โกยเงินฝากไปได้เยอะพอสมควร สำหรับกองทุนรวมต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งภายหลังจากผลตอบแทนในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามการลดดอกเบี้ยของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มีเงินไหลออกไปลงทุนในเกาหลีอย่างล้นหลาม ชนิดที่เรียกว่า "เกาหลีฟีเวอร์" เลยทีเดียว โดยปัจจุบัน พอร์ตรวมทั้งหมดของกองทุนต่างประเทศ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นกว่า 5 แสนล้านบาท แน่นอนว่ากองทุนบอนด์เกาหลี เป็นพระเอกโดยเงินนั่นเอง
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนของพันธบัตรเกาหลี ขยับขึ้นๆ ลงๆ ตามปัจจัยที่เข้ามากระทบ แต่ก็ยังสามารถยืนอยู่เหนือผลตอบแทนของพันธบัตรรับบาลไทยอยู่ไม่น้อย หลังจากหักต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินแล้ว...แต่ตอนนี้ หลายปัจจัยเริ่มรุมเร้า และเข้ามากดดันผลตอบแทนของบอนด์เกาหลีใต้ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนความน่าสนใจหายไปค่อนข้างมาก ที่สำคัญ ขยับลงมาอยู่ในระดับใก้เคียงกับพันธบัตรในประเทศแล้ว...นี่จึงเป็นที่มาของบอนด์เกาหลี ที่กำลังจะหมดเสนห์นั่นเอง
สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินวอนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิมเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ขณะที่ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลวอนต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสวอประหว่างสกุลเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่มีการปรับลดลงค่อนข้างมาก เพราะขาดสภาพคล่องในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการปิด Position ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงปลายปี
และจากความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนที่บริษัทเปิดขายในช่วงนี้ นั่นคือ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 7 เดือน 2 จะเสนอขายเป็นกองทุนสุดท้ายของปี เพื่อรอดูตลาดอีกครั้ง โดยกองทุนดังกล่าว ยังเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ (Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond) ทั้ง 100% ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นระดับ F1โดย Fitch และเงินลงทุนจะมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณการ 1.50% ต่อปี
นอกเหนือจากนั้น บลจ.นครหลวงไทยเอง ได้ยุติการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดนครหลวงไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ 9 เดือน3/09 มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ จากเดิมที่มีแผนขายกองทุนเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา
โดยสาเหตุของการเบรกขายกองทุนในครั้งนี้ มาจากปัจจัยเดียวกัน คือ ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพคล่องของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาด และสภาพคล่องของธุรกรรมตลาดเงินในประเทศปรับตัวลดลง เพราะใกล้ช่วงสิ้นปี ทำให้ธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนทั้งตลาดโดยรวมมีปริมาณลดลง ต้นทุนการทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงสูงกว่าภาวะตลาดปกติ ผลกระทบโดยรวมจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในรูปเงินบาทสำหรับการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ดีกว่าคาดการณ์และแสดงอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปีครึ่งที่ 3.2% ในไตรมาสสามของปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสสองที่ผ่านมาและเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน โดยไตรมาสสองและไตรมาสแรกขยายตัว 2.6%และ 0.1% ตามลำดับ สำหรับกรณีเลื่อนการชำระหนี้ของดูไบ ยังไม่พบว่ากระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในกรณีของกองทุนเกาหลีใต้ โดยผลตอบแทนของกองทุนเกาหลีใต้ที่เสนอขายในสัปดาห์นี้ยังมีแนวโน้มปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นของการทำป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยระยะ 3 เดือน = 0.90% ระยะเวลา 9 เดือน = 1.55% และ 23 เดือน = 2.65%
มองดอกเบี้ยขยับQ2ปีหน้า
พงค์ธาริน ทรัพยานนท์ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ. อเบอร์ดีน จำกัด กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 1.25% เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้เพื่อต้องการให้เศรษฐกิจคงอัตราการเติบโตเอาไว้ ซึ่งทางอเบอร์ดีน เห็นว่าตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าในไตรมาสที่ 2 ถือเป็นสัญญาญที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจไม่ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดการณ์กันเอาไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ ดังนั้น หากแบงก์ชาติจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงน่าจะเป็นการปรับขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และน่าจะปรับขึ้นประมาณ 0.75% เท่านั้น
ส่วนแนวโน้มของตลาดตราสารหนี้ในปี 2553 นั้น ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ระบุว่า แนวโน้มของตลาดบอนด์ในปีหน้าไม่น่าจะดีเท่ากับปีนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองก็คือ เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯกับยุโรปซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเกิดวิกฤตสถาบันการเงินและรัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากจนเศรษฐกิจเริ่มปรับมาทรงตัวอยู่ได้นั้น หากในปีหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเหล่านั้นถูกยกเลิกออกไปแล้ว เศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปเองได้หรือไม่
ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลถึงตลาดตราสารหนี้โดยตรง ซึ่งหากเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีมาตรการกระตุ้นแล้ว ตลาดตราสารหนี้คงจะไม่ดีนักเพราะนักลงทุนจะหันไปลงทุนในหุ้นกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจเดินต่อไปได้ไม่ดีนัก ตลาดตราสารหนี้น่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีอยู่ โดยในเรื่องนี้ยังคงต้องจับตามองตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมาว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
แนะจัดพอร์ตรับมือบอนด์ผันผวน
ณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ว่า ในช่วงนี้ที่มีปัจจัยหลายเรื่องเข้ามาแทรก ดังนั้น นักลงทุนคงจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ในเรื่องของผลกระทบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทิศทางดอกเบี้ยเป็นหลัก ก่อนการตัดสินใจในการลงทุน แต่โดยภาพรวมแล้วยังเชื่อมั่นว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ แม้ว่าอาจจะมีข้อสังเกตในเรื่องของการพันธบัตรจำนวนมากของกระทรวงการคลัง หรือเรื่องของดูไบเวิลด์และความหวาดหวั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามเข้ามาก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การคาดคะเนทิศทางดอกเบี้ยนั้นมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก ดังนั้นในแง่ของนักลงทุน คงจะต้องมองความต้องการในการลงทุนของตนเองเป็นหลัก ไม่ให้เสียผลประโยชน์หรือโอกาสมากนักไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง ซึ่งหากมีเงินเย็นในการลงทุน น่าที่จะพิจารณาแบ่งการลงทุนเป็นทั้งระยะยาวระยะปานกลาง และระยะสั้นๆ เนื่องจากหากเป็นตราสารหนี้ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปอัตราผลตอบแทนยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ในขณะที่พันธบัตรอายุประมาณ 3-5 ปี ก็ยังมีผลตอบแทนที่ดีกว่าระยะสั้น
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนของพันธบัตรเกาหลี ขยับขึ้นๆ ลงๆ ตามปัจจัยที่เข้ามากระทบ แต่ก็ยังสามารถยืนอยู่เหนือผลตอบแทนของพันธบัตรรับบาลไทยอยู่ไม่น้อย หลังจากหักต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินแล้ว...แต่ตอนนี้ หลายปัจจัยเริ่มรุมเร้า และเข้ามากดดันผลตอบแทนของบอนด์เกาหลีใต้ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนความน่าสนใจหายไปค่อนข้างมาก ที่สำคัญ ขยับลงมาอยู่ในระดับใก้เคียงกับพันธบัตรในประเทศแล้ว...นี่จึงเป็นที่มาของบอนด์เกาหลี ที่กำลังจะหมดเสนห์นั่นเอง
สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินวอนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิมเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ขณะที่ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลวอนต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสวอประหว่างสกุลเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่มีการปรับลดลงค่อนข้างมาก เพราะขาดสภาพคล่องในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการปิด Position ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงปลายปี
และจากความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนที่บริษัทเปิดขายในช่วงนี้ นั่นคือ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 7 เดือน 2 จะเสนอขายเป็นกองทุนสุดท้ายของปี เพื่อรอดูตลาดอีกครั้ง โดยกองทุนดังกล่าว ยังเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ (Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond) ทั้ง 100% ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นระดับ F1โดย Fitch และเงินลงทุนจะมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณการ 1.50% ต่อปี
นอกเหนือจากนั้น บลจ.นครหลวงไทยเอง ได้ยุติการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดนครหลวงไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ 9 เดือน3/09 มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ จากเดิมที่มีแผนขายกองทุนเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา
โดยสาเหตุของการเบรกขายกองทุนในครั้งนี้ มาจากปัจจัยเดียวกัน คือ ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพคล่องของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาด และสภาพคล่องของธุรกรรมตลาดเงินในประเทศปรับตัวลดลง เพราะใกล้ช่วงสิ้นปี ทำให้ธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนทั้งตลาดโดยรวมมีปริมาณลดลง ต้นทุนการทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงสูงกว่าภาวะตลาดปกติ ผลกระทบโดยรวมจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในรูปเงินบาทสำหรับการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ดีกว่าคาดการณ์และแสดงอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปีครึ่งที่ 3.2% ในไตรมาสสามของปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสสองที่ผ่านมาและเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน โดยไตรมาสสองและไตรมาสแรกขยายตัว 2.6%และ 0.1% ตามลำดับ สำหรับกรณีเลื่อนการชำระหนี้ของดูไบ ยังไม่พบว่ากระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในกรณีของกองทุนเกาหลีใต้ โดยผลตอบแทนของกองทุนเกาหลีใต้ที่เสนอขายในสัปดาห์นี้ยังมีแนวโน้มปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นของการทำป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยระยะ 3 เดือน = 0.90% ระยะเวลา 9 เดือน = 1.55% และ 23 เดือน = 2.65%
มองดอกเบี้ยขยับQ2ปีหน้า
พงค์ธาริน ทรัพยานนท์ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ. อเบอร์ดีน จำกัด กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 1.25% เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้เพื่อต้องการให้เศรษฐกิจคงอัตราการเติบโตเอาไว้ ซึ่งทางอเบอร์ดีน เห็นว่าตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าในไตรมาสที่ 2 ถือเป็นสัญญาญที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจไม่ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดการณ์กันเอาไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ ดังนั้น หากแบงก์ชาติจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงน่าจะเป็นการปรับขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และน่าจะปรับขึ้นประมาณ 0.75% เท่านั้น
ส่วนแนวโน้มของตลาดตราสารหนี้ในปี 2553 นั้น ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ระบุว่า แนวโน้มของตลาดบอนด์ในปีหน้าไม่น่าจะดีเท่ากับปีนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองก็คือ เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯกับยุโรปซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเกิดวิกฤตสถาบันการเงินและรัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากจนเศรษฐกิจเริ่มปรับมาทรงตัวอยู่ได้นั้น หากในปีหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเหล่านั้นถูกยกเลิกออกไปแล้ว เศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปเองได้หรือไม่
ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลถึงตลาดตราสารหนี้โดยตรง ซึ่งหากเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีมาตรการกระตุ้นแล้ว ตลาดตราสารหนี้คงจะไม่ดีนักเพราะนักลงทุนจะหันไปลงทุนในหุ้นกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจเดินต่อไปได้ไม่ดีนัก ตลาดตราสารหนี้น่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีอยู่ โดยในเรื่องนี้ยังคงต้องจับตามองตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมาว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
แนะจัดพอร์ตรับมือบอนด์ผันผวน
ณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ว่า ในช่วงนี้ที่มีปัจจัยหลายเรื่องเข้ามาแทรก ดังนั้น นักลงทุนคงจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ในเรื่องของผลกระทบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทิศทางดอกเบี้ยเป็นหลัก ก่อนการตัดสินใจในการลงทุน แต่โดยภาพรวมแล้วยังเชื่อมั่นว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ แม้ว่าอาจจะมีข้อสังเกตในเรื่องของการพันธบัตรจำนวนมากของกระทรวงการคลัง หรือเรื่องของดูไบเวิลด์และความหวาดหวั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามเข้ามาก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การคาดคะเนทิศทางดอกเบี้ยนั้นมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก ดังนั้นในแง่ของนักลงทุน คงจะต้องมองความต้องการในการลงทุนของตนเองเป็นหลัก ไม่ให้เสียผลประโยชน์หรือโอกาสมากนักไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง ซึ่งหากมีเงินเย็นในการลงทุน น่าที่จะพิจารณาแบ่งการลงทุนเป็นทั้งระยะยาวระยะปานกลาง และระยะสั้นๆ เนื่องจากหากเป็นตราสารหนี้ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปอัตราผลตอบแทนยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ในขณะที่พันธบัตรอายุประมาณ 3-5 ปี ก็ยังมีผลตอบแทนที่ดีกว่าระยะสั้น