมาณ 154,098 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจกองทุนรวมอยู่ที่ประมาณ 1.78 ล้านล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ลงทุนประมาณ 2.2 ล้านคน
นับเป็นตัวเลขที่โดดเด่นและน่าสนใจ ส่วนด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสมาคม คณะกรรมการได้ กำหนดนโยบายการบริหารสมาคมไว้ 6 ด้าน และในปี 2552 มีผลงานที่ชัดเจนดังนี้
ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุน
เน้นพัฒนาการเพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรม ทั้ง 3 กุล่มหลัก และส่งเสริมการพัฒนาการออมเพื่อความมั่นคงของชีวิตและความมั่งคั่งของประเทศ
ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยและคณะกรรมการด้านอื่นๆ ร่วมกับภาครัฐและเอกชนผลักดันให้มีการบรรลุข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมจัดการลงทุนไว้ในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย
ด้านจุดยืนของสมาคมฯ
เน้นจุดยืนในการ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ สมาคม และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อให้สมาคมเป็นที่รู้จขักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายในบทบาทหน้าที่และความสำคัญในการเป็นองค์กรหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนาตลาดทุน และพฤติกรรมการออม การลงทุนของภาคประชาชน ซึ่งในปีที่ผ่านมานับได้ว่ามีความก้าวหน้าในการยกระดับการทำงานในด้านนี้อย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนและอุตสาหกรรมกองทุนของประเทศไทยต่อหน่วยงานกำกับและหน่วยงานราชการ ตลอดจนได้พัฒนาบุคคลากรในสำนักงานสมาคมให้มีความรอบรู้ ที่จะเอื้้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทั้งในและต่งประเทศ
โดยเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับลการพัฒนาอุตสาหกรรมจัดการกองทุนกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุนทั้งในและระดับภูมิภาค หรือระดับโลกอีกด้วย
ด้านกฎเกณฑ์ต่างๆ
สมาคมได้เน้นการให้ความร่วมมือกับก.ล.ต. เพื่อแก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมกฎเกณฑ์ให้เหมาะสมและมีความเหมาะสมกับพัมนาการของประเทศไทย
โดยมีความสมดุลระหว่างการเติบโต ของอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ ที่ยั่งยืนของผู้ลงทุน และการกำกับธุรกิจ ซึ่งในปีที่ผานมาการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสมาคมและสำนักงาน ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี ฯลฯ
ในการแก้ไขปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เหมาะสาม โดยสมาคมได้มีบทบาทสำคัญในการศึกษารวบรวมข้อมูลพัฒนาการแนวทางกฎเกณฑ์ และผลกระทบในต่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ต่อไป
ด้านธรรมาภิบาล
ทางสมาคมจะเน้นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมจัดการกองทุนเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของ ความโปร่งใสและ ความรับผิดชอบต่อสังคม
ตามกำลังและความเหมาะสาม ซึ่งในปีที่ผ่านมาสมาคมได้แสดงจุดยืนที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในทั้ง 2 เรื่องอย่างชัดเจน
ด้านการเผยแพร่ข้อมูล
ให้ความสำคัญกำการเผยแพร่ความรู้ไปยังผู้ลงทุน ตลอดจนเผยแพร่นโยบาย เป้าหมายของสมาคม รวมไปถึงกิจกรรม และความสำเร็จต่างของสมาคม และสมาชิกโดยสม่ำเสมอ
พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีของสมาชิก ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้จัดให้มีเว็บไซด์สำหรับบริษัทสมาชิกและผู้ลงทุน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่นักลงทุน
ด้านการให้ความรู้
เน้นการพัฒนาความรู้ของสมาชิกสมาคมในด้านพัฒนาการของตลาด สินทรัพย์ทางการเงิน รวมถึงความรู้ด้านอื่นๆ ที่จะยกระดับพนักงานของสมาชิกไปสู่สากล ซึงในปีที่ผานมานี้สมาคมได้จัดการอบรมสัมมนา ต่างๆ มากมาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการสมาคมเชื่อมั่นว่าธุรกิจกองทุนจะสามารถเติบโตต่อไปได้อีกมากมายในอนาคต หากสมาคมและบริษัทสมาชิกร่วมกันผลักดันให้กองทุนเป็นทางเลือกในการออมของประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายภายใต้กฎเกณฑ์การกำกับดูแลที่เหมาะสมคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุน และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้แก่ผู้ลงทุนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและตลาดการเงินในระยะยาว
ทั้งหมดเป็นผลงานที่เผยแพร่ผ่านวรสาร "AIMC News" ฉบับที่ 13 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ส่วนผลงานในปีนี้จะเป็นอย่างไรนักลงทุนคงต้องจับตากันต่อไป
หน้าที่ปีนี้เชื่อว่าคงเป็นโจทย์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่ๆ นายกสมาคมหญิงแกร่งอย่าง วรวรรณ ธารภูมิ คงมีคำตอบให้กับนักลงทุนแน่นอน ส่วนนักลงทุนท่านใดสงสัย ต้องการข้อมูล ร่วมไปถึงการร้องเรียนเรื่องการลงทุนต่างๆ สามารถติดต่อผ่านเว็บไซด์ได้โดยตรงที่ www.aimc.or.th