xs
xsm
sm
md
lg

การเริ่มต้นลงทุนในหลักทรัพย์ (ตอน 5)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต

ตราสารการลงทุนอักประเภทหนึ่งที่นักลงทุนทั่วไปควรรู้จัก คือ ตราสารหนี้ (Debt Instrument หรือ Fixed Income Securities) เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ออกจำหน่ายตราสาร (หรือผู้ที่เขียนตราสารขึ้นมา) ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ โดยมีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวดๆ (ซึ่งอาจมีกำหนดการจ่ายเงิน เป็น ปีละครั้ง หรือปีละสองครั้งเป็นต้น) และเงินต้น หรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในตราสารให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อตราสารหนี้มีอายุครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้นจะมีตั้งแต่ระยะสั้น (ไม่เกินหนึ่งปี) ระยะปานกลาง (หนึ่งถึงห้าปี) ไปจนถึงระยะยาว (เกินห้าปีขึ้นไป) ในกรณีตราสารหนี้ที่ผู้ลงทุนทำการลงทุนในตลาดทุนโดยทั่วไปจะหมายถึงตราสารที่มีอายุไถ่ถอนมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป โดยผู้ซื้อหรือผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์อื่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในตราสารฉบับนั้น ๆ

คำว่า “ตราสารหนี้” ใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเปลี่ยนมือของผู้ถือหรือผู้ลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างจากสัญญาการกู้ยืมเงิน ที่แสดงแต่เพียงความเป็น “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ของผู้ให้กู้กับผู้กู้เงินเหมือนกัน แต่สัญญาการกู้ยืมเงินนั้นไม่สามารถเปลี่ยนมือของความเป็นเจ้าหนี้ได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนมือของตราสารหนี้ระหว่างนักลงทุนนั้นสามารถทำผ่านกลไกตลาดรอง (Secondary Market) ได้ ซึ่งปัจจุบันตลาดรองของประเทศไทยที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการซื้อขายตราสารหนี้ก็คือ BEX (Bond Electronic Exchange) ซึ่งดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน

ดังนั้น "ตราสารหนี้" คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการเงินทุน (ผู้กู้ หรือผู้ออกจำหน่ายตราสารหนี้) และผู้ที่มีเงินทุนแต่ต้องการผลตอบแทน (ผู้ให้กู้ หรือผู้ลงทุน) มีภาระผูกพันกัน โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุในสัญญาหุ้นกู้ (Indenture) อีกทั้งตราสารหนี้ยังสามารถเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรองเช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

"ตราสารหนี้" เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายกว้างๆ นักลงทุนบางท่านอาจรู้จักตราสารหนี้ในลักษณะของ “พันธบัตร” และ“หุ้นกู้” โดยพันธบัตรที่นักลงทุนในประเทศไทยรู้จักนั้น มักใช้ในการเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ว่าคือ พันธบัตร และมักจะใช้คำเรียกว่า หุ้นกู้ เมื่อตราสารหนี้นี้ออกโดยบริษัทเอกชน แต่หลักเกณฑ์พื้นฐานในต่างประเทศนั้น มักจะใช้ใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยภาครัฐและภาคเอกชน มีในบางกรณีที่เรียกว่า“Debenture” เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ตราสารหนี้จึงจัดได้ว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุน ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนว่าจะให้ความสนใจต่อการลงทุนในตราสารประเภทนี้มากน้อยเพียงใด โดยนักลงทุนจะพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ส่วนเหตุผลอื่น ๆ ที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในตราสารหนี้นั้นมีดังนี้

1. การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนในตราสารทุน เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ได้มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่แน่นอน ทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์กระแสเงินสด หรือรายได้ที่ผู้ลงทุนพึงจะได้รับในอนาคตได้เป็นอย่างดี

2. ผู้ลงทุนที่ลงในตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่และสม่ำเสมอ เพราะตราสารหนี้มีการกำหนดจ่ายดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าตลอดระยะเวลาการลงทุน และมีความแน่นอนมากกว่าการลงทุนในตราสารทุน

3. ตราสารหนี้เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนนั้น ผู้ลงทุนจะไม่สามารถประมาณการรายได้จากเงินปันผลหรือส่วนต่างกำไร (Capital Gain / Loss) ที่แน่นอนได้ และการลงทุนในตราสารหนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา (Volatility) น้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน

4. การมีตลาดรองรองรับ (Marketability) ทำให้การซื้อขายเปลี่ยนมือของตราสารหนี้นั้นสามารถทำได้อย่างคล่องตัว และหากตราสารหนี้ที่ลงทุนนั้นเป็นตราสารที่มีคุณภาพดี เช่น ผู้ออกตราสารเป็นรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่มีฐานะการเงินมั่นคง ก็จะทำให้ตราสารหนี้นั้นมีสภาพคล่อง (Liquidity) หรือสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ง่ายขึ้น

5. การลงทุนในตราสารหนี้นั้นใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายสำหรับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน ทำให้ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินนิยมลงทุนในตราสารหนี้ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่าสภาพคล่องจะมีค่อนข้างสูงในตลาดตราสารหนี้

6. ตราสารหนี้ที่ได้ลงทุนไว้ สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ ค้ำประกันผู้ต้องหา หรือใช้ในการบริหารเงินนอกงบประมาณสำหรับหน่วยราชการ เป็นต้น ทั้งนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น