xs
xsm
sm
md
lg

ขอเวฟภาษีคงเงินกองสำรองฯ หนุนใช้ดัชนีวัดผลใหม่เพื่อความชัดเจน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สรรพากรตีความสิทธิประโยชน์ภาษี การคงเงินและการรับเงินเป็นงวดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ชี้ยังเป็นเงินออมในระบบ ควรให้ลิทธิเท่ากัน ด้านสมาคมบลจ. หนุนบริษัทจัดการ ใช้ดัชนี SET TRI  เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ระบุครอบคลุมผลตอบแทนมากกว่า เหตุรวมเงินปันผลเข้าไปด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำหนังสือถึงกรมสรรพากร ให้พิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเรื่องการคงเงินและการรับเงินเป็นงวดแล้ว ซึ่งทางสรรพากรเองได้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมสรรพากร
โดยการพิจารณาภาษีดังกล่าว สืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฉบับใหม่ พ.ศ.2551 มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญอยู่ 2 เรื่อง คือ อนุญาตให้ลูกจ้างสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้ แม้จะเกษียณอายุหรือว่าลาออกจากงานแล้ว ซึ่งให้ถือว่ามีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และในระหว่างที่คงเงินเอาไว้นั้น

 ก็สามารถหาดอกผลเสมือนยังเป็นสมาชิกภาพอยู่ ซึ่งนอกจากการคงเงินไว้แล้ว ลูกจ้างที่เกษียณและลาออก ยังสามารถขอรับเงินเป็นงวดได้ โดยไม่ต้องขอรับเงินคืนทั้งหมด ซึ่งสามารถหาดอกผลได้เช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีว่าจะคิดยังไง และเนื่องจากเงินดังกล่าวยังถือเป็นเงินออมที่อยู่ในระบบ ดังนั้น จึงต้องการให้ดอกผลที่เกิดจากการคงเงินไว้หรือการรับเงินเป็นงวดนั้น จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเช่นเดียวกับการรับเงินคืนทั้งหมดหลังเกษียณแล้ว ซึ่งเรื่องนี้คงต้องการการพิจารณาของกรมสรรพากรอีกครั้ง

ทั้งนี้ การพิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เป็นส่วนหนึ่งของที่เสนอให้กรมสรรพากรพิจารณาด้านภาษีในเรื่องต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้เสนอเพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนไทย

 โดยหนึ่งในคณะทำงานที่จัดตั้งดังกล่าว มีคณะทำงานด้านภาษี long-term saving ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหัวหน้าคณะ พิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย โดยจะมีการพิจารณาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ด้านรายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ระบุว่า สมาคม บลจ.ได้แก้ไขประกาศเรื่องมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยในส่วนของเกณฑ์อ้างอิงตราสารทุน ได้เพิ่มเติมให้สามารถใช้อัตราผลตอบแทนของ SET TRI, SET 50 TRI, SET 100 TRI และ SET 100 Indexได้ จากเดิมที่กำหนดไว้เพียงอัตราผลตอบแทนของ SET Index และ SET 50 Index ซึ่งประกาศที่แก้ไขฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงสามารถใช้อัตราผลตอบแทนของ SET TRI เป็น benchmark ในส่วนของตราสารทุนได้ค่ะ
สำหรับดัชนี SET TRI คือ ดัชนีผลตอบแทนรวม ซึ่งรวมผลตอบแทนทุกอย่างให้สะท้อนออกมาในค่าของดัชนี จะแตกต่างจากดัชนีราคา เช่น  SET Index ที่สะท้อนเฉพาะผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา (capital gain/loss) ดังนั้น หากกองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล ก็ควรใช้อัตราผลตอบแทนของ SET TRI เป็น benchmark เนื่องจากหากวัดผลการดำเนินงานของกองทุนโดยเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของดัชนีราคา

 อาจทำให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนสูงกว่า benchmark โดยที่ผู้จัดการกองทุนไม่ต้องใช้ฝีมือในการบริหารเงินกองทุนมากนัก เพราะอัตราผลตอบแทนของ SET Index จะไม่รวมเงินปันผลที่กองทุนได้รับในช่วงเวลาที่ลงทุน และไม่รวมผลตอบแทนจากการนำเงินปันผลมาลงทุนซ้ำ (reinvest) ด้วย ขณะที่อัตราผลตอบแทนของกองทุนจะรวมเงินปันผลไว้ด้วย

 อย่างไรก็ตาม หากหุ้นส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนไม่มีการจ่ายเงินปันผล ก็สามารถใช้อัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น SET Index, SET 50 Index, SET 100 Index เป็น benchmark ในส่วนของตราสารทุนได้
กำลังโหลดความคิดเห็น