ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.ลุ้นพรก.กู้เงิน 4 แสนล้านผ่านสภา ระบุสามารถชี้แจงถึงความจำเป็นและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นจะเดินหน้ากู้เงิน ก้อนแรก 2 แสนล้าน ชดเชยเงินคงคลังจากรายได้ที่หลุดเป้า คาดงบปี 52-53 จะมียอดใช้เงินลงทุนประมาณ 2.8 แสนล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สนบ.)เปิดเผยว่า รัฐบาลจะนำเสนอร่างพรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสริมความมั่นคงทางการคลัง วงเงิน 4 แสนล้านบาทเข้าสู่การประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยมั่นใจว่า พรก.จะผ่านการลงมติจากสมาชิกรัฐสภา เพราะได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและยังสามารถชี้แจงถึงความจำเป็นเร่งด่วนการกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาเสริมฐานะทางการคลังและนำไปใช้ในการลงทุนตามแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งหลังจากผ่านการลงมติจากรัฐสภาแล้ว สบน.จะดำเนินการปรับแผนการกู้เงินให้สอดคล้องกับการบริหารหนี้ใหม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากประธานสภานำร่างพ.ร.ก.ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็อาจส่งผลให้ไม่สามาารถนำเข้าสภาได้ทัน คงนำเข้าเพียงร่างพ.ร.บ.กู้เงิน เท่านั้น
นายพงษ์ภาณุกล่าวต่อว่า คาดว่า สบน.จะดำเนินการกู้เงินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยก้อนแรกจะกู้ในวงเงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยเงินคงคลังจากที่การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่า ที่เหลือจะกู้เป็นลำดับต่อไปเพื่อนำมาใช้ในโครงการลงทุนตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ในระยะต่อไป ซึ่งเริ่มช่วงปลายปี 2553 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2553 โดยรูปแบบมีทั้งการออกพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์และกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นกู้จากสถาบันการเงินป็นหลักเพราะในระบบสถาบันการเงินยังมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง อีกทั้งต้นทุนการกู้เงินขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับต่ำหากเทียบกับในอดีต โดยพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.2-3.6% ขณะที่การกู้เงินระยะสั้นต้นทุนอยู่ที่ 1% กว่า และของรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 2% กว่า
"เงินกู้ที่จะนำมาใช้ในการลงทุนเร่งด่วนตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยในปีงบ 2552 ต่อเนื่องปีงบ 2553 น่าจะมีการใช้เงินลงทุนประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งเน้นใช้ในโครงการที่เกิดการจ้างงาน เช่น สร้างถนนในหมู้บ้าน ส่วนในปีงบ 2554-2555 จะใช้เงินกู้ในส่วนของ.ร.บ.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ซึ่งกว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก็ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน"นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธะกุล รองผู้อำนวยการ สบน.กล่าวว่า การกู้เงินโดยตรงของภาครัฐเพื่อใช้ในโครงการแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะอยู่ที่ 6.8 แสนล้านบาท โดยจะเป็นการกู้ในปี 2553 จำนวน 2.8 แสนล้านบาท และในปี 2554-2555 ปีละ 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีสิ้นปี 2552 อยู่ทื่ 47% ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม 43% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจติดลบถึง 3% และหนี้สาธารณะจะขึ้นไปสูงสุดในปี 2555-2556 ที่ 61% ต่อจีดีพี สูงสุดเท่ากับช่วงปี 2542
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น หนี้สาธารณะจะเริ่มปรับลดลงต่อเนื่องหลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวโดยน่าจะอยู่ในระดับ 40% ได้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว 5-6% และคาดว่างบประมาณจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ในปี 2557 หรือ 2558 ขณะที่การชำระหนี้จะเริ่มจัดสรรงบประมาณได้มากขึ้นด้วจากปัจจุบันที่ชำระได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนเงินต้นต้องใช้วิธีกการยืดระยะเวลาชำระออกไป เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้จัดสรรได้เพียง 15%ของวงเงินงบประมาณ
สำหรับรูปแบบการระดมทุน นายจักรกฤศฎิ์กล่าวว่า ต้องพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม เพราะเพดานการกู้ยืมเงินในประเทศ 4.41 แสนล้านบาทนั้น ได้กู้ยืมในรูปการออกพันธบัตรเกือบเต็มเพดานแล้ว เพราะความต้องการในตลาดมีจำกัด ขณะเดียวกัน ไม่ต้องการให้อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ผันผวนด้วย โดยจะเห็นว่า ช่วงที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรมาขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรมีแนวโน้มลดลง จาก Yield Curve เพิ่มขึ้น 0.5-0.6% ขณะที่การกู้ยืมโดยตรงจากธนาคารพาณิชย์น่าจะเป้นรูปแบบที่ดีกว่า เพราะสภาพคล่องส่วนเกินยังสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ 1-2% เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ทางพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นให้ประธานสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ กรณีที่รัฐบาลขอออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท และประธานวิปฝ่ายค้าน ยัน หากรัฐบาลนำ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯในวันนี้ ส.ส.ฝ่ายค้านจะวอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุมอย่างแน่นอน เพราะฝ่ายค้านได้ส่งให้ศาลรธน.ตีความไปแล้ว ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุมว่า หากการยื่นตีความของฝ่ายค้านได้รับการตรวจสอบจากประธานรัฐสภาอย่างถูกต้อง สภาก็คงต้องชะลอการพิจารณา พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวไว้ก่อน
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สนบ.)เปิดเผยว่า รัฐบาลจะนำเสนอร่างพรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสริมความมั่นคงทางการคลัง วงเงิน 4 แสนล้านบาทเข้าสู่การประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยมั่นใจว่า พรก.จะผ่านการลงมติจากสมาชิกรัฐสภา เพราะได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและยังสามารถชี้แจงถึงความจำเป็นเร่งด่วนการกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาเสริมฐานะทางการคลังและนำไปใช้ในการลงทุนตามแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งหลังจากผ่านการลงมติจากรัฐสภาแล้ว สบน.จะดำเนินการปรับแผนการกู้เงินให้สอดคล้องกับการบริหารหนี้ใหม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากประธานสภานำร่างพ.ร.ก.ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็อาจส่งผลให้ไม่สามาารถนำเข้าสภาได้ทัน คงนำเข้าเพียงร่างพ.ร.บ.กู้เงิน เท่านั้น
นายพงษ์ภาณุกล่าวต่อว่า คาดว่า สบน.จะดำเนินการกู้เงินได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยก้อนแรกจะกู้ในวงเงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยเงินคงคลังจากที่การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่า ที่เหลือจะกู้เป็นลำดับต่อไปเพื่อนำมาใช้ในโครงการลงทุนตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ในระยะต่อไป ซึ่งเริ่มช่วงปลายปี 2553 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2553 โดยรูปแบบมีทั้งการออกพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์และกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นกู้จากสถาบันการเงินป็นหลักเพราะในระบบสถาบันการเงินยังมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง อีกทั้งต้นทุนการกู้เงินขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับต่ำหากเทียบกับในอดีต โดยพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.2-3.6% ขณะที่การกู้เงินระยะสั้นต้นทุนอยู่ที่ 1% กว่า และของรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 2% กว่า
"เงินกู้ที่จะนำมาใช้ในการลงทุนเร่งด่วนตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยในปีงบ 2552 ต่อเนื่องปีงบ 2553 น่าจะมีการใช้เงินลงทุนประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งเน้นใช้ในโครงการที่เกิดการจ้างงาน เช่น สร้างถนนในหมู้บ้าน ส่วนในปีงบ 2554-2555 จะใช้เงินกู้ในส่วนของ.ร.บ.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ซึ่งกว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก็ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน"นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธะกุล รองผู้อำนวยการ สบน.กล่าวว่า การกู้เงินโดยตรงของภาครัฐเพื่อใช้ในโครงการแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะอยู่ที่ 6.8 แสนล้านบาท โดยจะเป็นการกู้ในปี 2553 จำนวน 2.8 แสนล้านบาท และในปี 2554-2555 ปีละ 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีสิ้นปี 2552 อยู่ทื่ 47% ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม 43% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจติดลบถึง 3% และหนี้สาธารณะจะขึ้นไปสูงสุดในปี 2555-2556 ที่ 61% ต่อจีดีพี สูงสุดเท่ากับช่วงปี 2542
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น หนี้สาธารณะจะเริ่มปรับลดลงต่อเนื่องหลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวโดยน่าจะอยู่ในระดับ 40% ได้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว 5-6% และคาดว่างบประมาณจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ในปี 2557 หรือ 2558 ขณะที่การชำระหนี้จะเริ่มจัดสรรงบประมาณได้มากขึ้นด้วจากปัจจุบันที่ชำระได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนเงินต้นต้องใช้วิธีกการยืดระยะเวลาชำระออกไป เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้จัดสรรได้เพียง 15%ของวงเงินงบประมาณ
สำหรับรูปแบบการระดมทุน นายจักรกฤศฎิ์กล่าวว่า ต้องพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม เพราะเพดานการกู้ยืมเงินในประเทศ 4.41 แสนล้านบาทนั้น ได้กู้ยืมในรูปการออกพันธบัตรเกือบเต็มเพดานแล้ว เพราะความต้องการในตลาดมีจำกัด ขณะเดียวกัน ไม่ต้องการให้อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ผันผวนด้วย โดยจะเห็นว่า ช่วงที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรมาขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรมีแนวโน้มลดลง จาก Yield Curve เพิ่มขึ้น 0.5-0.6% ขณะที่การกู้ยืมโดยตรงจากธนาคารพาณิชย์น่าจะเป้นรูปแบบที่ดีกว่า เพราะสภาพคล่องส่วนเกินยังสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ 1-2% เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ทางพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นให้ประธานสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ กรณีที่รัฐบาลขอออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท และประธานวิปฝ่ายค้าน ยัน หากรัฐบาลนำ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯในวันนี้ ส.ส.ฝ่ายค้านจะวอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุมอย่างแน่นอน เพราะฝ่ายค้านได้ส่งให้ศาลรธน.ตีความไปแล้ว ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุมว่า หากการยื่นตีความของฝ่ายค้านได้รับการตรวจสอบจากประธานรัฐสภาอย่างถูกต้อง สภาก็คงต้องชะลอการพิจารณา พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวไว้ก่อน