บลจ.วรรณ แนะใช้ แอลทีเอฟ-อาร์เอ็มเอฟ ช่วยลดภาระภาษี พร้อมรับผลตอบแทนจากหุ้นอีกต่อ แนะจับจังหวะทยอยเก็บ ก่อนดัชนีพุ่งไตรมาส 4 ต่อเนื่องต้นปีหน้า
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังของปี นักลงทุนจะเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องของภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีเรื่องของภาษีน้ำมันเข้าเกี่ยวข้องจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันมีสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องมีภาระในเรื่องของภาษีเพิ่มขึ้นและต้องการจะลดภาระของการจ่ายเงินภาษีให้น้อยลง การเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็เป็นทางเลือกได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว นักลงทุนยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีร่วมอีกด้วย
สำหรับ บลจ.วรรณ เอง มีกองทุน LTF และ RMF ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท ได้แก่ และ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาว (1S-LTF) กองทุนเปิดวรรณซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว (1SG-LTF) ซึ่งในส่วนของกองทุน 1S-LTF และ 1SG-LTF นั้น มีลักษณะการลงทุนที่เหมือนกันคือเน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 แต่จะมีแนวทางการลงทุนให้ชนะดัชนี SET50 (Index Enhancing)
ในขณะที่กองทุนเปิดหุ้นคุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ( V-RMF) กองทุนเปิดตราสารการเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ(M-RMF) ให้แก่นักลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี โดยกองทุน V-RMF เป็นกองทุนประเภท RMF ที่นักลงทุนจะได้สิทธิลดหย่อนทางภาษีสูงสุดถึง 37% อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งกองทุน V-RMF จะเน้นการลงทุนในหุ้นซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี (Value Investment) อย่างไรก็ตาม หุ้นที่กองทุน V-RMF เข้าไปลงทุนนั้นยังคำนึงถึงบริษัทที่ไปลงทุนนั้นจะมีการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย
"การลงทุนในหุ้นระยะยาวนั้น จากข้อมูลที่ บลจ.วรรณ ได้ทำสถิติเอาไว้พบว่า การลงทุนในหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8-12% ต่อปี โดยรวมถึงผลตอบแทนที่ได้จากเงินปันผลประมาณ 3-4% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับเกือบครึ่งมาจากปันผล ดังนั้น นอกจากการลงทุนในระยะยาวแล้วนักลงทุนไม่ควรที่จะมองข้ามผลตอบแทนที่ได้จากเงินปันผลเหล่านี้ด้วย ในขณะที่ M-RMF เป็นกองทุนซึ่งเน้นตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ลงทุนในตลาดเงิน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยงต่ำ" นายมนรัฐกล่าว
นายมนรัฐ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้แม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจะต่ำมากเช่นกัน ขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเช่น ยุโรปและ อเมริกา เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น และดัชนีทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น การลงทุนในหุ้นจึงสามารถให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีในระยะยาว ทั้งในรูปของการปรับตัวขึ้นของราคาหลักทรัพย์และในส่วนของเงินปันผล ดังนั้น หากนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง การลงทุนหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในผลตอบแทนโดยการสับเปลี่ยนการลงทุน( Switching) หรือ การจัดสรรเงินบางส่วน เช่น 10% จากเดิมที่เคยลงทุนในตราสารหนี้มาเป็นตราสารทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนไว้สู้กับเงินเฟ้อที่น่าจะมาในปี2553
การจะปรับพอร์ตให้มีประสิทธิภาพนั้น สามารถทำได้โดยนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจากการเปิดเผยของศูนย์วิจัย บล. ทิสโก้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาพบว่า โดยส่วนใหญ่ไตรมาสที่ 4 และไตรมาสที่ 1 ของทุกปีตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การควรจังหวะลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 โดยทำการทยอยปรับพอร์ตบางส่วนมาลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นแทน
"เราสามารถประเมินจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจภาพรวมได้จากการดู Earning momentum ซึ่งจะเห็นว่าค่า PE ของตลาดจะค่อยๆ ลดลงในปี ค.ศ.2010 และ ค.ศ.2011 แสดงว่า บริษัทจดทะเบียนมีกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวโน้มตลาดหุ้นน่าจะดีในทิศทางเดียวกัน และเมื่อผ่านช่วงดังกล่าวไปแล้ว เช่น ในรอบไตรมาสที่สอง นักลงทุนอาจจะปรับพอร์ตโฟลิโออีกครั้ง โดยเปลี่ยนกลับมาเป็น M-RMF ที่เป็นกองทุนตลาดเงินเหมือนเดิม ซึ่งการปรับพอร์ตให้มีความเหมาะสมตามลักษณะของช่วงเวลานั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มากขึ้น"นายมนรัฐ กล่าว
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังของปี นักลงทุนจะเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องของภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีเรื่องของภาษีน้ำมันเข้าเกี่ยวข้องจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันมีสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องมีภาระในเรื่องของภาษีเพิ่มขึ้นและต้องการจะลดภาระของการจ่ายเงินภาษีให้น้อยลง การเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็เป็นทางเลือกได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว นักลงทุนยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีร่วมอีกด้วย
สำหรับ บลจ.วรรณ เอง มีกองทุน LTF และ RMF ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท ได้แก่ และ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาว (1S-LTF) กองทุนเปิดวรรณซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว (1SG-LTF) ซึ่งในส่วนของกองทุน 1S-LTF และ 1SG-LTF นั้น มีลักษณะการลงทุนที่เหมือนกันคือเน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 แต่จะมีแนวทางการลงทุนให้ชนะดัชนี SET50 (Index Enhancing)
ในขณะที่กองทุนเปิดหุ้นคุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ( V-RMF) กองทุนเปิดตราสารการเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ(M-RMF) ให้แก่นักลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี โดยกองทุน V-RMF เป็นกองทุนประเภท RMF ที่นักลงทุนจะได้สิทธิลดหย่อนทางภาษีสูงสุดถึง 37% อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งกองทุน V-RMF จะเน้นการลงทุนในหุ้นซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี (Value Investment) อย่างไรก็ตาม หุ้นที่กองทุน V-RMF เข้าไปลงทุนนั้นยังคำนึงถึงบริษัทที่ไปลงทุนนั้นจะมีการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย
"การลงทุนในหุ้นระยะยาวนั้น จากข้อมูลที่ บลจ.วรรณ ได้ทำสถิติเอาไว้พบว่า การลงทุนในหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8-12% ต่อปี โดยรวมถึงผลตอบแทนที่ได้จากเงินปันผลประมาณ 3-4% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับเกือบครึ่งมาจากปันผล ดังนั้น นอกจากการลงทุนในระยะยาวแล้วนักลงทุนไม่ควรที่จะมองข้ามผลตอบแทนที่ได้จากเงินปันผลเหล่านี้ด้วย ในขณะที่ M-RMF เป็นกองทุนซึ่งเน้นตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ลงทุนในตลาดเงิน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยงต่ำ" นายมนรัฐกล่าว
นายมนรัฐ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้แม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจะต่ำมากเช่นกัน ขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเช่น ยุโรปและ อเมริกา เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น และดัชนีทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น การลงทุนในหุ้นจึงสามารถให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีในระยะยาว ทั้งในรูปของการปรับตัวขึ้นของราคาหลักทรัพย์และในส่วนของเงินปันผล ดังนั้น หากนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง การลงทุนหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในผลตอบแทนโดยการสับเปลี่ยนการลงทุน( Switching) หรือ การจัดสรรเงินบางส่วน เช่น 10% จากเดิมที่เคยลงทุนในตราสารหนี้มาเป็นตราสารทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนไว้สู้กับเงินเฟ้อที่น่าจะมาในปี2553
การจะปรับพอร์ตให้มีประสิทธิภาพนั้น สามารถทำได้โดยนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจากการเปิดเผยของศูนย์วิจัย บล. ทิสโก้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาพบว่า โดยส่วนใหญ่ไตรมาสที่ 4 และไตรมาสที่ 1 ของทุกปีตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การควรจังหวะลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 โดยทำการทยอยปรับพอร์ตบางส่วนมาลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นแทน
"เราสามารถประเมินจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจภาพรวมได้จากการดู Earning momentum ซึ่งจะเห็นว่าค่า PE ของตลาดจะค่อยๆ ลดลงในปี ค.ศ.2010 และ ค.ศ.2011 แสดงว่า บริษัทจดทะเบียนมีกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวโน้มตลาดหุ้นน่าจะดีในทิศทางเดียวกัน และเมื่อผ่านช่วงดังกล่าวไปแล้ว เช่น ในรอบไตรมาสที่สอง นักลงทุนอาจจะปรับพอร์ตโฟลิโออีกครั้ง โดยเปลี่ยนกลับมาเป็น M-RMF ที่เป็นกองทุนตลาดเงินเหมือนเดิม ซึ่งการปรับพอร์ตให้มีความเหมาะสมตามลักษณะของช่วงเวลานั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้มากขึ้น"นายมนรัฐ กล่าว