"ณรงค์ชัย" หนุนรัฐปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ชู "Private Equity" ดึงเงินร่วมลงทุน รับการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกของเอเชีย ด้าน "พิชิต" ชง 3 แนวทาง ปลดล๊อกอุปสรรค เปิดช่องลงทุนสะดวกขึ้น หวังดึงบริษัทเข้าจดทะเบียน ชี้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นระยะยาว
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา "การลงทุนทางเลือก โอกาสใหม่ของการลงทุน” ซึ่งจัดขึ้นโดยบลจ.เอ็มเอฟซี ว่า วิกฤติเศรษฐกิจปี 2008-2009 เป็นจุดเปลี่ยนของโลกอย่างชัดเจน โดยเอเชียได้กลายมาเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกแล้วในปัจจุบัน ประเทศไทยเองก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยอาศัยจุดแข่งในเรื่องของทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นศูนย์กลางของเอเชียมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ การจะเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนั้นจำเป็นต้องมีการลงทุนติดตามมา แต่ตัวเลขการลงทุนของไทยอยู่ในระดับที่แย่มาก โดยในปี 2007 การลงทุนภาคเอกชนโต 0.6% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐโต 3.4% ปี2008 การลงทุนภาคเอกชนโต 3.2% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐติดลบ 4.8% และในไตรมาสที่1/09 การลงทุนภาคเอกชนยังติดลบ 17.7% เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐที่ติดลบ 9.1% ซึ่งถือว่าเป็นระดับการลงทุนที่ต่ำมาก ซึ่งอย่างแย่ที่สุดการลงทุนของประเทศควรจะอยู่ในระดับเดียวกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างน้อย ทั้งที่ประเทศไทยยังมีเงินสภาพคล่องในระบบอยู่ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท มีทุนสำรองระหว่างประเทศสูง 135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเด็นคือทำอย่างไรจึงจะนำเงินที่มีอยู่มาลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ได้
นายณรงค์ชัย ยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังต้องการเม็ดเงินลงทุนในรูปแบบใดก็ตามเพื่อมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย หนึ่งในนั้นก็คือ รูปแบบการลงทุนในลักษณะของนิติบุคคลเอกชน (Private Equity) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถจะนำมาใช้เพื่อดึงเอาเม็ดเงินของคนที่มีเงินไปสู่คนที่ต้องการใช้เงินได้เป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของภาครัฐมีการลงทุนผ่านโครงการไทยเข้มแข็งแล้ว ในส่วนของภาคเอกชนก็ควรกระตุ้นให้มีการลงทุนผ่าน Private Equity ให้มากขึ้น
**ชง 3 แนวทางเปิดช่องร่วมทุนสะดวก
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนในรูปแบบ Private Equity มีข้อจำกัดหลายเรื่อง จึงจะนำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายที่เป็นข้อจำกัด 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การระดมทุน 2.หลักเกณฑ์การลงทุนและ3.การออกจากการลงทุนของ Private Equity ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยให้การลงทุนรูปแบบนี้เติบโตและเป็นเครื่องมือช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาได้
สำหรับการระดมทุนของ Private Equity ปัจจุบันพบว่าให้ผลตอบแทนในระยะยาวค่อนข้างสูง ขณะที่โอกาสได้ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินลงทุนมีเพียง 15% เท่านั้น แต่การลงทุนต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น ภาครัฐต้องเอื้อให้การลงทุนของนักลงทุนมีต้นทุนต่ำลง เช่น อาจยกเว้นภาษีเช่นเดียวกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนมีข้อจำกัดที่ปัจจุบันกำหนดให้ลงทุนได้ไม่เกิน 25% ของพอร์ตลงทุนและเงินที่ลงทุนจะต้องไม่เกิน 25% ของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งปัจจุบันพบว่าการลงทุนของ Private Equity อาจต้องถือหุ้นเกิน 25% เพื่อให้บริษัทดีขึ้นและรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของเงินได้
ประเด็นสุดท้ายการออกจากการลงทุน หากสามารถเปิดให้ กองทุน Private Equity เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนถอนเงินออกจากการลงทุนได้ง่ายขึ้น หรือหากเปิดให้กองทุนสามารถลงทุนในกองทุน Private Equity ได้จะช่วยให้สภาพคล่องของการซื้อขายสูงขึ้น การเข้าออกของนักลงทุนจะมีมากขึ้น
“ปัจจุบันเราไม่มีเครื่องมือการลงทุนที่ดีพอ ซึ่งการนำ Private Equity มาใช้จะเป็นประโยชน์ระยะยาว จะทำให้บริษัทจดทะเบียนมีมากขึ้น ทำให้ตลาดทุนใหญ่ขึ้น แต่ทางการก็แก้กฎหมายให้การลงทุนง่ายขึ้น เพื่อประโยชน์ระระยาว” นายพิชิตกล่าว
นอกจากนี้พบว่าปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีประมาณ 500 บริษัท ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับนิติบุคคลที่จดทะเบียนอยู่ในไทยจำนวน 5 แสนบริษัท ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยจัดรูปแบบให้บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาระดมทุน จึงไม่เอื้อให้บริษัทขนาดเล็กที่มีอยู่จำนวนมากเข้าตลาด ซึ่งหากทำให้ Private Equity คล่องตัวขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็กเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ผ่านกองทุน Private Equity ที่ลงทุนอยู่ในบริษัทดังกล่าวหากกองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะโตเร็วหากมีกฎหมายออกมารองรับการลงทุนรูปแบบ Private Equity ที่มากกว่านี้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการ ขณะที่นักลงทุนจะมีสินทรัพย์ที่ลงทุนได้เพิ่มขึ้น ทำให้แง่การลงทุนจะทำได้ง่ายขึ้น
นายพิชิต กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุน Private Equity ของทั่วโลกมีมูลค่าทั้งสิ้น 80 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก หรือใหญ่กว่า 9 เท่าเมื่อเทียบกับจีดีพีของไทยซึ่งมีมูลค่า 9 ล้านล้านบาท และจากจำนวนเงินลงทุน 80 ล้านล้านบาทเป็นวงเงินที่รอลงทุนอยู่ประมาณ 40% โดยนักลงทุนสถาบันต่างประเทศมองว่าการลงทุน Private Equity เป็นการลงทุนทางเลือกที่ขาดไม่ได้ และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เช่น คาลเปอร์ส ซึ่งเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเองมีเงินลงทุน Private Equity ประมาณ 11% ของพอร์ตลงทุนและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 20% ขณะที่มูลนิธิมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งนโยบายการลงทุนค่อนข้างอนุรักษ์นิยมก็มีการลงทุนใน Private Equity ประมาณ 17% ของพอร์ตลงทุนและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 25%
ขณะที่ภาครัฐบาลเองก็ยังไม่มีการลงทุนรูปแบบนี้ แม้กฎหมายเปิดให้รัฐสามารถลงทุนได้ผ่านรูปแบบของกองทุนรวม นิติบุคคลร่วมทุนและบริษัททั่วไป เนื่องจากพบว่า Private Equity ยังมีปัญหาอยู่ จึงอยากเห็นกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ เป็นการลงทุนผ่านรูปแบบ Private Equity อย่างแรก
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา "การลงทุนทางเลือก โอกาสใหม่ของการลงทุน” ซึ่งจัดขึ้นโดยบลจ.เอ็มเอฟซี ว่า วิกฤติเศรษฐกิจปี 2008-2009 เป็นจุดเปลี่ยนของโลกอย่างชัดเจน โดยเอเชียได้กลายมาเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกแล้วในปัจจุบัน ประเทศไทยเองก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยอาศัยจุดแข่งในเรื่องของทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นศูนย์กลางของเอเชียมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ การจะเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนั้นจำเป็นต้องมีการลงทุนติดตามมา แต่ตัวเลขการลงทุนของไทยอยู่ในระดับที่แย่มาก โดยในปี 2007 การลงทุนภาคเอกชนโต 0.6% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐโต 3.4% ปี2008 การลงทุนภาคเอกชนโต 3.2% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐติดลบ 4.8% และในไตรมาสที่1/09 การลงทุนภาคเอกชนยังติดลบ 17.7% เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐที่ติดลบ 9.1% ซึ่งถือว่าเป็นระดับการลงทุนที่ต่ำมาก ซึ่งอย่างแย่ที่สุดการลงทุนของประเทศควรจะอยู่ในระดับเดียวกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างน้อย ทั้งที่ประเทศไทยยังมีเงินสภาพคล่องในระบบอยู่ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท มีทุนสำรองระหว่างประเทศสูง 135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเด็นคือทำอย่างไรจึงจะนำเงินที่มีอยู่มาลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ได้
นายณรงค์ชัย ยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังต้องการเม็ดเงินลงทุนในรูปแบบใดก็ตามเพื่อมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย หนึ่งในนั้นก็คือ รูปแบบการลงทุนในลักษณะของนิติบุคคลเอกชน (Private Equity) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถจะนำมาใช้เพื่อดึงเอาเม็ดเงินของคนที่มีเงินไปสู่คนที่ต้องการใช้เงินได้เป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของภาครัฐมีการลงทุนผ่านโครงการไทยเข้มแข็งแล้ว ในส่วนของภาคเอกชนก็ควรกระตุ้นให้มีการลงทุนผ่าน Private Equity ให้มากขึ้น
**ชง 3 แนวทางเปิดช่องร่วมทุนสะดวก
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนในรูปแบบ Private Equity มีข้อจำกัดหลายเรื่อง จึงจะนำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายที่เป็นข้อจำกัด 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การระดมทุน 2.หลักเกณฑ์การลงทุนและ3.การออกจากการลงทุนของ Private Equity ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยให้การลงทุนรูปแบบนี้เติบโตและเป็นเครื่องมือช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาได้
สำหรับการระดมทุนของ Private Equity ปัจจุบันพบว่าให้ผลตอบแทนในระยะยาวค่อนข้างสูง ขณะที่โอกาสได้ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินลงทุนมีเพียง 15% เท่านั้น แต่การลงทุนต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น ภาครัฐต้องเอื้อให้การลงทุนของนักลงทุนมีต้นทุนต่ำลง เช่น อาจยกเว้นภาษีเช่นเดียวกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนมีข้อจำกัดที่ปัจจุบันกำหนดให้ลงทุนได้ไม่เกิน 25% ของพอร์ตลงทุนและเงินที่ลงทุนจะต้องไม่เกิน 25% ของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งปัจจุบันพบว่าการลงทุนของ Private Equity อาจต้องถือหุ้นเกิน 25% เพื่อให้บริษัทดีขึ้นและรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของเงินได้
ประเด็นสุดท้ายการออกจากการลงทุน หากสามารถเปิดให้ กองทุน Private Equity เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนถอนเงินออกจากการลงทุนได้ง่ายขึ้น หรือหากเปิดให้กองทุนสามารถลงทุนในกองทุน Private Equity ได้จะช่วยให้สภาพคล่องของการซื้อขายสูงขึ้น การเข้าออกของนักลงทุนจะมีมากขึ้น
“ปัจจุบันเราไม่มีเครื่องมือการลงทุนที่ดีพอ ซึ่งการนำ Private Equity มาใช้จะเป็นประโยชน์ระยะยาว จะทำให้บริษัทจดทะเบียนมีมากขึ้น ทำให้ตลาดทุนใหญ่ขึ้น แต่ทางการก็แก้กฎหมายให้การลงทุนง่ายขึ้น เพื่อประโยชน์ระระยาว” นายพิชิตกล่าว
นอกจากนี้พบว่าปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีประมาณ 500 บริษัท ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับนิติบุคคลที่จดทะเบียนอยู่ในไทยจำนวน 5 แสนบริษัท ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยจัดรูปแบบให้บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาระดมทุน จึงไม่เอื้อให้บริษัทขนาดเล็กที่มีอยู่จำนวนมากเข้าตลาด ซึ่งหากทำให้ Private Equity คล่องตัวขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็กเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ผ่านกองทุน Private Equity ที่ลงทุนอยู่ในบริษัทดังกล่าวหากกองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะโตเร็วหากมีกฎหมายออกมารองรับการลงทุนรูปแบบ Private Equity ที่มากกว่านี้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการ ขณะที่นักลงทุนจะมีสินทรัพย์ที่ลงทุนได้เพิ่มขึ้น ทำให้แง่การลงทุนจะทำได้ง่ายขึ้น
นายพิชิต กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุน Private Equity ของทั่วโลกมีมูลค่าทั้งสิ้น 80 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก หรือใหญ่กว่า 9 เท่าเมื่อเทียบกับจีดีพีของไทยซึ่งมีมูลค่า 9 ล้านล้านบาท และจากจำนวนเงินลงทุน 80 ล้านล้านบาทเป็นวงเงินที่รอลงทุนอยู่ประมาณ 40% โดยนักลงทุนสถาบันต่างประเทศมองว่าการลงทุน Private Equity เป็นการลงทุนทางเลือกที่ขาดไม่ได้ และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เช่น คาลเปอร์ส ซึ่งเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเองมีเงินลงทุน Private Equity ประมาณ 11% ของพอร์ตลงทุนและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 20% ขณะที่มูลนิธิมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งนโยบายการลงทุนค่อนข้างอนุรักษ์นิยมก็มีการลงทุนใน Private Equity ประมาณ 17% ของพอร์ตลงทุนและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 25%
ขณะที่ภาครัฐบาลเองก็ยังไม่มีการลงทุนรูปแบบนี้ แม้กฎหมายเปิดให้รัฐสามารถลงทุนได้ผ่านรูปแบบของกองทุนรวม นิติบุคคลร่วมทุนและบริษัททั่วไป เนื่องจากพบว่า Private Equity ยังมีปัญหาอยู่ จึงอยากเห็นกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ เป็นการลงทุนผ่านรูปแบบ Private Equity อย่างแรก