คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
ในปัจจุบันการลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายเชิงรับ (Passive Investment) ถือเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุน แนวโน้มการลงทุนเน้นไปยังการปรับเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ และขณะเดียวกันก็ปรับลดสัดส่วนการลงทุนแบบนโยบายเชิงรุก เห็นได้จากในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 ในตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา การลงทุนในกองทุนรวมมียอดไถ่ถอนสุทธิ 50.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ ซึ่งเป็นกองทุนแบบเชิงรับกลับมียอดขายเพิ่มขึ้น 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น กองทุนอีทีเอฟจึงเป็นนวัตกรรมทางการลงทุนที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เพราะอีทีเอฟถือเป็นประเภทสินทรัพย์ที่มีความโปร่งใส มีต้นทุนและค่าธรรมเนียมการจัดการที่ต่ำ และมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง เหมาะแก่ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย
ตามผลการสำรวจของ Barclays Global Investor ณ สิ้นเดือนกันยายน ปี 2552 พบว่าอีทีเอฟทั่วโลกมีทั้งสิ้น 1,819 กองทุน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าร้อยละ 29 โดยครอบคลุม 40 ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และมีบริษัทที่จัดจำหน่ายกองทุนอีทีเอฟทั้งสิ้น 96 บริษัททั่วโลก โดยปี 2552 มีกองทุนอีทีเอฟที่จัดตั้งใหม่จำนวน 295 กองทุน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลกในปี 2551 มูลค่าสินทรัพย์ของอีทีเอฟทั่วโลกได้ลดลงไปบ้าง (ประมาณร้อยละ 18) คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง 133.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 729.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550 โดยเป็นผลจากการลดลงของมูลค่าของETFที่ลงทุนในตราสารทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในปี 2552 มูลค่าสินทรัพย์ของอีทีเอฟทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยได้ทำสถิติสูงสุดในเดือนกันยายน 2552 ภูมิภาคที่กองทุนอีทีเอฟมีอัตราการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์สูงสุด คือ เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในขณะที่ตลาดใหญ่ของกองทุนอีทีเอฟยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนอีทีเอฟลงทุน มีหลากหลายประเภท อาทิ หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของราคาจึงมีความแตกต่างกันบ้าง แต่โดยภาพรวมในปี 2552 กองทุนอีทีเอฟเกือบทุกประเภทหลักทรัพย์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.5 กองทุนที่อีทีเอฟที่ลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ก องทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ซึ่งในส่วนของตราสารทุนนั้น กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารทุนตลาดเกิดใหม่สามารถให้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 91.3 ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ในส่วนภูมิภาคเอเซีย เกือบทุกตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นตลาดเกาหลี ตลาดไต้หวัน ตลาดสิงคโปร์ ตลาดมาเลเซีย หรือแม้กระทั่งตลาดใหม่อย่างจีนและอินโดนีเซียได้มีการจัดตั้งและซื้อขายกองทุนอีทีเอฟแล้ว ประเทศนิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศแรกในการริเริ่มแนะนำกองทุนอีทีเอฟให้เป็นที่รู้จักแก่นักลงทุน ในขณะที่ฮ่องกงเป็นประเทศแรกในการนำกองทุนอีทีเอฟเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นั้นก็คือกองทุน Tracker Fund ของฮ่องกงที่เป็นกองทุนแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของภูมิภาคเอเซียในหมู่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีกองทุนอีทีเอฟที่จัดตั้งและจดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียทั้งสิ้น 180 กองทุน คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 62.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการผลักดันอีทีเอฟให้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2550 และในปัจจุบันอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีอยู่ด้วยกัน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ SET50 ETF , กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF และ กองทุนเปิดไทยเด็กซ์ FTSE SET LARGE CAP ETF หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 2,746.4 ล้านบาท โดยมีทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยภายในประเทศในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือกลุ่มละประมาณ 40% ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากนั้นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศของไทยส่วนหนึ่งก็ได้ลงทุนต่อในกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เนื่องจากต้องช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและประโยชน์ในการกระจายการลงทุน โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารสินค้าโภดภัณฑ์และตราสารทุนต่างประเทศ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากองทุนอีทีเอฟในตลาดโลกมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อนักลงทุน เห็นได้จากขนาดสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ กองทุนอีทีเอฟทั้งในและต่างประเทศ จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนและประหยัดค่าใช่จ่าย
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
ในปัจจุบันการลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายเชิงรับ (Passive Investment) ถือเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุน แนวโน้มการลงทุนเน้นไปยังการปรับเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ และขณะเดียวกันก็ปรับลดสัดส่วนการลงทุนแบบนโยบายเชิงรุก เห็นได้จากในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 ในตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา การลงทุนในกองทุนรวมมียอดไถ่ถอนสุทธิ 50.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ ซึ่งเป็นกองทุนแบบเชิงรับกลับมียอดขายเพิ่มขึ้น 47.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น กองทุนอีทีเอฟจึงเป็นนวัตกรรมทางการลงทุนที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เพราะอีทีเอฟถือเป็นประเภทสินทรัพย์ที่มีความโปร่งใส มีต้นทุนและค่าธรรมเนียมการจัดการที่ต่ำ และมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง เหมาะแก่ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย
ตามผลการสำรวจของ Barclays Global Investor ณ สิ้นเดือนกันยายน ปี 2552 พบว่าอีทีเอฟทั่วโลกมีทั้งสิ้น 1,819 กองทุน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าร้อยละ 29 โดยครอบคลุม 40 ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และมีบริษัทที่จัดจำหน่ายกองทุนอีทีเอฟทั้งสิ้น 96 บริษัททั่วโลก โดยปี 2552 มีกองทุนอีทีเอฟที่จัดตั้งใหม่จำนวน 295 กองทุน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลกในปี 2551 มูลค่าสินทรัพย์ของอีทีเอฟทั่วโลกได้ลดลงไปบ้าง (ประมาณร้อยละ 18) คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง 133.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 729.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550 โดยเป็นผลจากการลดลงของมูลค่าของETFที่ลงทุนในตราสารทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในปี 2552 มูลค่าสินทรัพย์ของอีทีเอฟทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยได้ทำสถิติสูงสุดในเดือนกันยายน 2552 ภูมิภาคที่กองทุนอีทีเอฟมีอัตราการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์สูงสุด คือ เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในขณะที่ตลาดใหญ่ของกองทุนอีทีเอฟยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนอีทีเอฟลงทุน มีหลากหลายประเภท อาทิ หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของราคาจึงมีความแตกต่างกันบ้าง แต่โดยภาพรวมในปี 2552 กองทุนอีทีเอฟเกือบทุกประเภทหลักทรัพย์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.5 กองทุนที่อีทีเอฟที่ลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ก องทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ซึ่งในส่วนของตราสารทุนนั้น กองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารทุนตลาดเกิดใหม่สามารถให้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 91.3 ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ในส่วนภูมิภาคเอเซีย เกือบทุกตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นตลาดเกาหลี ตลาดไต้หวัน ตลาดสิงคโปร์ ตลาดมาเลเซีย หรือแม้กระทั่งตลาดใหม่อย่างจีนและอินโดนีเซียได้มีการจัดตั้งและซื้อขายกองทุนอีทีเอฟแล้ว ประเทศนิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศแรกในการริเริ่มแนะนำกองทุนอีทีเอฟให้เป็นที่รู้จักแก่นักลงทุน ในขณะที่ฮ่องกงเป็นประเทศแรกในการนำกองทุนอีทีเอฟเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นั้นก็คือกองทุน Tracker Fund ของฮ่องกงที่เป็นกองทุนแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของภูมิภาคเอเซียในหมู่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีกองทุนอีทีเอฟที่จัดตั้งและจดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียทั้งสิ้น 180 กองทุน คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 62.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการผลักดันอีทีเอฟให้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2550 และในปัจจุบันอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีอยู่ด้วยกัน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ SET50 ETF , กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF และ กองทุนเปิดไทยเด็กซ์ FTSE SET LARGE CAP ETF หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 2,746.4 ล้านบาท โดยมีทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยภายในประเทศในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือกลุ่มละประมาณ 40% ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากนั้นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศของไทยส่วนหนึ่งก็ได้ลงทุนต่อในกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เนื่องจากต้องช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและประโยชน์ในการกระจายการลงทุน โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารสินค้าโภดภัณฑ์และตราสารทุนต่างประเทศ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากองทุนอีทีเอฟในตลาดโลกมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อนักลงทุน เห็นได้จากขนาดสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ กองทุนอีทีเอฟทั้งในและต่างประเทศ จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนและประหยัดค่าใช่จ่าย