คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะนำเงินสะสมของผู้ลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งการลงทุนต่าง ๆ นั้นจะได้รับผลตอบแทนในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การลงทุนใดก็ตามที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับนั้นย่อมสูงตามไปด้วย และที่ขาดไม่ได้ก็คือ โอกาสที่จะได้รับผลขาดทุนจากการลงทุนนั้นก็ย่อมที่จะมีสูงด้วย
หากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนำเงินลงทุนไปลงทุนในหุ้นสามัญ ผลตอบแทนที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับจากการลงทุนคือ เงินปันผลที่หุ้นสามัญจ่ายให้แก่ผู้ลงทุน และกำไรส่วนเกินทุน หรือกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ถ้าหุ้นสามัญมีราคาที่สูงขึ้นมากกว่าวันที่ได้นำเงินมาลงทุนในหุ้นสามัญนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับกำไรส่วนเกินทุน และความแน่นอนที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญนั้น จะมีความไม่แน่นอนสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่กองทุนร่วมลงทุนด้วย
ถ้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำเงินกองทุนไปลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และกำไรส่วนเกินทุน เพราะพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้น จะจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นสามัญ แต่หากกองทุนนำเงินทุนไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ความแน่นอนของการที่จะได้รับผลตอบแทนก้จะมีสูงมาก เพราะมีรัฐบาลเป็นประกัน แต่ถ้าลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ก็อาจมีโอกาสที่จะไม่ได้รับเงินตามที่กำหนดไว้ ถือว่าการลงทุนแบบนี้จะมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับกระแสเงินสดตามที่สัญญาไว้ในพันธบัตร (Default Risk)
หากลงทุนในตั๋วแลกเงิน ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพันธบัตร แต่มีระยะเวลาที่สั้นกว่า และทางเลือกในการลงทุนของกองทุนรวมก็สามารถลงทุนใน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงินได้เช่นเดียวกัน แต่ความเสี่ยงของการลงทุนนั้นก็จะลดลงตามลำดับ
นอกจากผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วนั้น ผู้ร่วมลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกประการหนึ่ง โดยหากเป็นกรณีของนายจ้างแล้วนั้น นายจ้างจะสามารถนำเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ และสำหรับลูกจ้างก็จะได้รับประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกัน คือ เงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายสมทบในแต่ละปีนั้น สามารถนำมาหักจากเงินได้ประจำปีของลูกจ้างได้ และหากลูกจ้างพ้นจากสมาชิกภาพ เนื่องจาก เกษียณอายุ ตาย หรือ ทุพพลภาพ เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่ต้องนำมาเสียภาษีอีก
ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดความสามารถในการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นการวัดประเมินนี้เป็นการบอกว่าผู้ที่ร่วมสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น จะมีความพึงพอใจในการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุนมากน้อยเพียงใด
การวัดผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ต้องเป็นการวัดผลตอบแทนโดยรวม (Total Return) คือ ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง เช่นกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมกับผลตอบแทนที่ยังไม่เกิด เช่น กำไรขาดทุนที่สามารถประเมินได้ ณ วันที่ทำการคำนวณผลตอบแทน แต่กำไรขาดทุนนั้นยังไม่เกิดขึ้นจริง
การลงทุนในกองทุนรวมจะใช้เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ในการบันทึกผลตอบแทน คือเป็นการทะยอยรับรู้รายได้ ซึ่งจะต่างจากเกณฑ์เงินสด ที่ยังไม่รับรู้รายได้จนกว่าจะได้รับเงินสดจริง และจะต้องคำนวณอัตราผลตอบแทน หรือผลตอบแทน โดยกระทำทุกสิ้นวันหรือสิ้นงวด แล้วนำไปรวมกับมูลค่าของสินทรัพย์ ณ งวดก่อนหน้า และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อทำการคำนวณหาผลตอบแทน หรืออัตราผลตอบแทน ก็จะได้อัตราผลตอบแทนที่หักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเรียบร้อยแล้ว
การคำนวณผลตอบแทนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังจะต้องคำนึงถึงการเพิ่มหรือลดของจำนวนหน่วยลงทุน หรือมูลค่าลงทุน เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นจะมีการนำเงินเข้าสะสมทุกเดือน และมีการถอนออกบ่อยครั้ง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ การคำนวณผลตอบแทนจึงใช้วิธี Time Weighted Return เป็นการคำนวณผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยปลายงวด โดยเทียบกับต้นงวด
การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น มีวิธีการอื่น ๆ อีกที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่นการใช้ Sharpe’s Portfolio Performance Measure, Treynor’s Portfolio Performance Measure หรือ Jensen Intercept ซึ่งเป็นวิธีการประเมินที่นิยมใช้ในการวัดความเสี่ยงของการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน (Portfolio Investment) และเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประเมินผลการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะนำเงินสะสมของผู้ลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งการลงทุนต่าง ๆ นั้นจะได้รับผลตอบแทนในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การลงทุนใดก็ตามที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับนั้นย่อมสูงตามไปด้วย และที่ขาดไม่ได้ก็คือ โอกาสที่จะได้รับผลขาดทุนจากการลงทุนนั้นก็ย่อมที่จะมีสูงด้วย
หากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนำเงินลงทุนไปลงทุนในหุ้นสามัญ ผลตอบแทนที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับจากการลงทุนคือ เงินปันผลที่หุ้นสามัญจ่ายให้แก่ผู้ลงทุน และกำไรส่วนเกินทุน หรือกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ถ้าหุ้นสามัญมีราคาที่สูงขึ้นมากกว่าวันที่ได้นำเงินมาลงทุนในหุ้นสามัญนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับกำไรส่วนเกินทุน และความแน่นอนที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญนั้น จะมีความไม่แน่นอนสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่กองทุนร่วมลงทุนด้วย
ถ้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำเงินกองทุนไปลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และกำไรส่วนเกินทุน เพราะพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้น จะจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นสามัญ แต่หากกองทุนนำเงินทุนไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ความแน่นอนของการที่จะได้รับผลตอบแทนก้จะมีสูงมาก เพราะมีรัฐบาลเป็นประกัน แต่ถ้าลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ก็อาจมีโอกาสที่จะไม่ได้รับเงินตามที่กำหนดไว้ ถือว่าการลงทุนแบบนี้จะมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับกระแสเงินสดตามที่สัญญาไว้ในพันธบัตร (Default Risk)
หากลงทุนในตั๋วแลกเงิน ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพันธบัตร แต่มีระยะเวลาที่สั้นกว่า และทางเลือกในการลงทุนของกองทุนรวมก็สามารถลงทุนใน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงินได้เช่นเดียวกัน แต่ความเสี่ยงของการลงทุนนั้นก็จะลดลงตามลำดับ
นอกจากผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วนั้น ผู้ร่วมลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกประการหนึ่ง โดยหากเป็นกรณีของนายจ้างแล้วนั้น นายจ้างจะสามารถนำเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ และสำหรับลูกจ้างก็จะได้รับประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกัน คือ เงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายสมทบในแต่ละปีนั้น สามารถนำมาหักจากเงินได้ประจำปีของลูกจ้างได้ และหากลูกจ้างพ้นจากสมาชิกภาพ เนื่องจาก เกษียณอายุ ตาย หรือ ทุพพลภาพ เงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่ต้องนำมาเสียภาษีอีก
ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดความสามารถในการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นการวัดประเมินนี้เป็นการบอกว่าผู้ที่ร่วมสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น จะมีความพึงพอใจในการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุนมากน้อยเพียงใด
การวัดผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ต้องเป็นการวัดผลตอบแทนโดยรวม (Total Return) คือ ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง เช่นกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมกับผลตอบแทนที่ยังไม่เกิด เช่น กำไรขาดทุนที่สามารถประเมินได้ ณ วันที่ทำการคำนวณผลตอบแทน แต่กำไรขาดทุนนั้นยังไม่เกิดขึ้นจริง
การลงทุนในกองทุนรวมจะใช้เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ในการบันทึกผลตอบแทน คือเป็นการทะยอยรับรู้รายได้ ซึ่งจะต่างจากเกณฑ์เงินสด ที่ยังไม่รับรู้รายได้จนกว่าจะได้รับเงินสดจริง และจะต้องคำนวณอัตราผลตอบแทน หรือผลตอบแทน โดยกระทำทุกสิ้นวันหรือสิ้นงวด แล้วนำไปรวมกับมูลค่าของสินทรัพย์ ณ งวดก่อนหน้า และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อทำการคำนวณหาผลตอบแทน หรืออัตราผลตอบแทน ก็จะได้อัตราผลตอบแทนที่หักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเรียบร้อยแล้ว
การคำนวณผลตอบแทนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังจะต้องคำนึงถึงการเพิ่มหรือลดของจำนวนหน่วยลงทุน หรือมูลค่าลงทุน เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นจะมีการนำเงินเข้าสะสมทุกเดือน และมีการถอนออกบ่อยครั้ง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ การคำนวณผลตอบแทนจึงใช้วิธี Time Weighted Return เป็นการคำนวณผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยปลายงวด โดยเทียบกับต้นงวด
การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น มีวิธีการอื่น ๆ อีกที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่นการใช้ Sharpe’s Portfolio Performance Measure, Treynor’s Portfolio Performance Measure หรือ Jensen Intercept ซึ่งเป็นวิธีการประเมินที่นิยมใช้ในการวัดความเสี่ยงของการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน (Portfolio Investment) และเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประเมินผลการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน