คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
คุณคิดว่าคนไทยเลือกลงทุนในกองทุนมากน้อยแค่ไหนครับ? จากประชากรประมาณ 66 ล้านคน มีผู้ลงทุนในกองทุนรวมประมาณ 2.2 ล้านคน และมีผู้ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกประมาณ 2.1 ล้านคน ซึ่งอาจเป็นคนกลุ่มเดียวกันก็ได้ ถ้าประมาณอย่างคร่าวๆ ที่ 3.5 ล้านคนก็คิดเป็นเพียง 5.3% ของคนไทย
และเมื่อเปรียบเทียบอุตสาหกรรมกองทุนรวมของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ การลงทุนในกองทุนรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของประเทศไทย(AUM/GDP) ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ร้อยละ 21
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมกองทุนของไทยยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีกมาก ถ้าผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและตลาดทุนมีการพัฒนามากขึ้น ลองดูตารางนี้เปรียบเทียบข้อมูลของประเทศไทยกับต่างประเทศนะครับ
ที่นี้ ลองทายซิครับว่าผู้ลงทุนในกองทุนรวมของไทยส่วนใหญ่เขาลงทุนในกองทุนประเภทไหน จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ณ 30 กันยายน 2552 ผู้ลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในรูปแบบกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุสั้นๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 64 ของมูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในขณะที่การลงทุนในกองทุนหุ้นยังมีอยู่เป็นส่วนน้อย คิดเป็นเพียงร้อยละ 18 และถ้าเราเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั่วโลก ขนาดสินทรัพย์ของกองทุนตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 47 และกองทุนหุ้นคิดเป็นร้อยละ 36 แสดงให้เห็นว่าคนในโลกที่ลงทุนส่วนใหญ่มีความสามารถในการยอมรับต่อความเสี่ยงเรื่องของความผันผวนของผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากกว่านักลงทุนในบ้านเรา ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความรู้และความเข้าใจในหลักการลงทุนที่มีมากกว่านักลงทุนบ้านเรา
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่น่าชื่นใจนะครับที่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการบางอย่างของอุตสสาหกรรมกองทุนรวมของไทย ในด้านต่างๆ ดังนี้
1)ความหลากหลายในประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนมีมากขึ้นอาทิ น้ำมัน ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ สินค้าเกษตร ดัชนีในต่างประเทศ และผู้ลงทุนไทยก็ให้การตอบรับประเภทสินทรัพย์ใหม่ๆ เป็นอย่างดี
2)ผู้ลงทุนมีความรู้และมีการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เห็นได้จากสัดส่วนการลงทุนในการลงทุนทางเลือกมีมากขึ้น โดยเฉพาะกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการออกและเสนอขายประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย ส่งผลให้มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดถึง 25 กองทุน
3)ผู้ลงทุนมีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของสถาบันการเงินต่างประเทศ กองทุนพันธบัตรเกาหลี กองทุนพันธบัตรออสเตรเลีย เชื่อไหมครับ เงินลงทุนในต่างประเทศดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินถึง 10,982 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 21 ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเลยทีเดียว
ผมเชื่อนะครับว่าถ้าทั้งบริษัทจัดการมีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายควบคู่ไปกับการให้ความรู้ในหลักการลงทุนขั้นพื้นฐานเรื่องผลตอบแทนและความเสี่ยง รวมทั้งผู้ลงทุนใส่ใจที่จะแสวงหาแหล่งที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นนอกจากการฝากเงินกับธนาคาร มูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมและการลงทุนในตลาดหุ้นจะเติบโตไปได้อีกมาก
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
คุณคิดว่าคนไทยเลือกลงทุนในกองทุนมากน้อยแค่ไหนครับ? จากประชากรประมาณ 66 ล้านคน มีผู้ลงทุนในกองทุนรวมประมาณ 2.2 ล้านคน และมีผู้ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกประมาณ 2.1 ล้านคน ซึ่งอาจเป็นคนกลุ่มเดียวกันก็ได้ ถ้าประมาณอย่างคร่าวๆ ที่ 3.5 ล้านคนก็คิดเป็นเพียง 5.3% ของคนไทย
และเมื่อเปรียบเทียบอุตสาหกรรมกองทุนรวมของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ การลงทุนในกองทุนรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของประเทศไทย(AUM/GDP) ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ร้อยละ 21
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมกองทุนของไทยยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีกมาก ถ้าผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและตลาดทุนมีการพัฒนามากขึ้น ลองดูตารางนี้เปรียบเทียบข้อมูลของประเทศไทยกับต่างประเทศนะครับ
ที่นี้ ลองทายซิครับว่าผู้ลงทุนในกองทุนรวมของไทยส่วนใหญ่เขาลงทุนในกองทุนประเภทไหน จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ณ 30 กันยายน 2552 ผู้ลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในรูปแบบกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุสั้นๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 64 ของมูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในขณะที่การลงทุนในกองทุนหุ้นยังมีอยู่เป็นส่วนน้อย คิดเป็นเพียงร้อยละ 18 และถ้าเราเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั่วโลก ขนาดสินทรัพย์ของกองทุนตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 47 และกองทุนหุ้นคิดเป็นร้อยละ 36 แสดงให้เห็นว่าคนในโลกที่ลงทุนส่วนใหญ่มีความสามารถในการยอมรับต่อความเสี่ยงเรื่องของความผันผวนของผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากกว่านักลงทุนในบ้านเรา ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความรู้และความเข้าใจในหลักการลงทุนที่มีมากกว่านักลงทุนบ้านเรา
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่น่าชื่นใจนะครับที่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการบางอย่างของอุตสสาหกรรมกองทุนรวมของไทย ในด้านต่างๆ ดังนี้
1)ความหลากหลายในประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนมีมากขึ้นอาทิ น้ำมัน ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ สินค้าเกษตร ดัชนีในต่างประเทศ และผู้ลงทุนไทยก็ให้การตอบรับประเภทสินทรัพย์ใหม่ๆ เป็นอย่างดี
2)ผู้ลงทุนมีความรู้และมีการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เห็นได้จากสัดส่วนการลงทุนในการลงทุนทางเลือกมีมากขึ้น โดยเฉพาะกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการออกและเสนอขายประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย ส่งผลให้มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดถึง 25 กองทุน
3)ผู้ลงทุนมีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของสถาบันการเงินต่างประเทศ กองทุนพันธบัตรเกาหลี กองทุนพันธบัตรออสเตรเลีย เชื่อไหมครับ เงินลงทุนในต่างประเทศดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินถึง 10,982 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 21 ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเลยทีเดียว
ผมเชื่อนะครับว่าถ้าทั้งบริษัทจัดการมีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายควบคู่ไปกับการให้ความรู้ในหลักการลงทุนขั้นพื้นฐานเรื่องผลตอบแทนและความเสี่ยง รวมทั้งผู้ลงทุนใส่ใจที่จะแสวงหาแหล่งที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นนอกจากการฝากเงินกับธนาคาร มูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมและการลงทุนในตลาดหุ้นจะเติบโตไปได้อีกมาก