คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวมอีทีเอฟที่มีอัตราผลตอบแทนเทียบเท่ากับดัชนีที่ใช้อ้างอิงและสามารถซื้อขายได้ตลอดเวลาในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้อีทีเอฟเป็นเครื่องมือทางการเงินอีกประเภทหนึ่งที่เสริมให้สามารถบริหารทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์ กองทุนต่าง ๆ บริษัทประกัน ไม่ว่าจะเลือกใช้กลยุทธ์แบบนโยบายเชิงรับ หรือมุ่งเน้นที่จะลงทุนในตราสารทุนเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนสถาบัน ก. ลงทุนในตราสารต่าง ๆ ไปแล้วถึงร้อยละ 90 ของทรัพย์สินทั้งหมด คงเหลืออีกร้อยละ 10 ซึ่งอยากจะลงทุนในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ผู้ลงทุนสถาบัน ก. ก็สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนอีทีเอฟได้ แทนที่จะต้องเลือกลงทุนในหลักทรัพย์รายตัวและหาซื้อหลักทรัพย์นั้น ๆ ตามที่ต้องการด้วยตนเอง
กองทุนอีทีเอฟยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถือครองอยู่ โดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่ลงทุนในตราสารทุนในประเทศ ก็มักจะเลือกลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ที่ถูกนำไปใช้ในการคำนวณดัชนี เช่น SET 50 Index เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง และมักใช้กลยุทธ์ในการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ ดังนั้นหากผู้ลงทุนสถาบันสามารถแปลงสภาพหลักทรัพย์ที่ถือครองอยู่มาอยู่ในรูปหน่วยลงทุนอีทีเอฟ ที่มีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพช่วยบริหารจัดการกองทุนอยู่แล้ว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินด้วยตนเองในขณะที่ยังเป็นการลงทุนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ณ เวลาหนึ่ง แทนที่ผู้ลงทุนสถาบันจะถือครองหลักทรัพย์กว่า 30 หลักทรัพย์ ก็สามารถแปลงสภาพมาถือครองหน่วยลงทุนอีทีเอฟเพียงอย่างเดียวได้
นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ต้องการลงทุนในประเทศไทยแต่ติดขัดเรื่องกฎข้อบังคับต่าง ๆ ในการลงทุนในประเทศไทย เช่น เรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ ทำให้การลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์อย่างอิสระเป็นไปได้ยาก
ทางด้านผู้ลงทุนรายย่อย ประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนอีทีเอฟเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้น นั้น จะเห็นว่ากองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยกระจายความเสี่ยง เพราะโดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนรายย่อยจะมีเงินทุนที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ได้เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ผลกระทบที่เกิดจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดจึงค่อนข้างที่จะรุนแรง แต่เมื่อผู้ลงทุนรายย่อยนำเงินมาลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดแบบเชิงรับ โดยมุ่งเน้นให้มีอัตราผลตอบแทนเทียบเท่าดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง
กล่าวคือ การลงทุนในหน่วยลงทุนอีทีเอฟ 1 หน่วยเปรียบเสมือนการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิง ทำให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนได้มากขึ้น และ ผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์จึงไม่รุนแรงเท่ากับการลงทุนด้วยตัวเอง อีกทั้ง การลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟ ที่มีผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนคอยบริหารจัดการลงทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ พร้อมมีเครื่องมือ รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่เพียบพร้อมกว่าการลงทุนด้วยตัวเองอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น กองทุนอีทีเอฟมีกลไกปกป้องผู้ถือหน่วยลงทุน ผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล และกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับธุรกิจจัดการลงทุน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวมอีทีเอฟที่มีอัตราผลตอบแทนเทียบเท่ากับดัชนีที่ใช้อ้างอิงและสามารถซื้อขายได้ตลอดเวลาในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้อีทีเอฟเป็นเครื่องมือทางการเงินอีกประเภทหนึ่งที่เสริมให้สามารถบริหารทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์ กองทุนต่าง ๆ บริษัทประกัน ไม่ว่าจะเลือกใช้กลยุทธ์แบบนโยบายเชิงรับ หรือมุ่งเน้นที่จะลงทุนในตราสารทุนเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนสถาบัน ก. ลงทุนในตราสารต่าง ๆ ไปแล้วถึงร้อยละ 90 ของทรัพย์สินทั้งหมด คงเหลืออีกร้อยละ 10 ซึ่งอยากจะลงทุนในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ผู้ลงทุนสถาบัน ก. ก็สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนอีทีเอฟได้ แทนที่จะต้องเลือกลงทุนในหลักทรัพย์รายตัวและหาซื้อหลักทรัพย์นั้น ๆ ตามที่ต้องการด้วยตนเอง
กองทุนอีทีเอฟยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถือครองอยู่ โดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่ลงทุนในตราสารทุนในประเทศ ก็มักจะเลือกลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ที่ถูกนำไปใช้ในการคำนวณดัชนี เช่น SET 50 Index เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง และมักใช้กลยุทธ์ในการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ ดังนั้นหากผู้ลงทุนสถาบันสามารถแปลงสภาพหลักทรัพย์ที่ถือครองอยู่มาอยู่ในรูปหน่วยลงทุนอีทีเอฟ ที่มีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพช่วยบริหารจัดการกองทุนอยู่แล้ว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินด้วยตนเองในขณะที่ยังเป็นการลงทุนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ณ เวลาหนึ่ง แทนที่ผู้ลงทุนสถาบันจะถือครองหลักทรัพย์กว่า 30 หลักทรัพย์ ก็สามารถแปลงสภาพมาถือครองหน่วยลงทุนอีทีเอฟเพียงอย่างเดียวได้
นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ต้องการลงทุนในประเทศไทยแต่ติดขัดเรื่องกฎข้อบังคับต่าง ๆ ในการลงทุนในประเทศไทย เช่น เรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ ทำให้การลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์อย่างอิสระเป็นไปได้ยาก
ทางด้านผู้ลงทุนรายย่อย ประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนอีทีเอฟเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้น นั้น จะเห็นว่ากองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยกระจายความเสี่ยง เพราะโดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนรายย่อยจะมีเงินทุนที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ได้เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ผลกระทบที่เกิดจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดจึงค่อนข้างที่จะรุนแรง แต่เมื่อผู้ลงทุนรายย่อยนำเงินมาลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดแบบเชิงรับ โดยมุ่งเน้นให้มีอัตราผลตอบแทนเทียบเท่าดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง
กล่าวคือ การลงทุนในหน่วยลงทุนอีทีเอฟ 1 หน่วยเปรียบเสมือนการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิง ทำให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนได้มากขึ้น และ ผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์จึงไม่รุนแรงเท่ากับการลงทุนด้วยตัวเอง อีกทั้ง การลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟ ที่มีผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนคอยบริหารจัดการลงทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ พร้อมมีเครื่องมือ รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่เพียบพร้อมกว่าการลงทุนด้วยตัวเองอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น กองทุนอีทีเอฟมีกลไกปกป้องผู้ถือหน่วยลงทุน ผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล และกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับธุรกิจจัดการลงทุน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน