สมาคมตราสารหนี้ไทย เผยตลาดหุ้นกู้คึกคัก ตัวเลขระดมทุนล่าสุด 4 เดือน พุ่ง 1.3 แสนล้านบาท มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเกินหมื่นล้าน คาดทั้งปี เกินเป้าหมายและสูงกว่าปีที่แล้ว 2.8 แสนล้านบาท เผยนักลงทุนกล้าเสี่ยงมากขึ้น หลังหุ้นกู้เครติดต่ำกว่า A เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้านผู้จัดการกองทุนระบุ มีโอกาสขยับเรตติ้งได้ หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสายงานการกำกับดูแล สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยในงานสัมมนา “ลงทุนหุ้นกู้ กู้วิกฤติกระเป๋าเงิน” ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (12 พ.ค.) ว่า ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ปริมาณการออกหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100% เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลที่มีปริมาณออกมาเพิ่มขึ้นถึง 100% เช่นกัน
โดยปริมาณของหุ้นกู้เอกชนที่ออกมาในช่วง 4 เดือนแรก มีมูลค่ารวมประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งจากปริมาณที่ค่อนข้างสูงดังกล่าวทำให้คาดว่าทั้งปีนี้ น่าจะมีหุ้นกู้ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ 2.5 แสนล้านบาท และเชื่อว่าอาจจะสูงกว่า 2.8 แสนล้านบาทซึ่งเป็นปริมาณหุ้นกู้ที่ออกมาทั้งหมดในปีที่แล้วด้วย ส่วนปริมาณการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงเดียวกันมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 1.4 หมื่นล้านบาทต่อวัน จากเดิมวันละไม่ถึงหมื่นล้าน
ทั้งนี้ หุ้นที่ออกมาส่วนใหญ่ ยังเป็นกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์ โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นสัดส่วน 60% ของปริมาณหุ้นกู้ที่ออกมาทั้งหมด ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาล มองว่าหลังจากนี้ จะมีซับพลายออกมาในตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากแผนระดมทุนของรัฐบาลด้วยการออกพันธบัตรเพิ่มอีกมูลค่า 8 แสนล้านบาท ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้พอสมควร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะมีซับพลายเข้ามาในตลาดเยอะขึ้น ซึ่งในช่วง 3 วันที่ผ่านมา พบว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวปรับขึ้นไปถึง 0.5-0.6%
อย่างไรก็ตาม แผนการออกพันธบัตรของรัฐบาลดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในหุ้นกู้ เพราะสเปรดระหว่างหุ้นกู้เอกชนและพันธบัตรรัฐบาลไม่ได้ลดลงถึงแม้จะมีซับพลายเข้ามาในตลาดมากขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าหุ้นกู้เอกชนจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเพื่อแย่งเงินจากรัฐบาลด้วย แต่ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว จะมีส่วนทำให้สเปรดดังกล่าวแคบลงได้ เนื่องจากความเสี่ยงของหุ้นกู้จะลดลง
นางสาวอริยากล่าวว่า สำหรับบรรยากาศการลงทุนในหุ้นกู้ขณะนี้ จะเริ่มเห็นนักลงทุนกล้าลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า A หรือระดับ BBB มากขึ้น เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม แนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคง เพราะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้เช่นกัน
ธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ความน่าสนใจของหุ้นกู้น่าจะยังอยู่ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพราะสเปรดยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เงินฝากธนาคารเองก็ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น นักลงทุนจึงมองหาช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ส่วนภาพรวมของการลงทุน ในช่วงนี้ นักลงทุนเริ่มกล้าที่จะกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า A หรือ BBB มากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลที่รับความเสี่ยงได้ ซึ่งการที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวได้บ้าง ก็เชื่อว่าหลังจากนี้ จะเห็นการปรับเพิ่มอันดับเรตติ้งของหุ้นกู้เอกชนเหล่านี้ขึ้นไปอีกระดับ
สำหรับนักลงทุนที่จะลงทุนในหุ้นกู้ แนะนำว่าไม่ควรลงทุนยาวเกินไป โดยหุ้นกู้อายุ 2-3 ปี น่าจะมีความน่าสนใจมากกว่า แต่ต้องพิจารณาบริษัทผู้ออกด้วยว่า มีฐานะทางการเงินอย่างไรบ้าง มีกระเงินสดเพียงพอหรือไม่ และมีความสามารถในการชำระหนี้คืนด้วย แต่ถ้าต้องการลงทุนยาวแนะนำว่า 3 ปียังลงทุนได้แต่ต้องดูบริษัทที่มีความมั่นคงจริงๆ
ด้าน ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทเอกชนออกหุ้นกู้มากขึ้น มีทั้งการนำไปรีไฟแนนซ์หนี้เก่าเพื่อรับต้นทุนที่ถูกลงจากการปรับดอกเบี้ย รวมถึงการนำเงินไปลงทุนต่อด้วยการไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ช่องทางการกู้เงินในต่างประเทศก็มีน้อยลง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ ควรให้น้ำหนัก 80% กับอันดับเครดิตเรตติ้งเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นให้พิจารณาว่า บริษัทผู้ออกเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือไม่ รวมถึงต้องดูด้วยว่าอยู่ในเซกเตอร์ใด เพราะถึงแม้ว่าบริษัทจะได้อันดับเครดิตเท่ากัน แต่อยู่คนละอุตสาหกรรม ก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ปัจจัยสุดท้ายผู้ลงทุนต้องดูระยะเวลาในการลงทุนด้วยว่า สามารถลงทุนได้ยาวแค่ไหน
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย คาดว่าการประชุมดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25%มาอยู่ที่ 1% และหลังจากนั้นก็จะต่ำไปกว่านี้แล้ว เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวพอสมควรแล้ว ในขณะที่ราคาหุ้นของสถาบันการเงินในสหรัฐฯเอง ก็ปรับขึ้นมา ถึงแม้จะยังแย่อยู่หากเปรียบเทียบกับช่วงที่ขึ้นไปสูงสุด ทั้งนี้ เชื่อว่าช่วงนี้น่าจะเห็นจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังคงไม่เห็นการปรับปรับขึ้นมาทันที
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสายงานการกำกับดูแล สมาคมตราสารหนี้ไทย เปิดเผยในงานสัมมนา “ลงทุนหุ้นกู้ กู้วิกฤติกระเป๋าเงิน” ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (12 พ.ค.) ว่า ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ปริมาณการออกหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100% เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลที่มีปริมาณออกมาเพิ่มขึ้นถึง 100% เช่นกัน
โดยปริมาณของหุ้นกู้เอกชนที่ออกมาในช่วง 4 เดือนแรก มีมูลค่ารวมประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งจากปริมาณที่ค่อนข้างสูงดังกล่าวทำให้คาดว่าทั้งปีนี้ น่าจะมีหุ้นกู้ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ 2.5 แสนล้านบาท และเชื่อว่าอาจจะสูงกว่า 2.8 แสนล้านบาทซึ่งเป็นปริมาณหุ้นกู้ที่ออกมาทั้งหมดในปีที่แล้วด้วย ส่วนปริมาณการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงเดียวกันมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 1.4 หมื่นล้านบาทต่อวัน จากเดิมวันละไม่ถึงหมื่นล้าน
ทั้งนี้ หุ้นที่ออกมาส่วนใหญ่ ยังเป็นกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์ โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นสัดส่วน 60% ของปริมาณหุ้นกู้ที่ออกมาทั้งหมด ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาล มองว่าหลังจากนี้ จะมีซับพลายออกมาในตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากแผนระดมทุนของรัฐบาลด้วยการออกพันธบัตรเพิ่มอีกมูลค่า 8 แสนล้านบาท ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้พอสมควร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะมีซับพลายเข้ามาในตลาดเยอะขึ้น ซึ่งในช่วง 3 วันที่ผ่านมา พบว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวปรับขึ้นไปถึง 0.5-0.6%
อย่างไรก็ตาม แผนการออกพันธบัตรของรัฐบาลดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในหุ้นกู้ เพราะสเปรดระหว่างหุ้นกู้เอกชนและพันธบัตรรัฐบาลไม่ได้ลดลงถึงแม้จะมีซับพลายเข้ามาในตลาดมากขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าหุ้นกู้เอกชนจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเพื่อแย่งเงินจากรัฐบาลด้วย แต่ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว จะมีส่วนทำให้สเปรดดังกล่าวแคบลงได้ เนื่องจากความเสี่ยงของหุ้นกู้จะลดลง
นางสาวอริยากล่าวว่า สำหรับบรรยากาศการลงทุนในหุ้นกู้ขณะนี้ จะเริ่มเห็นนักลงทุนกล้าลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า A หรือระดับ BBB มากขึ้น เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม แนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคง เพราะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้เช่นกัน
ธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ความน่าสนใจของหุ้นกู้น่าจะยังอยู่ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพราะสเปรดยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เงินฝากธนาคารเองก็ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น นักลงทุนจึงมองหาช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ส่วนภาพรวมของการลงทุน ในช่วงนี้ นักลงทุนเริ่มกล้าที่จะกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า A หรือ BBB มากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลที่รับความเสี่ยงได้ ซึ่งการที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวได้บ้าง ก็เชื่อว่าหลังจากนี้ จะเห็นการปรับเพิ่มอันดับเรตติ้งของหุ้นกู้เอกชนเหล่านี้ขึ้นไปอีกระดับ
สำหรับนักลงทุนที่จะลงทุนในหุ้นกู้ แนะนำว่าไม่ควรลงทุนยาวเกินไป โดยหุ้นกู้อายุ 2-3 ปี น่าจะมีความน่าสนใจมากกว่า แต่ต้องพิจารณาบริษัทผู้ออกด้วยว่า มีฐานะทางการเงินอย่างไรบ้าง มีกระเงินสดเพียงพอหรือไม่ และมีความสามารถในการชำระหนี้คืนด้วย แต่ถ้าต้องการลงทุนยาวแนะนำว่า 3 ปียังลงทุนได้แต่ต้องดูบริษัทที่มีความมั่นคงจริงๆ
ด้าน ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทเอกชนออกหุ้นกู้มากขึ้น มีทั้งการนำไปรีไฟแนนซ์หนี้เก่าเพื่อรับต้นทุนที่ถูกลงจากการปรับดอกเบี้ย รวมถึงการนำเงินไปลงทุนต่อด้วยการไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ช่องทางการกู้เงินในต่างประเทศก็มีน้อยลง เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ ควรให้น้ำหนัก 80% กับอันดับเครดิตเรตติ้งเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นให้พิจารณาว่า บริษัทผู้ออกเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือไม่ รวมถึงต้องดูด้วยว่าอยู่ในเซกเตอร์ใด เพราะถึงแม้ว่าบริษัทจะได้อันดับเครดิตเท่ากัน แต่อยู่คนละอุตสาหกรรม ก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ปัจจัยสุดท้ายผู้ลงทุนต้องดูระยะเวลาในการลงทุนด้วยว่า สามารถลงทุนได้ยาวแค่ไหน
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย คาดว่าการประชุมดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25%มาอยู่ที่ 1% และหลังจากนั้นก็จะต่ำไปกว่านี้แล้ว เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวพอสมควรแล้ว ในขณะที่ราคาหุ้นของสถาบันการเงินในสหรัฐฯเอง ก็ปรับขึ้นมา ถึงแม้จะยังแย่อยู่หากเปรียบเทียบกับช่วงที่ขึ้นไปสูงสุด ทั้งนี้ เชื่อว่าช่วงนี้น่าจะเห็นจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังคงไม่เห็นการปรับปรับขึ้นมาทันที