สมาคมตราสารหนี้ไทย มอง กฏระเบียบการออกพันธบัตรท้องถิ่นของกระทรวงการคลัง ทำได้ยาก หลังให้อปท.ก่อหนี้ไม่เกิน10%ของรายได้ ส่งผลให้ไซส์การะดมทุนมีน้อย ทำให้หน่วยงานอปท. 2 แห่งชะลอแผนการระดมทุนออกไปก่อน ขณะเดียวกัน ThaiBMA ประเมินหุ้นกู้เอกชนจะระดมทุนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA เปิดเผยถึงความคืบหน้าโคงการพัฒนาตลาดพันธบัตรท้องถิ่นว่า ปัจจุบันตามกฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. จะสามารถออกพันธบัตรเองได้แล้ว โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดให้มีคณะทำงานเป็นผู้กำหนดแนวทางในการออกพันธบัตร ซึ่งกฏระเบีบยที่ออกมานั้นค่อนข้างครอบคลุมอาจทำให้การปฎิบัตรเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในกฎระเบียบนั้นกำหนดให้ อปท. ก่อหนี้ได้ไม่เกิน 10% ของรายได้ ส่งผลให้ขนาดในการระดมทุนผ่านพันธบัตรค่อนข้างน้อย ซึ่งที่ผ่านมีอปท. 2 แห่งสนใจจะออกพันธบัตร แต่ด้วยข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ต้องเลื่อนการระดมทุนออกไป
ขณะเดียวกันการออกพันธบัตรนั้นจะเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นำภาษีที่จัดเก็บได้มาเป็นผลตอบเเทนเเละเงินต้นคืนให้กับนักลงทุน ขณะที่ประเภทที่ 2 นั้นจะมีผลตอบเเทนจากรายได้ในการลงทุนในสินปลูกสร้าง หรือจากสาธารณูปโภค เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย จีงระดมทุนผ่านพันธบัตรอปท. และผลอตอบเเทนที่ต้องจ่ายให้นักลงทุนมาจากการายได้ในการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
"การนำรายได้จากเก็บภาษีจากท้องถิ่นมาเป็นผลตอบเเทนให้กับนักลงทุนนั้นอาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากท้องถิ่นเเต่ละเเห่งนั้นมีรายได้ในส่วนดังกล่าวไม่เท่ากัน ซึ่งเรามองว่าการจ่ายผลตอบเเทนจากรายได้ในการสร้างสาธารณูปโภค นั้นจะเหมาะที่สุด อย่างไรก็ตามเราจะเดินสายอบรมสัมนา เเละให้ความรู้กับอปท.เพื่อให้เข้าใจในการออกพันธบัตรท้องถิ่น" นายณัฐพล กล่าว
นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ในส่วนของภาคเอกชนที่จะออกตราสารหนี้ระดมเงินทุนในปีนี้ จะมีวงเงินประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วที่มีการออกตราสารหนี้ระดมทุนมากถึง 4.3 แสนล้านบาท เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสถานการณ์ผิดปกติ เอกชนมีการระดมเงินมาก แต่ในปีนี้สถานการณ์คลี่คลายลงการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนจึงลดลง การออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนไทย มีรายใหญ่ 2 รายคือ เครือซิเมนต์ไทยจำนวน 30,000 ล้านบาท โดยออกในช่วงเดือนเมษา และ ต.ค. และ บมจ.ปตท.สผ.จำนวนประมาณ 50,000 ล้านบาท ออกในช่วงเดือน พ.ค. ที่เหลือเป็นรายย่อย ๆ
สำหรับการออกตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกโดยภาคเอกชนหรือ CP นั้นอาจจะมีมากกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ได้ประสบปัญหาฐานะทางการเงิน ทำให้นักลงทุนเกิดคความมั่นใจ เชื่อว่าในปี 53 นี้น่าจะมีการระดมทุนในรูปแบบ CP มากขึ้น เพราะผลตอบเเทนของตราสารดังกล่าวยังให้ผลตอบเเทนที่สูงกว่าการดอกเบี้ยเงินฝาก
ในขณะที่ภาครัฐปีนี้ประกาศว่า จะออกพันธบัตรระดมเงิน 800,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการระดมเงินเพื่อนำไปใช้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง โดยในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 53 (ต.ค.-ธ.ค.52) มีการออกพันธบัตรระดมเงินไปแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท ที่เหลือจะทยอยออกมาเพิ่มเติมอีก
ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายระดมเงินจำนวนมากภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งบางส่วน กระทรวงการคลังน่าจะพิจารณาจัดสรรการระดมเงินบางส่วนออกในรูปของพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนบ้าง เพราะนอกจากประชาชนจะได้มีทางเลือกในการออกแล้ว ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรองตราสารหนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสภาพคล่องภายในประเทศจะพบว่ามีเพียงพอที่จะรองรับการออกตราสารหนี้ระดมทุนได้ทั้งของภาครัฐและเอกชน ดังจะเห็นได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการดูดซับสภาพคล่องออกไปจากระบบไปบ้างแล้วในระบบธนาคารพาณิชย์ถึง 1.5 ล้านล้านบาท
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในการระดมเงินทุนในปีนี้น่าจะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มดอกเบี้ยในต่างประเทศ ที่ขณะนี้หลายประเทศหลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวเริ่มมีความเป็นห่วงภาวะเงินเฟ้อที่จะตามมา ซึ่งทางการจีนได้ดำเนินการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อแล้ว หลังจากที่เศรษฐกิจจีนเติบโตถึงประมาณร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประเทศไทย คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปี คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแม้ไม่แรงมาก แรงกดดันเงินเฟ้อก็ไม่มากนัก แต่เชื่อว่า ในที่สุดอัตราดอกเบี้ยก็จะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ตามแรงกดดันเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว