ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเผยแผนกู้เงินปี 53 ออกบอนด์วงเงิน 7 แสนล้านบาทสานต่อโครงการไทยเข้มแข็ง ระบุบอนด์อายุ 5 และ 10 ปีตลาดตอบรับมากที่สุดพร้อมฉวยโอกาสแปลงหนี้เงินกู้สถาบันการเงินเป็นพันธบัตรระยะยาว 15, 20และ 30 ปีช่วงดอกเบี้ยในตลาดติดดิน
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เตรียมแผนออกพันธบัตรในปีงบประมาณ 2553 วงเงินทั้งสิ้น 7 แสนล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลไตรมาสและ 1 แสนล้านบาท รวมเป็นเงิน 4 แสนล้านบาท ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 3 แสนล้านบาท จะกู้เงินโดยตรงจากธนาคารพาณิชย์ และออกพันธบัตรออมทรัพย์(เซฟวิ่งบอนด์) เพื่อขายให้กับประชาชนรายย่อย
ทั้งนี้สบน.คาดว่าจะออกพันธบัตรอายุ 5 ปี 10 ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยล่าสุด สบน.ได้ตั้งคณะกรรมการกู้เงินเพื่อโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อพิจารณาแนวทางการแปลงเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องในระบบสูงมาก อีกทั้งดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ จึงถือว่าเป็นจังหวะดีที่จะแปลงหนี้ให้เป็นระยะ 15 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี
“ขณะนี้ตลาดตราสารหนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก มีสัดส่วนถึง 55% ของตลาดทุน และมีการซื้อขายตราสารหนี้กันอย่างหนาแน่นขึ้นมาก นับเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาตลาดทุนในประเทศให้เติบโตมากขึ้น และการที่เปลี่ยนเป็นบอนด์อายุยาวๆ นั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการรีไฟแนนซ์ให้น้อยลง ซึ่งปีนี้สบน.โชคดีที่สภาพคล่องในตลาดมีเหลือมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ”
นายพงษ์ภาณุ กล่าวต่อว่า ในการจัดทำงบประมาณปี 2553 นี้ สบน.จะต้องขอตั้งงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยในส่วนของการกู้เงินตาม พ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทจากที่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้ไว้แล้ว 1.98 แสนล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่ได้จัดตั้งงบประมาณในส่วนนี้เอาไว้
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าจากนี้ไปการระดมทุนของรัฐบาลมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะไม่มีใครรู้ทิศทางดอกเบี้ยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แม้จะประเมินว่าหากเศรษฐกิจดีขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากไม่มีใครอยากซื้อพันธบัตรระยะยาว
ผอ.สบน.กล่าวว่า ในวันนี้ สบน.ร่วมกับสำนักงบประมาณ จะประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เอสพี2 ) เพื่อติดตามดูราคากลางของโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงินรวม 1.06 ล้านล้านบาททั้งหมดอย่างชัดเจนว่าแต่ละโครงการต้องใช้เงินจำนวนเท่าใด รวมทั้งปรับแผนใหม่อีกครั้ง
หลังจากนั้นในวันที่ 14 ส.ค. จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการเอสพี 2 อีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังพิจารณารายละเอียดของราคากลางของแต่ละโครงการ และนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันที่ 18 ส.ค.นี้เพื่ออนุมัติวงเงินครั้งสุดท้าย ก่อนที่เงินก้อนแรกจะเริ่มเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในเดือนก.ย.นี้แน่นอน
ทั้งนี้คาดว่าวงเงินก้อนแรกที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบ 3 หมื่นล้านบาทภายในเดือนก.ย.นี้ คือเป็นโครงการของกรมทางหลวงในการซ่อมบำรุงถนนทั่วประเทศ โครงการของทหาร และโครงการเพิ่มทุนให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้งหมด และภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 53 หรือ ต.ค.-ธ.ค.นี้ คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบถึง 2 แสนล้านบาทแน่นอน
“สบน.จะปรับแผนการใช้เงินเอสพี 2 ใหม่ เนื่องจากประเมินว่า จะมีเงินเข้าสู่โครงการไทยเข้มแข็งจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาทแน่นอน เนื่องจากขณะนี้มีเงินคงคลังมากขึ้น ทำให้การกู้เงินตามพ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ตามแผนที่จะกู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2 แสนล้านบาทนั้น ไม่ถึงตามวงเงินดังกล่าวแล้ว เพราะมีเงินคงคลังเข้ามาชดเชยมากขึ้น จากเดิมที่คาดว่าจะขาดดุล 2.8 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้คาดว่าจะขาดดุลเพียง 1.7 แสนล้านบาทเท่านั้น ทำให้มีเงินเหลือนำไปเพิ่มในโครงการเอสพี2 ได้อีก ส่งผลให้ในปีงบประมาณ 52 นี้ ไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์อีก” ผอ.สบน.กล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เตรียมแผนออกพันธบัตรในปีงบประมาณ 2553 วงเงินทั้งสิ้น 7 แสนล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลไตรมาสและ 1 แสนล้านบาท รวมเป็นเงิน 4 แสนล้านบาท ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 3 แสนล้านบาท จะกู้เงินโดยตรงจากธนาคารพาณิชย์ และออกพันธบัตรออมทรัพย์(เซฟวิ่งบอนด์) เพื่อขายให้กับประชาชนรายย่อย
ทั้งนี้สบน.คาดว่าจะออกพันธบัตรอายุ 5 ปี 10 ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยล่าสุด สบน.ได้ตั้งคณะกรรมการกู้เงินเพื่อโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อพิจารณาแนวทางการแปลงเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องในระบบสูงมาก อีกทั้งดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ จึงถือว่าเป็นจังหวะดีที่จะแปลงหนี้ให้เป็นระยะ 15 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี
“ขณะนี้ตลาดตราสารหนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก มีสัดส่วนถึง 55% ของตลาดทุน และมีการซื้อขายตราสารหนี้กันอย่างหนาแน่นขึ้นมาก นับเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาตลาดทุนในประเทศให้เติบโตมากขึ้น และการที่เปลี่ยนเป็นบอนด์อายุยาวๆ นั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการรีไฟแนนซ์ให้น้อยลง ซึ่งปีนี้สบน.โชคดีที่สภาพคล่องในตลาดมีเหลือมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ”
นายพงษ์ภาณุ กล่าวต่อว่า ในการจัดทำงบประมาณปี 2553 นี้ สบน.จะต้องขอตั้งงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยในส่วนของการกู้เงินตาม พ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทจากที่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้ไว้แล้ว 1.98 แสนล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่ได้จัดตั้งงบประมาณในส่วนนี้เอาไว้
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าจากนี้ไปการระดมทุนของรัฐบาลมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะไม่มีใครรู้ทิศทางดอกเบี้ยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แม้จะประเมินว่าหากเศรษฐกิจดีขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากไม่มีใครอยากซื้อพันธบัตรระยะยาว
ผอ.สบน.กล่าวว่า ในวันนี้ สบน.ร่วมกับสำนักงบประมาณ จะประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เอสพี2 ) เพื่อติดตามดูราคากลางของโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงินรวม 1.06 ล้านล้านบาททั้งหมดอย่างชัดเจนว่าแต่ละโครงการต้องใช้เงินจำนวนเท่าใด รวมทั้งปรับแผนใหม่อีกครั้ง
หลังจากนั้นในวันที่ 14 ส.ค. จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการเอสพี 2 อีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังพิจารณารายละเอียดของราคากลางของแต่ละโครงการ และนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันที่ 18 ส.ค.นี้เพื่ออนุมัติวงเงินครั้งสุดท้าย ก่อนที่เงินก้อนแรกจะเริ่มเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในเดือนก.ย.นี้แน่นอน
ทั้งนี้คาดว่าวงเงินก้อนแรกที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบ 3 หมื่นล้านบาทภายในเดือนก.ย.นี้ คือเป็นโครงการของกรมทางหลวงในการซ่อมบำรุงถนนทั่วประเทศ โครงการของทหาร และโครงการเพิ่มทุนให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้งหมด และภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 53 หรือ ต.ค.-ธ.ค.นี้ คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบถึง 2 แสนล้านบาทแน่นอน
“สบน.จะปรับแผนการใช้เงินเอสพี 2 ใหม่ เนื่องจากประเมินว่า จะมีเงินเข้าสู่โครงการไทยเข้มแข็งจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาทแน่นอน เนื่องจากขณะนี้มีเงินคงคลังมากขึ้น ทำให้การกู้เงินตามพ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ตามแผนที่จะกู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2 แสนล้านบาทนั้น ไม่ถึงตามวงเงินดังกล่าวแล้ว เพราะมีเงินคงคลังเข้ามาชดเชยมากขึ้น จากเดิมที่คาดว่าจะขาดดุล 2.8 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้คาดว่าจะขาดดุลเพียง 1.7 แสนล้านบาทเท่านั้น ทำให้มีเงินเหลือนำไปเพิ่มในโครงการเอสพี2 ได้อีก ส่งผลให้ในปีงบประมาณ 52 นี้ ไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์อีก” ผอ.สบน.กล่าว