คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
หลังจากการเปิดตัวของกองทุนอีทีเอฟกองแรกของโลกให้เป็นที่รู้จักกันในปี 2536 กองทุนอีทีเอฟถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดลงทุนและมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ในปี2550 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้มีการผลักดันอีทีเอฟกองแรกของประเทศไทย อีทีเอฟกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ผู้จัดการกองทุนจะรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นพอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน จนกระทั่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟแล้วจำนวน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ SET50 ETF , กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF และ กองทุนเปิดไทยเด็กซ์ FTSE SET LARGE CAP ETF หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่า “ทำไม ETFจึงได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ”
ผลกระทบต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
กองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยพัฒนาตลาดทุนไทยโดยรวมด้วยการเพิ่มสภาพคล่องให้กับทั้งตลาดซึ่งรวมไปถึง สภาพคล่องที่จะเกิดขึ้นจากการซื้อขายของหน่วยลงทุนอีทีเอฟเอง สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิง และ สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้ดัชนีอ้างอิงตัวเดียวกันกับกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ และเช่นเดียวกันกับหลักทรัพย์อื่น ๆ ทั่วไป หากกองทุนอีทีเอฟเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันสูงมากเท่าไร จะส่งผลทำให้มูลค่าการซื้อขายและสภาพคล่องของกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ สูงมากตามไปด้วยเท่านั้น นอกจากนี้คุณลักษณะของอีทีเอฟที่เปิดโอกาสให้สามารถเก็งกำไร จะส่งเสริมให้มูลค่าการซื้อขายและสภาพคล่องของกองทุนอีทีเอฟยิ่งสูงขึ้นไปอีก ซึ่งการทำเก็งกำไรของหน่วยลงทุนอีทีเอฟจะส่งผลทำให้สภาพคล่องของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้ดัชนีอ้างอิงตัวเดียวกันกับกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากว่า ผู้ที่จะทำการเก็งกำไรมักจะทำการซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อช่วยในการบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องของทั้งกองทุนอีทีเอฟและกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว จะกระตุ้นและดึงดูดให้ผู้ลงทุนรายย่อยหันมาลงทุนในกองทุน ETF และหลักทรัพย์อ้างอิงมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยขยายฐานผู้ลงทุนโดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และผู้ลงทุนรายย่อยในปัจจุบันและผู้ลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่อยากลงทุนในหุ้นโดยตรงเพราะกลัวความเสี่ยงที่สูง ซึ่งจะให้ความสนใจลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ เนื่องจากสิทธิประโยชน์และคุณสมบัติต่าง ๆ ของกองทุนอีทีเอฟ และการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟจะช่วยกระตุ้นให้มีการพัฒนาตราสารทางการเงินใหม่ ๆ เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ผู้ที่สนใจลงทุนและก่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดทุน ส่งผลทำให้บริษัททางการเงินต่าง ๆ ต้องหาทางพัฒนาตราสารทางการเงินประเภทใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้ลงทุนให้มากที่สุด
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
หลังจากการเปิดตัวของกองทุนอีทีเอฟกองแรกของโลกให้เป็นที่รู้จักกันในปี 2536 กองทุนอีทีเอฟถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดลงทุนและมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ในปี2550 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้มีการผลักดันอีทีเอฟกองแรกของประเทศไทย อีทีเอฟกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ผู้จัดการกองทุนจะรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นพอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน จนกระทั่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟแล้วจำนวน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ SET50 ETF , กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF และ กองทุนเปิดไทยเด็กซ์ FTSE SET LARGE CAP ETF หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่า “ทำไม ETFจึงได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ”
ผลกระทบต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
กองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยพัฒนาตลาดทุนไทยโดยรวมด้วยการเพิ่มสภาพคล่องให้กับทั้งตลาดซึ่งรวมไปถึง สภาพคล่องที่จะเกิดขึ้นจากการซื้อขายของหน่วยลงทุนอีทีเอฟเอง สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิง และ สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้ดัชนีอ้างอิงตัวเดียวกันกับกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ และเช่นเดียวกันกับหลักทรัพย์อื่น ๆ ทั่วไป หากกองทุนอีทีเอฟเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันสูงมากเท่าไร จะส่งผลทำให้มูลค่าการซื้อขายและสภาพคล่องของกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ สูงมากตามไปด้วยเท่านั้น นอกจากนี้คุณลักษณะของอีทีเอฟที่เปิดโอกาสให้สามารถเก็งกำไร จะส่งเสริมให้มูลค่าการซื้อขายและสภาพคล่องของกองทุนอีทีเอฟยิ่งสูงขึ้นไปอีก ซึ่งการทำเก็งกำไรของหน่วยลงทุนอีทีเอฟจะส่งผลทำให้สภาพคล่องของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้ดัชนีอ้างอิงตัวเดียวกันกับกองทุนอีทีเอฟนั้น ๆ เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากว่า ผู้ที่จะทำการเก็งกำไรมักจะทำการซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อช่วยในการบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องของทั้งกองทุนอีทีเอฟและกลุ่มหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว จะกระตุ้นและดึงดูดให้ผู้ลงทุนรายย่อยหันมาลงทุนในกองทุน ETF และหลักทรัพย์อ้างอิงมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟสามารถช่วยขยายฐานผู้ลงทุนโดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และผู้ลงทุนรายย่อยในปัจจุบันและผู้ลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่อยากลงทุนในหุ้นโดยตรงเพราะกลัวความเสี่ยงที่สูง ซึ่งจะให้ความสนใจลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ เนื่องจากสิทธิประโยชน์และคุณสมบัติต่าง ๆ ของกองทุนอีทีเอฟ และการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟจะช่วยกระตุ้นให้มีการพัฒนาตราสารทางการเงินใหม่ ๆ เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ผู้ที่สนใจลงทุนและก่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดทุน ส่งผลทำให้บริษัททางการเงินต่าง ๆ ต้องหาทางพัฒนาตราสารทางการเงินประเภทใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้ลงทุนให้มากที่สุด