คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ธีรนาถ รุจิเมธาภาส
กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทิสโก้
เมื่อพูดถึงการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ เดี๋ยวนี้เรียกกันจนติดปากว่ากองทุนรวม RMF นั้น สำหรับแฟนประจำ RMF ก็คงทราบว่า บลจ. ต่างๆ จะมีนโยบายการลงทุนมาให้เลือกกันหลากหลาย ทั้งที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้น ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุนก็จะน้อยมาก แตกต่างกันตามนโยบายการลงทุนที่ผู้ลงทุนก็จะต้องดูหนังสือชี้ชวนฯ ก่อนตัดสินใจหยอดเงินเข้ากองทุนประเภทต่างๆ ที่พูดแบบนี้เพราะหากเป็นการลงทุนเพื่อเกษียณหรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการออมระยะยาว ลำพังจะซื้อแต่กองทุนตราสารหนี้อย่างเดียวซึ่งแม้ดูเหมือนเงินต้นจะมั่นคงดีแต่อาจจะได้ผลตอบแทนไม่มาก ครั้นจะลงทุนแต่กองทุนหุ้นอย่างเดียวแม้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนดี (เช่นปีนี้) แต่ในระยะเวลาสั้นๆ ก็น่าตื่นเต้นเกินกว่าเหตุ
สำหรับผู้ลงทุนหลายท่าน จึงนิยมจัดสรรเงินออมเพื่อเกษียณไปลงทุนในกองทุนผสม หรือกองทุนหุ้นบ้าง มากน้อย ก็แล้วแต่ความอดทนต่อความเสี่ยง ระยะเวลาในการลงทุน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผลตอบแทนโดยรวมๆ ของเงินออมที่กระจายไปลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ จะช่วยให้เงินออมของเราพอกพูนในอัตราผลตอบแทนที่น่าพอใจ นอกจากนี้ การลงทุนในกองทุนรวม RMF นั้น ผู้ลงทุนยังสามารถ Switch กองทุนข้ามนโยบายหากมีมุมมองที่เป็นบวกกับการลงทุนประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษได้อย่างไม่ยุ่งยากอะไรเลย
เช่น หากท่านมองว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสนี้ ซึ่งผลกำไร ตลอดจนราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ น่าจะดีขึ้น ท่านอาจจะ Switch เงินลงทุน จากกองทุนตราสารหนี้ RMF มาเป็นกองทุนหุ้น เพิ่มก็ได้ หรือในทำนองกลับกันหากท่านมีมุมมองที่แย่กับการลงทุนในหุ้น หรือกำไรหุ้นมากพอแล้ว และอยากลดความเสี่ยงการลงทุนในหุ้นก็อาจจะ Switch จากกองทุนรวมหุ้น RMF มาเป็นกองทุนตราสารหนี้ RMF ก็ได้ การ Switch นี้ จะว่าไปก็คือการขายหน่วยลงทุน RMF กองทุนหนึ่ง ไปเข้าซื้อหน่วยลงทุนอีกกองทุน RMF อีกกองหนึ่ง ซึ่งท่านต้องแจ้งให้กับ บลจ. ของท่านทราบถึงความประสงค์ของท่านอย่างชัดเจน เพราะเงินจะได้โอนเข้ากองทุนปลายทางได้ทันเวลา (ไม่เกิน 5 วันทำการ) มิฉะนั้น เดี๋ยวจะไปผิดกฎของกรมสรรพากรนั่นเอง
สำหรับตัวอย่างข้างล่าง เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่อาจจะพอทำให้ท่านเห็นเป็นแนวทางในการจัดสรรเงินออมยามเกษียณ โดยสมมติว่า นายสมชาย อายุ 40 ปี ทำงานบริษัทเอกชน มีความต้องการที่จะสร้างเงินออมในวัยเกษียณสักก้อนคือประมาณ 7 ล้านบาท เพื่อหวังว่าหากตนเองอายุ 60 ปี และไม่ได้ทำงานแล้วก็จะได้มีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็นนั่นเอง ในกรณีนี้ สิ่งที่นายสมชายต้องทำคือ
1. ประเมินว่าตนเองมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ ถ้ามีตอนนี้มีเท่าไร และคาดว่าเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบจากนายจ้างจะได้อีกเท่าไร สมมติว่า ตอนนี้ตนเองเงินสะสมกับเงินสมทบได้มาปีละ 36,000 บาท อีก 20 ปีที่ทำงานก็อาจจะเก็บเพิ่มได้อีกอย่างน้อยๆ ก็ 720,000 บาท (36,000 บาท คูณอายุงานที่เหลืออีก 20 ปี) หากรวมเงินของเก่าที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มทำงานที่มีอยู่ 400,000 บาท ก็คาดว่า นายสมชาย คงจะมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 1,120,000 ล้านบาท
2. เป้าหมายที่ต้องออมเงินเอง ก็คือต้องมีเงินออมตอนอายุ 60 ปี 7 ล้านบาท ก็จะเหลือเป้าหมายที่ 5,880,000 บาทแล้ว (เอา 7,000,000 บาท ลบ 1,120,000 บาท) เพราะมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาช่วย คราวนี้ก็ต้องมาคิดว่าตนเองจะซื้อกองทุนรวม RMF ประมาณปีละเท่าไร ข้อนี้สำคัญเพราะต้องคำนวณให้ไม่เกินเงื่อนไขที่ลดหย่อน สมมติว่าปีๆ หนึ่งควรซื้อไม่เกิน 100,000 บาท การที่คุณสมชายจะมีเงินออมสะสมรวมกันได้ 5,880,000 บาทข้างต้น จะต้องได้ผลตอบแทนเท่าไร
3. ถ้าโจทย์เป็นแบบนี้ ใช้เครื่องคิดเลขเคาะออกมาก็จะคำนวณได้ว่าผลตอบแทนที่ควรได้คือ 9.44 % ต่อปี หากเป็นเช่นนี้ จากประสบการณ์ของผม การลงทุนเฉพาะในกองทุนตราสารหนี้ RMF คงไม่พอ อาจจะต้องผสมการลงทุนในกองทุน RMF หุ้นด้วย เรียกว่า ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการที่จะมีเงินออมที่ไม่พอใช้ ก็ต้องมาเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหน่อย หรือพูดง่าย ๆ ว่าเสี่ยงกันวันนี้ยังมีโอกาสลุ้นในอนาคตนั่นเอง
4.ส่วนการจะจัดสรรเงินออมใน RMF หุ้น เท่าไร หรือ RMF ตราสารหนี้ เท่าไร ผู้ลงทุน หรือคุณสมชายเอง ก็ต้องติดตามข่าวสาร หรือขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักวางแผนการเงินว่า ในแต่ละสถานการณ์ควรจัดสรรเงินลงทุนอย่างไร พร้อมทั้งต้องติดตามผลการลงทุนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
เป็นอย่างไรครับ การวางแผนการลงทุนในกองทุน RMF นับเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะท่านต้องเลือกจัดสรรเงินลงทุนเพื่อตอบโจทย์เฉพาะตนที่แตกต่างจากผู้ลงทุนท่านอื่นๆ และตอนนี้ ก็มีข่าวดีมาบอก หากท่านใดที่สนใจหรือจัดสรรเงินลงทุนกองทุน RMF ในหุ้นไทยกันไปบ้างแล้ว แต่อยากจะกระจายการลงทุนไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศบ้าง ตอนนี้ บลจ.ทิสโก้ กำลังเสนอขาย “กองทุนเปิด ทิสโก้ เอชีย แปซิฟิค เอ็กซ์ เจแปน เพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียประมาณ 12 ประเทศ อาทิเช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ออสเตรเลีย อินเดีย เป็นต้น โดยเสนอขายในราคาจองซื้อที่ 10 บาทต่อหน่วย จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 52 นี้ หากท่านใดต้องการหนังสือชี้ชวนหรือรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ บลจ.ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ ได้ทุกวันในเวลาทำการ ก็เรียนมาให้ทราบทั่วกันครับ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
โดย ธีรนาถ รุจิเมธาภาส
กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทิสโก้
เมื่อพูดถึงการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ เดี๋ยวนี้เรียกกันจนติดปากว่ากองทุนรวม RMF นั้น สำหรับแฟนประจำ RMF ก็คงทราบว่า บลจ. ต่างๆ จะมีนโยบายการลงทุนมาให้เลือกกันหลากหลาย ทั้งที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้น ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุนก็จะน้อยมาก แตกต่างกันตามนโยบายการลงทุนที่ผู้ลงทุนก็จะต้องดูหนังสือชี้ชวนฯ ก่อนตัดสินใจหยอดเงินเข้ากองทุนประเภทต่างๆ ที่พูดแบบนี้เพราะหากเป็นการลงทุนเพื่อเกษียณหรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการออมระยะยาว ลำพังจะซื้อแต่กองทุนตราสารหนี้อย่างเดียวซึ่งแม้ดูเหมือนเงินต้นจะมั่นคงดีแต่อาจจะได้ผลตอบแทนไม่มาก ครั้นจะลงทุนแต่กองทุนหุ้นอย่างเดียวแม้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนดี (เช่นปีนี้) แต่ในระยะเวลาสั้นๆ ก็น่าตื่นเต้นเกินกว่าเหตุ
สำหรับผู้ลงทุนหลายท่าน จึงนิยมจัดสรรเงินออมเพื่อเกษียณไปลงทุนในกองทุนผสม หรือกองทุนหุ้นบ้าง มากน้อย ก็แล้วแต่ความอดทนต่อความเสี่ยง ระยะเวลาในการลงทุน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผลตอบแทนโดยรวมๆ ของเงินออมที่กระจายไปลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ จะช่วยให้เงินออมของเราพอกพูนในอัตราผลตอบแทนที่น่าพอใจ นอกจากนี้ การลงทุนในกองทุนรวม RMF นั้น ผู้ลงทุนยังสามารถ Switch กองทุนข้ามนโยบายหากมีมุมมองที่เป็นบวกกับการลงทุนประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษได้อย่างไม่ยุ่งยากอะไรเลย
เช่น หากท่านมองว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสนี้ ซึ่งผลกำไร ตลอดจนราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ น่าจะดีขึ้น ท่านอาจจะ Switch เงินลงทุน จากกองทุนตราสารหนี้ RMF มาเป็นกองทุนหุ้น เพิ่มก็ได้ หรือในทำนองกลับกันหากท่านมีมุมมองที่แย่กับการลงทุนในหุ้น หรือกำไรหุ้นมากพอแล้ว และอยากลดความเสี่ยงการลงทุนในหุ้นก็อาจจะ Switch จากกองทุนรวมหุ้น RMF มาเป็นกองทุนตราสารหนี้ RMF ก็ได้ การ Switch นี้ จะว่าไปก็คือการขายหน่วยลงทุน RMF กองทุนหนึ่ง ไปเข้าซื้อหน่วยลงทุนอีกกองทุน RMF อีกกองหนึ่ง ซึ่งท่านต้องแจ้งให้กับ บลจ. ของท่านทราบถึงความประสงค์ของท่านอย่างชัดเจน เพราะเงินจะได้โอนเข้ากองทุนปลายทางได้ทันเวลา (ไม่เกิน 5 วันทำการ) มิฉะนั้น เดี๋ยวจะไปผิดกฎของกรมสรรพากรนั่นเอง
สำหรับตัวอย่างข้างล่าง เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่อาจจะพอทำให้ท่านเห็นเป็นแนวทางในการจัดสรรเงินออมยามเกษียณ โดยสมมติว่า นายสมชาย อายุ 40 ปี ทำงานบริษัทเอกชน มีความต้องการที่จะสร้างเงินออมในวัยเกษียณสักก้อนคือประมาณ 7 ล้านบาท เพื่อหวังว่าหากตนเองอายุ 60 ปี และไม่ได้ทำงานแล้วก็จะได้มีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็นนั่นเอง ในกรณีนี้ สิ่งที่นายสมชายต้องทำคือ
1. ประเมินว่าตนเองมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ ถ้ามีตอนนี้มีเท่าไร และคาดว่าเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบจากนายจ้างจะได้อีกเท่าไร สมมติว่า ตอนนี้ตนเองเงินสะสมกับเงินสมทบได้มาปีละ 36,000 บาท อีก 20 ปีที่ทำงานก็อาจจะเก็บเพิ่มได้อีกอย่างน้อยๆ ก็ 720,000 บาท (36,000 บาท คูณอายุงานที่เหลืออีก 20 ปี) หากรวมเงินของเก่าที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มทำงานที่มีอยู่ 400,000 บาท ก็คาดว่า นายสมชาย คงจะมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 1,120,000 ล้านบาท
2. เป้าหมายที่ต้องออมเงินเอง ก็คือต้องมีเงินออมตอนอายุ 60 ปี 7 ล้านบาท ก็จะเหลือเป้าหมายที่ 5,880,000 บาทแล้ว (เอา 7,000,000 บาท ลบ 1,120,000 บาท) เพราะมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาช่วย คราวนี้ก็ต้องมาคิดว่าตนเองจะซื้อกองทุนรวม RMF ประมาณปีละเท่าไร ข้อนี้สำคัญเพราะต้องคำนวณให้ไม่เกินเงื่อนไขที่ลดหย่อน สมมติว่าปีๆ หนึ่งควรซื้อไม่เกิน 100,000 บาท การที่คุณสมชายจะมีเงินออมสะสมรวมกันได้ 5,880,000 บาทข้างต้น จะต้องได้ผลตอบแทนเท่าไร
3. ถ้าโจทย์เป็นแบบนี้ ใช้เครื่องคิดเลขเคาะออกมาก็จะคำนวณได้ว่าผลตอบแทนที่ควรได้คือ 9.44 % ต่อปี หากเป็นเช่นนี้ จากประสบการณ์ของผม การลงทุนเฉพาะในกองทุนตราสารหนี้ RMF คงไม่พอ อาจจะต้องผสมการลงทุนในกองทุน RMF หุ้นด้วย เรียกว่า ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการที่จะมีเงินออมที่ไม่พอใช้ ก็ต้องมาเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหน่อย หรือพูดง่าย ๆ ว่าเสี่ยงกันวันนี้ยังมีโอกาสลุ้นในอนาคตนั่นเอง
4.ส่วนการจะจัดสรรเงินออมใน RMF หุ้น เท่าไร หรือ RMF ตราสารหนี้ เท่าไร ผู้ลงทุน หรือคุณสมชายเอง ก็ต้องติดตามข่าวสาร หรือขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักวางแผนการเงินว่า ในแต่ละสถานการณ์ควรจัดสรรเงินลงทุนอย่างไร พร้อมทั้งต้องติดตามผลการลงทุนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
เป็นอย่างไรครับ การวางแผนการลงทุนในกองทุน RMF นับเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะท่านต้องเลือกจัดสรรเงินลงทุนเพื่อตอบโจทย์เฉพาะตนที่แตกต่างจากผู้ลงทุนท่านอื่นๆ และตอนนี้ ก็มีข่าวดีมาบอก หากท่านใดที่สนใจหรือจัดสรรเงินลงทุนกองทุน RMF ในหุ้นไทยกันไปบ้างแล้ว แต่อยากจะกระจายการลงทุนไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศบ้าง ตอนนี้ บลจ.ทิสโก้ กำลังเสนอขาย “กองทุนเปิด ทิสโก้ เอชีย แปซิฟิค เอ็กซ์ เจแปน เพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียประมาณ 12 ประเทศ อาทิเช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ออสเตรเลีย อินเดีย เป็นต้น โดยเสนอขายในราคาจองซื้อที่ 10 บาทต่อหน่วย จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 52 นี้ หากท่านใดต้องการหนังสือชี้ชวนหรือรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ บลจ.ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ ได้ทุกวันในเวลาทำการ ก็เรียนมาให้ทราบทั่วกันครับ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน