คอลัมน์ ตลาดทุนไทยในสายตาต่างชาติ
บริษัท เน็กซ์วิว (ประเทศไทย) จำกัด
หลายวันมานี้ ผมรู้สึกมีความสุขมากกับผลตอบรับที่นักลงทุนและผู้สนใจ ให้เกียรติเข้าร่วมงาน “Technical day ครั้งที่ 2” ภายใต้สโลแกนที่ว่า “เปิดประตูสู่การลงทุน” กันอย่างล้นหลามมากถึงขนาดนี้ เอาเป็นว่าให้นึกภาพตามว่า เก้าอี้เสริมก็ยังไม่พอ จนนักลงทุนหลายท่านต้องยืนฟังอยู่ด้านหลังและด้านข้างห้องกันเลยทีเดียว
จุดกำเนิดเล็กๆ ของเว็บไซต์ www.Technicalday.com เกิดจากแรงบันดาลใจชั่ววูบของผมในขณะนอนหลับช่วงสงกรานต์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่อยู่ๆ ก็คิดถึงงานสัมมนาการให้ความรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิคแบบถูกวิธีขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนและผู้สนใจ เกิดแนวความคิดและไปต่อยอดเพื่อพัฒนาแนวทางการลงทุน (เก็งกำไร) ของตนเองขึ้นมาตามอุปนิสัย ลักษณะ และพฤติกรรมของแต่ละคน เพื่อทำให้นักลงทุนได้มีความรู้เพียงพอต่อการอยู่รอดในตลาดทุน ไม่ใช่เป็นเหยื่อของกลุ่มนักสร้างข่าว เสี่ยปั่นหุ้น หรือนักวิเคราะห์ที่ไร้จรรยาบรรณ ซึ่งกว่าจะรู้ นักลงทุนทั้งหลาย ก็สูญเสียเงินไปจนหมดตัว รวมถึงบางรายก็เป็นหนี้เป็นสิน เนื่องจากการหยิบยืม หรือกู้เงินมาลงทุนนั่นเอง
หลังจากคิดไอเดียเรื่องชื่อเว็บได้ ผมก็เริ่มต้นค้นหาชื่อ โดเมนเนมนี้ ว่ามีคนจดไปหรือยัง ก็ค่อนข้างเป็นโชคดีของผมที่ยังไม่มีใครสนใจชื่อดังกล่าว จากนั้นขบวนการสร้างเว็บก็เริ่มขึ้นในเช้าวันเสาร์นั่นเอง โดยผมใช้เวลาทุ่มเทกับเว็บไซต์นี้ ประมาณ 2-3 วัน ก็เป็นรูปเป็นร่างพร้อมที่จะนำออกสู่สาธารณชน และเริ่มต่อยอดแนวคิดถึงการจัดสัมมนาแบบเป็นจริงเป็นจัง โดยวางรูปแบบงานสัมมนาแบบที่ไม่เคยมีใครจัดมาก่อน คือ มีงานสัมมนา 5 ห้อง พร้อมๆกัน ต่างหัวข้อ ต่างวิทยากร เพื่อให้นักลงทุนได้มีความหลากหลายในการเลือกเสพข้อมูล และเนื้อหาความรู้ ที่ตนเองต้องการ ซึ่งโดยภาพรวมนั้น ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบรรดานักลงทุน นักเก็งกำไร ที่สนใจลงทุนโดยใช้ปัจจัยทางเทคนิค เป็นองค์ประกอบหลัก
จวบจนมาวันนี้ เว็บไซต์เล็กๆ นี้ก็มีคนเริ่มเข้ามา มากขึ้นตามลำดับ จนมียอด visit เกิน สองหมื่นคน เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหากใครได้ติดตามอยู่ตลอดในทุกหัวข้อ คงจะทราบว่า ทางผมใช้ความพยายามส่วนตัวในการที่จะอัพเดทเว็บไซต์แห่งนี้ตลอดเวลา เท่าที่เวลาอันน้อยนิดจะอำนวย พร้อมยังเพิ่มเนื้อหาให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ตามแรงสนับสนุนของพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และบรรดาลูกศิษย์ทุกคน
สิ่งหนึ่งทีเป็นปัญหาคาใจผมอยู่ตลอดเวลา คือ ปัญหาเรื่องการขาดทุนของตัวนักลงทุน ที่แวะเวียนมาหา หรือบอกเล่าให้ผมฟังอยู่เสมอไม่ได้ขาด ประหนึ่งเป็นที่ปรับทุกข์ประมาณนั้น ซึ่งหลายคนก็บาดเจ็บอย่างหนักกับพฤติกรรมการลงทุนของตนเอง ที่นอกจากจะไม่ทำให้เกิดกำไรจากการลงทุนแล้ว กลับทำให้ขาดทุนกันไปใหญ่ ซึ่งไม่ว่าคุณจะลงทุนมานานมากสักกี่ปี หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้เสีย ก็อาจจะทำให้ช่วงเวลาลงทุนในแต่ละครั้ง จะเป็นการสร้างหนี้สินให้ตนเองมากกว่าจะสร้างสินทรัพย์
ผมขออนุญาติสรุปประเด็นปัญหาของนักลงทุน ที่กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดทุนกันอยู่ทุกคน ปัญหา คือ ความไม่เข้าใจในเรื่องการ Stop loss หรือการหยุดการขาดทุนของตัวเอง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการ Trade with hope ของนักลงทุน รวมถึงพวกเก็งกำไรด้วย ที่พอพบสภาวะการเคลื่อนตัวของตลาดที่สวนทางกับแนวคิดการลงทุนของตนเอง ก็ไม่ยอมที่จะตัดขายขาดทุนออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ เพราะการตัดขาดทุน หรือ stop loss ไม่เป็น ย่อมทำให้เกิดภาวะการสูญเสียเงินต้นออกไปสูงมากๆ ซึ่งขัดกับหลัก Trade for a Living ค่อนข้างชัดเจน อันเนื่องมาจากหากกลยุทธ์การซื้อ-ขาย หุ้นของคุณระบุเงื่อนไขการลงทุนไว้ว่า คุณมีเงินลงทุน 100,000 บาท (เงินต้น หรือ กองทุน) และคุณต้องการ ซื้อ-ขาย หุ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทน 15% ต่อเดือน นั่นหมายความว่า คุณต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อไปเลี้ยงชีพเดือนละ 15,000 บาทถ้วน แต่ถ้าทุกครั้งที่คุณเข้าซื้อหุ้น แล้วพบกับสภาวะขาดทุน ในกรณีที่หุ้นที่ถืออยู่ ไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างที่คิด และกลับตาลปัตร กลับตัวลงในทุกครั้ง หากคุณไม่ยอมขายตัดขาดทุนออกไปเสียด้วยความรวดเร็ว และพยายามที่จะถือหุ้นตัวนั้นต่อไป โดยคิดว่า ถือไว้สักพักคงขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับคุณคือ หากคุณยอมให้เงินต้นลดลงเมื่อไหร่ก็ตาม ถึงแม้คุณจะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ 15% แต่เมื่อนำมาคำนวนกลับคุณก็จะพบว่า 15% ที่คุณได้มานั้น ไม่เพียงพอการต่ออยู่รอดได้ เพราะคุณต้องการ 15% จาก 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 15,000 บาท ไม่ใช่ 15% จาก 50,000 บาท ที่คุณจะได้ผลตอบแทนเพียงครึ่งเดียวของเงินต้นอันแรก
ผมสอบถามนักลงทุนในทุกคอร์สที่ผมสอนเสมอว่า เทคนิคการ เข้า – ออก และ การบริหารเงินที่ผมสอนในแต่ละคอร์ส ถ้าหากจะประสบความสำเร็จได้นั้น นักลงทุนจะต้อง Stop loss ให้เป็น มิเช่นนั้น คุณก็อาจจะมีเรื่องเล่าให้ลูก หลาน หรือ เพื่อนฝูงฟังอยู่ตลอด เกี่ยวกับจำนวนเงินที่คุณสูญเสียให้กับการลงทุนในสมัยอดีต ซึ่งหากไม่ยอมเปลี่ยน ก็อาจจะลามมาถึงปัจจุบันก็เป็นได้ (ผมรู้จักหลายคนที่เคยสูญเสียเงินหลักแสน และหลักล้านจากการลงทุนมาก่อนหลายท่าน ซึ่งร้อยละเก้าสิบเก้าแปอร์เซ็น เกิดจากการไม่ยอม stop loss)
บริษัท เน็กซ์วิว (ประเทศไทย) จำกัด
หลายวันมานี้ ผมรู้สึกมีความสุขมากกับผลตอบรับที่นักลงทุนและผู้สนใจ ให้เกียรติเข้าร่วมงาน “Technical day ครั้งที่ 2” ภายใต้สโลแกนที่ว่า “เปิดประตูสู่การลงทุน” กันอย่างล้นหลามมากถึงขนาดนี้ เอาเป็นว่าให้นึกภาพตามว่า เก้าอี้เสริมก็ยังไม่พอ จนนักลงทุนหลายท่านต้องยืนฟังอยู่ด้านหลังและด้านข้างห้องกันเลยทีเดียว
จุดกำเนิดเล็กๆ ของเว็บไซต์ www.Technicalday.com เกิดจากแรงบันดาลใจชั่ววูบของผมในขณะนอนหลับช่วงสงกรานต์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่อยู่ๆ ก็คิดถึงงานสัมมนาการให้ความรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิคแบบถูกวิธีขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนและผู้สนใจ เกิดแนวความคิดและไปต่อยอดเพื่อพัฒนาแนวทางการลงทุน (เก็งกำไร) ของตนเองขึ้นมาตามอุปนิสัย ลักษณะ และพฤติกรรมของแต่ละคน เพื่อทำให้นักลงทุนได้มีความรู้เพียงพอต่อการอยู่รอดในตลาดทุน ไม่ใช่เป็นเหยื่อของกลุ่มนักสร้างข่าว เสี่ยปั่นหุ้น หรือนักวิเคราะห์ที่ไร้จรรยาบรรณ ซึ่งกว่าจะรู้ นักลงทุนทั้งหลาย ก็สูญเสียเงินไปจนหมดตัว รวมถึงบางรายก็เป็นหนี้เป็นสิน เนื่องจากการหยิบยืม หรือกู้เงินมาลงทุนนั่นเอง
หลังจากคิดไอเดียเรื่องชื่อเว็บได้ ผมก็เริ่มต้นค้นหาชื่อ โดเมนเนมนี้ ว่ามีคนจดไปหรือยัง ก็ค่อนข้างเป็นโชคดีของผมที่ยังไม่มีใครสนใจชื่อดังกล่าว จากนั้นขบวนการสร้างเว็บก็เริ่มขึ้นในเช้าวันเสาร์นั่นเอง โดยผมใช้เวลาทุ่มเทกับเว็บไซต์นี้ ประมาณ 2-3 วัน ก็เป็นรูปเป็นร่างพร้อมที่จะนำออกสู่สาธารณชน และเริ่มต่อยอดแนวคิดถึงการจัดสัมมนาแบบเป็นจริงเป็นจัง โดยวางรูปแบบงานสัมมนาแบบที่ไม่เคยมีใครจัดมาก่อน คือ มีงานสัมมนา 5 ห้อง พร้อมๆกัน ต่างหัวข้อ ต่างวิทยากร เพื่อให้นักลงทุนได้มีความหลากหลายในการเลือกเสพข้อมูล และเนื้อหาความรู้ ที่ตนเองต้องการ ซึ่งโดยภาพรวมนั้น ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบรรดานักลงทุน นักเก็งกำไร ที่สนใจลงทุนโดยใช้ปัจจัยทางเทคนิค เป็นองค์ประกอบหลัก
จวบจนมาวันนี้ เว็บไซต์เล็กๆ นี้ก็มีคนเริ่มเข้ามา มากขึ้นตามลำดับ จนมียอด visit เกิน สองหมื่นคน เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหากใครได้ติดตามอยู่ตลอดในทุกหัวข้อ คงจะทราบว่า ทางผมใช้ความพยายามส่วนตัวในการที่จะอัพเดทเว็บไซต์แห่งนี้ตลอดเวลา เท่าที่เวลาอันน้อยนิดจะอำนวย พร้อมยังเพิ่มเนื้อหาให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ตามแรงสนับสนุนของพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และบรรดาลูกศิษย์ทุกคน
สิ่งหนึ่งทีเป็นปัญหาคาใจผมอยู่ตลอดเวลา คือ ปัญหาเรื่องการขาดทุนของตัวนักลงทุน ที่แวะเวียนมาหา หรือบอกเล่าให้ผมฟังอยู่เสมอไม่ได้ขาด ประหนึ่งเป็นที่ปรับทุกข์ประมาณนั้น ซึ่งหลายคนก็บาดเจ็บอย่างหนักกับพฤติกรรมการลงทุนของตนเอง ที่นอกจากจะไม่ทำให้เกิดกำไรจากการลงทุนแล้ว กลับทำให้ขาดทุนกันไปใหญ่ ซึ่งไม่ว่าคุณจะลงทุนมานานมากสักกี่ปี หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้เสีย ก็อาจจะทำให้ช่วงเวลาลงทุนในแต่ละครั้ง จะเป็นการสร้างหนี้สินให้ตนเองมากกว่าจะสร้างสินทรัพย์
ผมขออนุญาติสรุปประเด็นปัญหาของนักลงทุน ที่กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดทุนกันอยู่ทุกคน ปัญหา คือ ความไม่เข้าใจในเรื่องการ Stop loss หรือการหยุดการขาดทุนของตัวเอง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการ Trade with hope ของนักลงทุน รวมถึงพวกเก็งกำไรด้วย ที่พอพบสภาวะการเคลื่อนตัวของตลาดที่สวนทางกับแนวคิดการลงทุนของตนเอง ก็ไม่ยอมที่จะตัดขายขาดทุนออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ เพราะการตัดขาดทุน หรือ stop loss ไม่เป็น ย่อมทำให้เกิดภาวะการสูญเสียเงินต้นออกไปสูงมากๆ ซึ่งขัดกับหลัก Trade for a Living ค่อนข้างชัดเจน อันเนื่องมาจากหากกลยุทธ์การซื้อ-ขาย หุ้นของคุณระบุเงื่อนไขการลงทุนไว้ว่า คุณมีเงินลงทุน 100,000 บาท (เงินต้น หรือ กองทุน) และคุณต้องการ ซื้อ-ขาย หุ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทน 15% ต่อเดือน นั่นหมายความว่า คุณต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อไปเลี้ยงชีพเดือนละ 15,000 บาทถ้วน แต่ถ้าทุกครั้งที่คุณเข้าซื้อหุ้น แล้วพบกับสภาวะขาดทุน ในกรณีที่หุ้นที่ถืออยู่ ไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างที่คิด และกลับตาลปัตร กลับตัวลงในทุกครั้ง หากคุณไม่ยอมขายตัดขาดทุนออกไปเสียด้วยความรวดเร็ว และพยายามที่จะถือหุ้นตัวนั้นต่อไป โดยคิดว่า ถือไว้สักพักคงขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับคุณคือ หากคุณยอมให้เงินต้นลดลงเมื่อไหร่ก็ตาม ถึงแม้คุณจะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ 15% แต่เมื่อนำมาคำนวนกลับคุณก็จะพบว่า 15% ที่คุณได้มานั้น ไม่เพียงพอการต่ออยู่รอดได้ เพราะคุณต้องการ 15% จาก 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 15,000 บาท ไม่ใช่ 15% จาก 50,000 บาท ที่คุณจะได้ผลตอบแทนเพียงครึ่งเดียวของเงินต้นอันแรก
ผมสอบถามนักลงทุนในทุกคอร์สที่ผมสอนเสมอว่า เทคนิคการ เข้า – ออก และ การบริหารเงินที่ผมสอนในแต่ละคอร์ส ถ้าหากจะประสบความสำเร็จได้นั้น นักลงทุนจะต้อง Stop loss ให้เป็น มิเช่นนั้น คุณก็อาจจะมีเรื่องเล่าให้ลูก หลาน หรือ เพื่อนฝูงฟังอยู่ตลอด เกี่ยวกับจำนวนเงินที่คุณสูญเสียให้กับการลงทุนในสมัยอดีต ซึ่งหากไม่ยอมเปลี่ยน ก็อาจจะลามมาถึงปัจจุบันก็เป็นได้ (ผมรู้จักหลายคนที่เคยสูญเสียเงินหลักแสน และหลักล้านจากการลงทุนมาก่อนหลายท่าน ซึ่งร้อยละเก้าสิบเก้าแปอร์เซ็น เกิดจากการไม่ยอม stop loss)