บลจ. เอ็มเอฟซี จับจังหวะเศรษฐกิจโลก ส่งสัญญาณฟื้นตัว ส่ง "เอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เครดิต ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์" ลุยตราสารหนี้เอกชนทั่วโลก เน้นกลยุทธ์ Top Down Approach สร้างโอกาสผลตอบแทนที่ดี เปิดขายไอพีโอ 8-15 กันยายนนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ซึ่งตราสารที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ จะเป็น ETF ของดัชนีตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ และเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารสหรัฐ โดยเพิ่มปริมาณเงินในระบบเป็นผลดีต่อภาคเอกชนและเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ช่วงห่างระหว่าง Treasury Bond และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่อายุยาวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนของ US Corporate Bond อยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะเข้าลงทุน
นอกจากนี้ Credit Spread ของตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน โดย Credit Spread ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรปมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามกัน เช่นเดียวกับตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจของตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ หลังมีการปรับลดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ เปิดขายไอพีโอ
ทั้งนี้ จากแนวโน้มดังกล่าว บลจ.เอ็มเอฟซี จึงเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เครดิต ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ หรือ I-Credit ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก โดยจะคัดเลือกและวิเคราะห์การลงทุนในประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยกองทุนเปิด I-Credit เปิดขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 8-15 กันยายนนี้ หลังจากจดทะเบียนกองทุนเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลอย่างน้อยปีละครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิ และกำไรส่วนเกินทุนจากการขายคืนหน่วยลงทุน
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับการลงทุนของ บลจ.เอ็มเอฟซี มีกระบวนการคัดเลือกตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งในส่วนของกองทุนเปิด I-Credit จะทำการวิเคราะห์ Top Down Approach ให้เหมาะกับช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสผลตอบแทนที่ดีภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาความมั่นคงและแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ลงทุน ตลอดจนนโยบายทางการเงินและการคลัง ภาวะอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยที่มีผลกระทบกับอัตราผลตอบแทนของตราสารที่เลือกลงทุน และความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร นอกจากนี้ กองทุนเปิด I-Credit ยังมีวิธีบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยกำหนดสัดส่วนจากการวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนกับพอร์ตการลงทุนด้วย
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ซึ่งตราสารที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ จะเป็น ETF ของดัชนีตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ และเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารสหรัฐ โดยเพิ่มปริมาณเงินในระบบเป็นผลดีต่อภาคเอกชนและเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ช่วงห่างระหว่าง Treasury Bond และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่อายุยาวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาตราสารหนี้ภาคเอกชนของ US Corporate Bond อยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะเข้าลงทุน
นอกจากนี้ Credit Spread ของตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน โดย Credit Spread ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรปมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามกัน เช่นเดียวกับตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจของตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ หลังมีการปรับลดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ เปิดขายไอพีโอ
ทั้งนี้ จากแนวโน้มดังกล่าว บลจ.เอ็มเอฟซี จึงเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เครดิต ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ หรือ I-Credit ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก โดยจะคัดเลือกและวิเคราะห์การลงทุนในประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยกองทุนเปิด I-Credit เปิดขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 8-15 กันยายนนี้ หลังจากจดทะเบียนกองทุนเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลอย่างน้อยปีละครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิ และกำไรส่วนเกินทุนจากการขายคืนหน่วยลงทุน
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับการลงทุนของ บลจ.เอ็มเอฟซี มีกระบวนการคัดเลือกตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งในส่วนของกองทุนเปิด I-Credit จะทำการวิเคราะห์ Top Down Approach ให้เหมาะกับช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสผลตอบแทนที่ดีภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาความมั่นคงและแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ลงทุน ตลอดจนนโยบายทางการเงินและการคลัง ภาวะอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยที่มีผลกระทบกับอัตราผลตอบแทนของตราสารที่เลือกลงทุน และความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร นอกจากนี้ กองทุนเปิด I-Credit ยังมีวิธีบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยกำหนดสัดส่วนจากการวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนกับพอร์ตการลงทุนด้วย