ASTVผู้จัดการรายวัน - 2บลจ.พ้องเสียง เดินหน้าเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นต่างประเทศ เน้นประเทศเกิดใหม่และกลุ่มเอเชียเป็นหลัก หลังพบมีการฟื้นตัวสูง เดือนเมษายนปรับตัวดีขึ้นจนดันผลตอบแทนกองทุนต่างประเทศพลิกเป็นบวกได้ แต่เตือนอย่าให้น้ำหนักเต็มที่ เพราะยังมีความผันผวนอยู่ และยังไม่มีสัญญาณปรับตัวอย่างชัดเจนมากนัก
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ทยอยส่งเงินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) กลับเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศแล้ว โดยเน้นการให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกลุ่มประเทศเอเชียเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีการฟื้นตัวสูง
ทั้งนี้ จากการทยอยลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนออกมาอยู่ในระดับดีขึ้นทุกกองทุน โดยจากการรายงานผลการดำเนินงานของลิปเปอร์พบว่า ผลตอบแทนล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก ซึ่งบางกองผลตอบแทนพลิกกลับมาเป็นบวกได้ หลังจากติดลบในเดือนมีนาคม โดยกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดและปรับขึ้นสูงที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก ซึ่งได้อานิสงส์จากราคาหุ้นในภูมิภาคนี้ปรับขึ้นมา นอกจากนี้ กองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) เองก็ปรับขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะให้น้ำหนักการลงทุนเต็มที่ เพราะยังมีความเสี่ยงอยู่ จากตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่แย่ลงไปมากกว่านี้ และก็ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศเองต้องจับจังหวะให้ดี ซึ่งกองทุนต่างประเทศที่บริหารอยู่แน่นอนว่าในอนาคต จะต้องมีการลงทุนเต็มที่อยู่แล้วตามนโยบายของกองทุน แต่จังหวะนี้ ยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม
"แม้ว่าตัวเลขพื้นฐานหลายตัวจะไม่แย่ลง แต่ก็ยังไม่เห็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเเจน ดังนั้น จังหวะนี้จึงไม่ใช่จังหวะที่จะกลับเข้าไปลงทุนได้อย่างเต็มที่ เพราะยังต้องระมัดระวังอยู่ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกองทุนจะลงทุนเต็มที่ตลามนโยบายอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนเอฟไอเอฟภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.เอ็มเอฟซี ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.11% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 19.08% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ โกลบอล อะกริบิซซิเนส ให้ผลตอบแทน 16.35% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 15.20% กองทุนเปิดกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชีย อินฟราสทรัคเจอร์ ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 11.49%
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล บริค รีคัฟเวอรี่ ให้ผลตอบแทน 11.21% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ชิค ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 9.57% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิพทีน (I-15) ให้ผลตอบแทน 5.89% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล สมาร์ท ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 3.67% กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล อัลฟ่า ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 3.54% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเล็ค ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 2.10% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ทเวนตี้ (I-20) ให้ผลตอบแทน 0.65% และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก ให้ผลตอบแทน -2.51%
ด้าน นางสาวศรีเนตร ฤทธิ์รงค์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่ากองทุนเปิดพรีมาเวสท์บริค สตาร์ ฟันด์ (PBS)เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันผู้จัดการกองทุนได้ปรับสัดส่วนการลงทุนใน 4 ประเทศในกลุ่ม BRIC ในสัดส่วนเท่าๆ กันที่ 25% ในประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดียและจีนแล้ว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้เชิญลูกค้าและผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน PBS รับฟังข้อมูลของการลงทุนในกองทุนและแนวโน้มของ 4 ประเทศดังกล่าวว่ามีสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก จึงไม่แนะนำให้ผู้ที่ลงทุนในกองทุนนี้อยู่แล้วขายหน่วยลงทุนออกในช่วงเวลานี้ แต่แนะนำให้ลูกค้าเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนได้แล้ว
สำหรับกองทุน PBS ณ วันที่ 5 พ.ค.2552 มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 168.82 ล้านบาท มูลค่าต่อหน่วยอยู่ที่ 4.0976 บาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นมี.ค.2552 ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ต่อหน่วยอยู่ที่ 3.6121 บาท
นอกจากนี้จากข้อมูลลิปเปอร์ส ประจำเดือนสิ้นสุดเม.ย.2552 พบว่า กองทุนเปิดพรีมาเวสท์บริค สตาร์ ฟันด์ มีผลตอบแทนสูงเป็นอันดับ 5 ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 159.73 ล้านบาท ผลตอบแทน 4 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 20.85% กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) อยู่อันดับ 9 ผลตอบแทนตั้ง 4 เดือนแรกอยู่ที่ 17.94% มีมูลค่าสินทรัพย์ 391.24 ล้านบาทและกองทุนเปิดแอสเซท พลัส บริค ของบลจ.แอสเซท พลัส อยู่อันดับ 24 ผลตอบแทน 4 ดือนแรกอยู่ที่ 12.42% มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 210.26 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ทยอยส่งเงินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) กลับเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศแล้ว โดยเน้นการให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกลุ่มประเทศเอเชียเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีการฟื้นตัวสูง
ทั้งนี้ จากการทยอยลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนออกมาอยู่ในระดับดีขึ้นทุกกองทุน โดยจากการรายงานผลการดำเนินงานของลิปเปอร์พบว่า ผลตอบแทนล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก ซึ่งบางกองผลตอบแทนพลิกกลับมาเป็นบวกได้ หลังจากติดลบในเดือนมีนาคม โดยกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดและปรับขึ้นสูงที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก ซึ่งได้อานิสงส์จากราคาหุ้นในภูมิภาคนี้ปรับขึ้นมา นอกจากนี้ กองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) เองก็ปรับขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะให้น้ำหนักการลงทุนเต็มที่ เพราะยังมีความเสี่ยงอยู่ จากตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่แย่ลงไปมากกว่านี้ และก็ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศเองต้องจับจังหวะให้ดี ซึ่งกองทุนต่างประเทศที่บริหารอยู่แน่นอนว่าในอนาคต จะต้องมีการลงทุนเต็มที่อยู่แล้วตามนโยบายของกองทุน แต่จังหวะนี้ ยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม
"แม้ว่าตัวเลขพื้นฐานหลายตัวจะไม่แย่ลง แต่ก็ยังไม่เห็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเเจน ดังนั้น จังหวะนี้จึงไม่ใช่จังหวะที่จะกลับเข้าไปลงทุนได้อย่างเต็มที่ เพราะยังต้องระมัดระวังอยู่ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกองทุนจะลงทุนเต็มที่ตลามนโยบายอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนเอฟไอเอฟภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.เอ็มเอฟซี ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.11% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 19.08% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ โกลบอล อะกริบิซซิเนส ให้ผลตอบแทน 16.35% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 15.20% กองทุนเปิดกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชีย อินฟราสทรัคเจอร์ ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 11.49%
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล บริค รีคัฟเวอรี่ ให้ผลตอบแทน 11.21% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ชิค ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 9.57% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิพทีน (I-15) ให้ผลตอบแทน 5.89% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล สมาร์ท ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 3.67% กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี โกลบอล อัลฟ่า ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 3.54% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเล็ค ฟันด์ ให้ผลตอบแทน 2.10% กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ทเวนตี้ (I-20) ให้ผลตอบแทน 0.65% และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก ให้ผลตอบแทน -2.51%
ด้าน นางสาวศรีเนตร ฤทธิ์รงค์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่ากองทุนเปิดพรีมาเวสท์บริค สตาร์ ฟันด์ (PBS)เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันผู้จัดการกองทุนได้ปรับสัดส่วนการลงทุนใน 4 ประเทศในกลุ่ม BRIC ในสัดส่วนเท่าๆ กันที่ 25% ในประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดียและจีนแล้ว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้เชิญลูกค้าและผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน PBS รับฟังข้อมูลของการลงทุนในกองทุนและแนวโน้มของ 4 ประเทศดังกล่าวว่ามีสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก จึงไม่แนะนำให้ผู้ที่ลงทุนในกองทุนนี้อยู่แล้วขายหน่วยลงทุนออกในช่วงเวลานี้ แต่แนะนำให้ลูกค้าเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนได้แล้ว
สำหรับกองทุน PBS ณ วันที่ 5 พ.ค.2552 มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 168.82 ล้านบาท มูลค่าต่อหน่วยอยู่ที่ 4.0976 บาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นมี.ค.2552 ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ต่อหน่วยอยู่ที่ 3.6121 บาท
นอกจากนี้จากข้อมูลลิปเปอร์ส ประจำเดือนสิ้นสุดเม.ย.2552 พบว่า กองทุนเปิดพรีมาเวสท์บริค สตาร์ ฟันด์ มีผลตอบแทนสูงเป็นอันดับ 5 ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 159.73 ล้านบาท ผลตอบแทน 4 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 20.85% กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) อยู่อันดับ 9 ผลตอบแทนตั้ง 4 เดือนแรกอยู่ที่ 17.94% มีมูลค่าสินทรัพย์ 391.24 ล้านบาทและกองทุนเปิดแอสเซท พลัส บริค ของบลจ.แอสเซท พลัส อยู่อันดับ 24 ผลตอบแทน 4 ดือนแรกอยู่ที่ 12.42% มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 210.26 ล้านบาท