สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย คาด สิ่นปี 52 หุ้นกู้ทะลุ 4 เเสนล้านบาท หลังเอกชนขอสิ้นเชื่อเเบงก์-ระดมทุนผ่านตลาดหุ้นลำบากขึ้น ส่งผลให้จำนวนหุ้นกู้มีมากขึ้น ล่าสุดเตรียมผลักดันพร้อมให้ความรู้ความเข้าใจ การออกพันธบัตรปกครองส่วนท้องถิ่นเเละ Private repo ให้เสร็จทันสิ้นปีนี้
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธาน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยถึ่งเเนวโน้มการออกหุ้นกู้ในไตรมาสที่เหลือของปี 2552 ว่า คาดว่าจะมีภาคเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้านับรวมจนถึงสิ้นปี จะมีหุ้นกู้ออกใหม่ในปี 2552 กว่า 4 เเสนล้านบาท จากของเดิมที่มีอยู่ที่ 3.5 เเสนล้านบาท ถือว่าเป็นมูลค่ารวมของการออกหุ้นกู้ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้มูลค่าการออกตลาดตราสารหนี้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 8.7 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 8.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.37% โดยภาคเอกชนหันมาระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้เเทนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้มูลค่าหุ้นกู้ ที่ออกใหม่ในช่วง9 เดือนเเรกมีมูลค่ากว่า 3.5 เเสนล้านบาท ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่จดทะเบียนกับ ThaiBMA ประมาณ3เเสนล้าน เเละหุ้นกู้ที่เสนอขายเเบบวงจำกัด (Private Placement:pp) อีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้การระดมทุนของภาคเอกชนจะระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ เเต่เมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจภายในประเทศประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเเละอยู่ในภาวะถอถอย ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสิ้นเชื่อลดลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาลง
ทำให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่หันมาระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ด้วยการออกหุ้นกู้เเทนการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
"จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา หุ้นที่ IPO ในตลาดมีน้อยมาก เพราะราคาหุ้นปรับลดลงกว่า -48% ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหุ้นหลายตัวมีระดับต่ำกว่าเเวลู ทำให้ภาคธุรกิจหันไประดมุทนในตลาดหุ้นน้อยลง"นายปรกณ์ กล่าว
ทั้งนี้นักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาลงทุนในหุ้นกู้นั้นมีจำนวนค่อนข้างมากขึ้นประมาณ 45% ของหุ้นกู้ที่ออกมาในตลาดเพิ่มขึ้น 38% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ขณะเดียวกันการที่ภาคเอกชนต้องการระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องเเล้วยังเป็นการรีไฟเเนซ์เงินกู้ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างสูงอีกด้วย
นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเเนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในปีนี้มี 2 ประเด็นหลักคือ การผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธบัตรองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เพื่อให้ อปท.ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว เเละข้อสอง ผลักดันตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private repo) ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเเละประโยชน์ในการทำธุรกรรมประเภทดังกล่าว พร้อมทั้งจัดทำเเนวทางปฎิบัติให้เป็นมาตราฐานเดียวกันของตลาด กระตุ้นให้นักลงทุนที่มีศักยภาพเช่น กองทุน สหกรณ์ เเละรัฐวิสหกิจ ทำธุรกรรม Private repo เพิ่มขึ้น โดยในเดือนพศจิกายนนี้ ทางThaiBMA เเละธนาคารเเห่งประเทศไทย จะจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรม Private repoเชิงลึกให้กับผู้ร่วมตลาดอีกด้วย
ทางด้านนายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า ตลาดตราสารหนี้ยังคงได้รับความนิยมจากนักลลงทุนเป็นจำนวนมาก มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเฉลี่ยต่อวันปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าขายเฉลี่ยหากตัดมูลค่าการซื้อขายพันธบัตรธนาคารเเห่งประเทศไทย ระยะสั้นสุดต่ำกว่า 1 ปีออก
พบว่ามีมูลค่าซื้อขายประมาณ 16,500 ล้านบาทต่อวัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 11,000 ล้านบาทต่อวัน โดยหุ้นกู้เอกชนได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากมูลค่าการซื้อขายของช่วงเดียวกันในปีที่เเล้ว
ขณะเดียวกันหุ้นกู้ภาคเอกชนได้ปัจจัยหนุนจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับผลตอบเเทนที่ค่อนข้างสูงของหุ้นกู้ภาคเอกชนเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล จึงดึงดูดให้นักลงทุนหันมาสนใจหุ้นกู้เอกชน ส่งผลให้การซื้อขายหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดรอง 9 เดือนที่ผ่ายมามีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นตามมูลค่าการออกในตลาดเเรกไปด้วยเช้นกัน
ในส่วนของอัตราผลตอบเเทนของพันธบัตรรัฐบาลยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลักๆเช่น ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจจากตัวเลขเงินเฟ้อ หรือเเม้เเต่การประกาศตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในเเต่ละไตรมาส โดยผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่เชื่อว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับตัวขึ้นทำให้อัตราผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งเเต่ 5ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551
สำหรับเเนวโน้มการออกหุ้นกู้ของเอกชนในปีหน้านี้ อาจจะมีสัดส่วนลดลงประมาณ 20% เเละนักลงทุนสถาบันจะหันเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนรายย่อยอาจจะมีสัดส่วนลดลงเนื่องจากการเเข่งขันระหว่างสถาบันการเงินในเเง่การดึงเงินฝากจะเพิ่มสูงขึ้น
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธาน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยถึ่งเเนวโน้มการออกหุ้นกู้ในไตรมาสที่เหลือของปี 2552 ว่า คาดว่าจะมีภาคเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้านับรวมจนถึงสิ้นปี จะมีหุ้นกู้ออกใหม่ในปี 2552 กว่า 4 เเสนล้านบาท จากของเดิมที่มีอยู่ที่ 3.5 เเสนล้านบาท ถือว่าเป็นมูลค่ารวมของการออกหุ้นกู้ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้มูลค่าการออกตลาดตราสารหนี้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 8.7 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 8.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.37% โดยภาคเอกชนหันมาระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้เเทนการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้มูลค่าหุ้นกู้ ที่ออกใหม่ในช่วง9 เดือนเเรกมีมูลค่ากว่า 3.5 เเสนล้านบาท ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่จดทะเบียนกับ ThaiBMA ประมาณ3เเสนล้าน เเละหุ้นกู้ที่เสนอขายเเบบวงจำกัด (Private Placement:pp) อีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้การระดมทุนของภาคเอกชนจะระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ เเต่เมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจภายในประเทศประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเเละอยู่ในภาวะถอถอย ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสิ้นเชื่อลดลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาลง
ทำให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่หันมาระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ด้วยการออกหุ้นกู้เเทนการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
"จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา หุ้นที่ IPO ในตลาดมีน้อยมาก เพราะราคาหุ้นปรับลดลงกว่า -48% ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหุ้นหลายตัวมีระดับต่ำกว่าเเวลู ทำให้ภาคธุรกิจหันไประดมุทนในตลาดหุ้นน้อยลง"นายปรกณ์ กล่าว
ทั้งนี้นักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาลงทุนในหุ้นกู้นั้นมีจำนวนค่อนข้างมากขึ้นประมาณ 45% ของหุ้นกู้ที่ออกมาในตลาดเพิ่มขึ้น 38% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ขณะเดียวกันการที่ภาคเอกชนต้องการระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องเเล้วยังเป็นการรีไฟเเนซ์เงินกู้ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างสูงอีกด้วย
นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเเนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในปีนี้มี 2 ประเด็นหลักคือ การผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธบัตรองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เพื่อให้ อปท.ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว เเละข้อสอง ผลักดันตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private repo) ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเเละประโยชน์ในการทำธุรกรรมประเภทดังกล่าว พร้อมทั้งจัดทำเเนวทางปฎิบัติให้เป็นมาตราฐานเดียวกันของตลาด กระตุ้นให้นักลงทุนที่มีศักยภาพเช่น กองทุน สหกรณ์ เเละรัฐวิสหกิจ ทำธุรกรรม Private repo เพิ่มขึ้น โดยในเดือนพศจิกายนนี้ ทางThaiBMA เเละธนาคารเเห่งประเทศไทย จะจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรม Private repoเชิงลึกให้กับผู้ร่วมตลาดอีกด้วย
ทางด้านนายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า ตลาดตราสารหนี้ยังคงได้รับความนิยมจากนักลลงทุนเป็นจำนวนมาก มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเฉลี่ยต่อวันปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าขายเฉลี่ยหากตัดมูลค่าการซื้อขายพันธบัตรธนาคารเเห่งประเทศไทย ระยะสั้นสุดต่ำกว่า 1 ปีออก
พบว่ามีมูลค่าซื้อขายประมาณ 16,500 ล้านบาทต่อวัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 11,000 ล้านบาทต่อวัน โดยหุ้นกู้เอกชนได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนสถาบันเเละนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากมูลค่าการซื้อขายของช่วงเดียวกันในปีที่เเล้ว
ขณะเดียวกันหุ้นกู้ภาคเอกชนได้ปัจจัยหนุนจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับผลตอบเเทนที่ค่อนข้างสูงของหุ้นกู้ภาคเอกชนเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล จึงดึงดูดให้นักลงทุนหันมาสนใจหุ้นกู้เอกชน ส่งผลให้การซื้อขายหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดรอง 9 เดือนที่ผ่ายมามีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นตามมูลค่าการออกในตลาดเเรกไปด้วยเช้นกัน
ในส่วนของอัตราผลตอบเเทนของพันธบัตรรัฐบาลยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลักๆเช่น ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจจากตัวเลขเงินเฟ้อ หรือเเม้เเต่การประกาศตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในเเต่ละไตรมาส โดยผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่เชื่อว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับตัวขึ้นทำให้อัตราผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งเเต่ 5ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551
สำหรับเเนวโน้มการออกหุ้นกู้ของเอกชนในปีหน้านี้ อาจจะมีสัดส่วนลดลงประมาณ 20% เเละนักลงทุนสถาบันจะหันเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนรายย่อยอาจจะมีสัดส่วนลดลงเนื่องจากการเเข่งขันระหว่างสถาบันการเงินในเเง่การดึงเงินฝากจะเพิ่มสูงขึ้น