สมาคมตลาดตราสารหนี้ชี้ การซื้อขายตราสารหนี้ระหว่างประเทศเกิดยาก ระบุอาจต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 5-10 ปี เหตุยังอุปสรรคเพียบ โดยเฉพาะไม่มีสกุลเงินของอาเซียนแบบยูโร
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงกรณีความร่วมมือกับสมาคมตลาดตราสารหนี้เวียดนาม (VBMA) ว่า ล่าสุดได้มีการไปสรุปโครงการเป็นที่ปรึกษาให้กับทางสมาคมตลาดตราสารหนี้ของเวียดนาม ทั้งในด้านบทบาทในการเป็น SRO การจัดทำ Code of Conduct รวมทั้ง Market Convention ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการคำนวณราคาตราสารหนี้ให้ด้วย โดยได้มีการทำ Workshop ให้กับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ในเวียดนาม ซึ่งบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาให้กับตลาดตราสารหนี้ของเวียดนามครั้งนี้ นอกจากจะแสดงว่าการดำเนินงานของ Thaibma เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคแล้วยังเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของตลาดตราสารหนี้ไทยไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมตราสารหนี้เวียดนาม คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะสามารถยืนด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งทางเราคงต้องให้คำแนะนำต่างๆ ถ่ายทอดประสบการณ์ของเรากับทางเวียดนามอีกพอสมควร ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับการจัดตั้งสมาคมตลาดตราสารหนี้ของไทยแล้ว ต้องถือว่าของไทยเราค่อนข้างที่จะราบรื่นและได้รับการสนับสนุนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่มีทุนตั้งต้นมาตั้งแต่แรกสมัยที่ยังเป็น ThaiBDC จากนั้นก็ยังมีกระทรวงการคลัง สำนักบริหารหนี้สาธารณะเข้ามาให้การสนับสนุน รวมทั้งยังได้รับรายได้จากการเป็นผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนตราสารหนี้ กับสนับสนุนให้ทำหน้าที่ SRO จึงทำให้เรามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสมาคมตลาดตราสารหนี้เวียดนามช่วงต้นคงต้องเน้นในเรื่องของการสร้างกฎระเบียบ มาตรฐานการทำงาน และการเป็นแหล่งข้อมูลไปก่อน
นายณัฐพลกล่าวว่า นอกจากจะไปเป็นที่ปรึกษาให้กับทางเวียดนามแล้ว ช่วงที่ผ่านมาก็ยังได้มีการไปประชุมร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ในภูมิภาคที่มี ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และทาง ก.ล.ต.ของประเทศมาเลเซียร่วมเป็นเจ้าภาพ เกี่ยวกับเรื่องการทำส่งเสริมการซื้อขายตราสารหนี้ระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการร่วมมือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของสมาคมตลาดตราสารหนี้แต่ละประเทศ
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ที่เป็น Local ของแต่ละประเทศนั้นโตมาก เพราะแบงก์ยังไม่ปล่อยกู้หรือระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างมาก บอนด์ก็เลยโต แต่การซื้อขายข้ามประเทศยังทำได้ยาก เพราะภูมิภาคเรายังมีระดับการพัฒนาของตลาดบอนด์ที่แตกต่างกันมาก รวมทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกเป็นเงินสกุลท้องถื่นในภูมิภาคก็ยังมีความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ เพราะยังไม่มีสกุลเงินที่เป็นสกุลกลางเหมือนในยุโรป เมื่อสกุลเงินต่างกันทำให้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น การซื้อขายข้ามประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงยังเติบโตได้ยาก ในกรณีของภูมิภาคเอเซียคงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี 10 ปี ในการพัฒนา Cross Border Trading
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงกรณีความร่วมมือกับสมาคมตลาดตราสารหนี้เวียดนาม (VBMA) ว่า ล่าสุดได้มีการไปสรุปโครงการเป็นที่ปรึกษาให้กับทางสมาคมตลาดตราสารหนี้ของเวียดนาม ทั้งในด้านบทบาทในการเป็น SRO การจัดทำ Code of Conduct รวมทั้ง Market Convention ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการคำนวณราคาตราสารหนี้ให้ด้วย โดยได้มีการทำ Workshop ให้กับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ในเวียดนาม ซึ่งบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาให้กับตลาดตราสารหนี้ของเวียดนามครั้งนี้ นอกจากจะแสดงว่าการดำเนินงานของ Thaibma เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคแล้วยังเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของตลาดตราสารหนี้ไทยไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมตราสารหนี้เวียดนาม คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะสามารถยืนด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งทางเราคงต้องให้คำแนะนำต่างๆ ถ่ายทอดประสบการณ์ของเรากับทางเวียดนามอีกพอสมควร ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับการจัดตั้งสมาคมตลาดตราสารหนี้ของไทยแล้ว ต้องถือว่าของไทยเราค่อนข้างที่จะราบรื่นและได้รับการสนับสนุนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่มีทุนตั้งต้นมาตั้งแต่แรกสมัยที่ยังเป็น ThaiBDC จากนั้นก็ยังมีกระทรวงการคลัง สำนักบริหารหนี้สาธารณะเข้ามาให้การสนับสนุน รวมทั้งยังได้รับรายได้จากการเป็นผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนตราสารหนี้ กับสนับสนุนให้ทำหน้าที่ SRO จึงทำให้เรามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสมาคมตลาดตราสารหนี้เวียดนามช่วงต้นคงต้องเน้นในเรื่องของการสร้างกฎระเบียบ มาตรฐานการทำงาน และการเป็นแหล่งข้อมูลไปก่อน
นายณัฐพลกล่าวว่า นอกจากจะไปเป็นที่ปรึกษาให้กับทางเวียดนามแล้ว ช่วงที่ผ่านมาก็ยังได้มีการไปประชุมร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ในภูมิภาคที่มี ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และทาง ก.ล.ต.ของประเทศมาเลเซียร่วมเป็นเจ้าภาพ เกี่ยวกับเรื่องการทำส่งเสริมการซื้อขายตราสารหนี้ระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการร่วมมือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของสมาคมตลาดตราสารหนี้แต่ละประเทศ
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ที่เป็น Local ของแต่ละประเทศนั้นโตมาก เพราะแบงก์ยังไม่ปล่อยกู้หรือระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างมาก บอนด์ก็เลยโต แต่การซื้อขายข้ามประเทศยังทำได้ยาก เพราะภูมิภาคเรายังมีระดับการพัฒนาของตลาดบอนด์ที่แตกต่างกันมาก รวมทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกเป็นเงินสกุลท้องถื่นในภูมิภาคก็ยังมีความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ เพราะยังไม่มีสกุลเงินที่เป็นสกุลกลางเหมือนในยุโรป เมื่อสกุลเงินต่างกันทำให้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น การซื้อขายข้ามประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงยังเติบโตได้ยาก ในกรณีของภูมิภาคเอเซียคงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี 10 ปี ในการพัฒนา Cross Border Trading