บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส หวังหารายได้เพิ่ม แนะบลจ.ไทยลงทุนอีทีเอฟต่างประเทศ เชื่อเป็นเครื่องบริหารพอร์ตลงทุนที่ดี เน้นลุยประเทศสิงคโปร์
นางภัทรีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการเชิญผู้จัดการกองทุนในประเทศ เข้าร่วมฟังจำนวน 40-50 คน เข้าร่วมงานสัมมนา “ETF Conference for Professional Money Manager 2009” เพื่อให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนอีทีเอฟในต่างประเทศ ซึ่งได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านอีทีเอฟ จากหลายองค์กร เช่น Deutsche Bank,Lyxor International Asset Management,World Gold Council, DBS Bank DBS Asset Management ในการให้ข้อมูลต่างๆ เช่น ภาวพรวมของกองทุนอีทีเอฟทั่วโลก รวมถึงนวตกรรมใหม่ๆในช่วงที่ผ่านมา บทบาทของตัวแทนขายหน่วยลงทุน และ ผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เกตเมคเกอร์)กับการเสริมสภาพคล่องในตลาดอีทีเอฟ
นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลผลประกอบการของอีทีเอฟ และการใช้อีทีเอฟในการลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมทั่งรับฟังมุมมองในเรื่องการลงทุนในตลาดทองคำด้วย ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้ผู้จัดการกองทุนไทย สามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาบริหารพอร์ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น และหากต้องการที่จะมีการออกสินค้าเพื่อเสนอขายหน่วยแก่นักลงทุน และยังเป็นการเปิดโอกาสในการลงทุนให้กับนักลงทุนไทยในการไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุน
ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เนื่องจาก ต้องการแนะนำและให้ข้อมูลกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศ ให้กับผู้จัดการกองทุนไทยได้ทราบ และหากสนใจที่จะลงทุนในกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศสามารถซื้อผ่านบล.ดีบีเอสฯได้ โดยจะเน้นกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ก่อน
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนอีทีเอฟถือว่าเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ เพราะแทนที่จะซื้อหุ้นเป็นรายตัว แต่หากลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟนั้นเท่ากับลงทุนในหุ้นหลายๆตัวรวมกัน โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าประเภทกองทุนอีทีเอฟได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ทำให้ประมาณการซื้อขายเพิ่มขึนอย่างมาก อีกทั้งมีการออกกองทุนอีทีเอฟประเภทใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง นอกจากกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงกับดัชนีหุ้น แล้ว ยังมีการออกกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น กองทุนอีทีเอฟอิงกับทองคำ
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศได้นำหลักทรัพย์ประเภทกองทุนอีทีเอฟเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีกองทุนอีทีเอฟอยู่จำนวน 2 หลักทรัพย์ คือ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) และ กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF (ENGY) ส่วนในตลาดเพื่อนบ้าน เช่น ตลาดหลกทรัพย์สิงคโปร์ ปัจจุบันมีอีทีเอฟ ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 35 หลักทรัพย์
นางภัทรีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการเชิญผู้จัดการกองทุนในประเทศ เข้าร่วมฟังจำนวน 40-50 คน เข้าร่วมงานสัมมนา “ETF Conference for Professional Money Manager 2009” เพื่อให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนอีทีเอฟในต่างประเทศ ซึ่งได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านอีทีเอฟ จากหลายองค์กร เช่น Deutsche Bank,Lyxor International Asset Management,World Gold Council, DBS Bank DBS Asset Management ในการให้ข้อมูลต่างๆ เช่น ภาวพรวมของกองทุนอีทีเอฟทั่วโลก รวมถึงนวตกรรมใหม่ๆในช่วงที่ผ่านมา บทบาทของตัวแทนขายหน่วยลงทุน และ ผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เกตเมคเกอร์)กับการเสริมสภาพคล่องในตลาดอีทีเอฟ
นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลผลประกอบการของอีทีเอฟ และการใช้อีทีเอฟในการลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมทั่งรับฟังมุมมองในเรื่องการลงทุนในตลาดทองคำด้วย ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้ผู้จัดการกองทุนไทย สามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาบริหารพอร์ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น และหากต้องการที่จะมีการออกสินค้าเพื่อเสนอขายหน่วยแก่นักลงทุน และยังเป็นการเปิดโอกาสในการลงทุนให้กับนักลงทุนไทยในการไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุน
ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เนื่องจาก ต้องการแนะนำและให้ข้อมูลกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศ ให้กับผู้จัดการกองทุนไทยได้ทราบ และหากสนใจที่จะลงทุนในกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศสามารถซื้อผ่านบล.ดีบีเอสฯได้ โดยจะเน้นกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ก่อน
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนอีทีเอฟถือว่าเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ เพราะแทนที่จะซื้อหุ้นเป็นรายตัว แต่หากลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟนั้นเท่ากับลงทุนในหุ้นหลายๆตัวรวมกัน โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าประเภทกองทุนอีทีเอฟได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ทำให้ประมาณการซื้อขายเพิ่มขึนอย่างมาก อีกทั้งมีการออกกองทุนอีทีเอฟประเภทใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง นอกจากกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงกับดัชนีหุ้น แล้ว ยังมีการออกกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น กองทุนอีทีเอฟอิงกับทองคำ
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศได้นำหลักทรัพย์ประเภทกองทุนอีทีเอฟเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีกองทุนอีทีเอฟอยู่จำนวน 2 หลักทรัพย์ คือ กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) และ กองทุนเปิด Mtrack Energy ETF (ENGY) ส่วนในตลาดเพื่อนบ้าน เช่น ตลาดหลกทรัพย์สิงคโปร์ ปัจจุบันมีอีทีเอฟ ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 35 หลักทรัพย์