สำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่มเติมเกณฑ์ตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เปิดทางกองทุน ลงทุนโครงการตั้งแต่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แถมใจดีให้กู้ไม่จำกัด แต่ต้องให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ร่วมด้วย เปิดรับฟังความคิดเห็นจาก บลจ. ถึง 30 ตุลาคมนี้
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) เพิ่มเติม โดยมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา
เช่น กองทุนรวมสามารถลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างหรือยังก่อสร้างไม่เสร็จได้ และสามารถกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำกัดอัตราส่วน เป็นต้น โดยบริษัทจัดการต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทำรายละเอียดโครงการจัดการและหนังสือชี้ชวน เพื่อยื่นขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อสำนักงาน ทั้งนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึง 30 ตุลาคม 2552
ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์เดิมภายหลังจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม 2551 โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงในหลายประเด็น ได้แก่
การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยลงทุน การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สิน การลงทุนในทรัพย์สินในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างหรือยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ (Greenfield projects) อัตราส่วนการกู้ยืมเงิน และขอบเขตการดำเนินงานและการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม เป็นต้น ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างหลักเกณฑ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่จะออกใช้บังคับมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นซึ่งเป็นรายละเอียดของร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ที่ www.sec.or.th และขอเชิญชวนผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและผู้ที่สนใจ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้ที่ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน โทรศัพท์ 0-2695-9640 หรือ e-mail : chanont@sec.or.th
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ หลายบลจ.ให้ความสนใจตั้ง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ บลจ.กรุงไทย ที่กำลังหารือกับบริษัท การทางพิเศษเเห่งประเทศไทย ในการจัดตั้งอินฟราสตรั๊คเจอร์ฟันด์ก่อสร้างทางด่วนบางซื่อ-ตลิ่งชันภายใต้ชื่อโครงการทางด่วนศรีรัตน์ มูลค่าโครงการ 29,000 ล้านบาท
โดยรายละเอียดของโครงการดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายค่าเวรคืนที่ดินให้เเก่ประชาชนจำนวน 9,000 ล้านบาท เเละบลจ.กรุงไทยจะเป็นผู้ระดมเงินทุนจำนวน 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะระดมทุนได้ในไตรมาส 2 หรือไตรมาที่ 3 ปี 2553 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวจะต้องรอการอนุมัติจาก ก.ล.ต.
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการทางด่วนศรีรัตน์จะมีรถยนต์ใช้ประมาณ 80,000 คันต่อวัน ซึ่งทางด่วนดังกล่าว จะคู่ขนานไปกับรถไฟฟ้า BTSสายสีแดง ที่สำคัญกองทุนนี้จะเป็นเเบบ freehold ด้วย
ล่าสุด นายสมชัย บุญนำศิริ กล่าวว่า ความคืบหน้าการตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคที่ได้คุยกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนของกระทรวงการคลังที่จะต้องของบประมาณเพื่อเวรคืนที่ดินในการก่อสร้าง ซึ่งระยะเวลาที่ดำเนินงานทั้งหมดนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังเเละทางการพิเศษ
โดยในส่วนของบลจ.กรุงไทยนั้นคงจะต้องเสนอเเผนงานว่าจะดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้ทางการพิเศษพิจราณารวมกับบลจ.อื่นที่เสนอเเผนงานด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันทางบลจ.คงต้อง ก.ล.ต. ออกกฎเเละข้อบังคับเกี่ยวกับการออกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) เพิ่มเติม โดยมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา
เช่น กองทุนรวมสามารถลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างหรือยังก่อสร้างไม่เสร็จได้ และสามารถกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำกัดอัตราส่วน เป็นต้น โดยบริษัทจัดการต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทำรายละเอียดโครงการจัดการและหนังสือชี้ชวน เพื่อยื่นขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อสำนักงาน ทั้งนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึง 30 ตุลาคม 2552
ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์เดิมภายหลังจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม 2551 โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงในหลายประเด็น ได้แก่
การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยลงทุน การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สิน การลงทุนในทรัพย์สินในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างหรือยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ (Greenfield projects) อัตราส่วนการกู้ยืมเงิน และขอบเขตการดำเนินงานและการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม เป็นต้น ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างหลักเกณฑ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่จะออกใช้บังคับมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นซึ่งเป็นรายละเอียดของร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ที่ www.sec.or.th และขอเชิญชวนผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและผู้ที่สนใจ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้ที่ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน โทรศัพท์ 0-2695-9640 หรือ e-mail : chanont@sec.or.th
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ หลายบลจ.ให้ความสนใจตั้ง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ บลจ.กรุงไทย ที่กำลังหารือกับบริษัท การทางพิเศษเเห่งประเทศไทย ในการจัดตั้งอินฟราสตรั๊คเจอร์ฟันด์ก่อสร้างทางด่วนบางซื่อ-ตลิ่งชันภายใต้ชื่อโครงการทางด่วนศรีรัตน์ มูลค่าโครงการ 29,000 ล้านบาท
โดยรายละเอียดของโครงการดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายค่าเวรคืนที่ดินให้เเก่ประชาชนจำนวน 9,000 ล้านบาท เเละบลจ.กรุงไทยจะเป็นผู้ระดมเงินทุนจำนวน 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะระดมทุนได้ในไตรมาส 2 หรือไตรมาที่ 3 ปี 2553 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวจะต้องรอการอนุมัติจาก ก.ล.ต.
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการทางด่วนศรีรัตน์จะมีรถยนต์ใช้ประมาณ 80,000 คันต่อวัน ซึ่งทางด่วนดังกล่าว จะคู่ขนานไปกับรถไฟฟ้า BTSสายสีแดง ที่สำคัญกองทุนนี้จะเป็นเเบบ freehold ด้วย
ล่าสุด นายสมชัย บุญนำศิริ กล่าวว่า ความคืบหน้าการตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคที่ได้คุยกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนของกระทรวงการคลังที่จะต้องของบประมาณเพื่อเวรคืนที่ดินในการก่อสร้าง ซึ่งระยะเวลาที่ดำเนินงานทั้งหมดนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังเเละทางการพิเศษ
โดยในส่วนของบลจ.กรุงไทยนั้นคงจะต้องเสนอเเผนงานว่าจะดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้ทางการพิเศษพิจราณารวมกับบลจ.อื่นที่เสนอเเผนงานด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันทางบลจ.คงต้อง ก.ล.ต. ออกกฎเเละข้อบังคับเกี่ยวกับการออกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย