"ธนาคารของเกาหลีใต้ถือว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภาคสถาบันการเงินค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีมูลค่าสูงกว่าเงินสำรองต่างประเทศและอยู่ต่ำกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดของเกาหลีใต้เพียงเล็กน้อย"
ขณะนี้สิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกต่างพากันหวาดวิตกมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นวิกฤตในภาคสถาบันการเงินที่ลุกลามมาจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ไม่เว้นแม้แต่ภาคสถาบันการเงินในทวีปเอเชียที่อยู่ห่างออกไปไกล โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลของวิกฤตดังกล่าวต่อธนาคารในเกาหลีใต้ โดยระบุว่า ธนาคารของเกาหลีใต้ถือว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภาคสถาบันการเงินค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะเดียวกันหนี้ต่างประเทศของเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงกว่าเงินสำรองต่างประเทศและอยู่ต่ำกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดของเกาหลีใต้เพียงเล็กน้อย โดยหนี้ต่างประเทศของเกาหลีใต้ครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศในภาคธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสร้างความกังวลว่าฐานะภาคธนาคารของเกาหลีใต้จะมีความมั่นคงเพียงใดภายใต้สถานการณ์เปราะบางนี้
ทั้งนี้ภายใต้ภาวะวิกฤตสภาพคล่องตึงตัวทั่วโลก ประเทศเกาหลีใต้ได้ดำเนินนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินในประเทศ สำหรับมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารในประเทศ ทางการเกาหลีใต้ใช้เงินสำรองต่างประเทศพยุงตลาดไม่ให้ผันผวนมากนัก ด้วยการเพิ่มเงินสกุลต่างประเทศผ่านธนาคารภาครัฐเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับตลาด และรัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้มีแผนเจรจากับธนาคารสหรัฐฯ เพื่อขอต่ออายุวงเงินเครคิตให้กับธนาคารเกาหลีใต้ในภาวะที่ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างหนัก นอกจากนี้ทางการเกาหลีใต้ยังเพิ่มปริมาณเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจส่งออก SMEs ที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศด้วย
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอีกหลากหลายที่ท้าทายเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 เนื่องมาจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกจากวิกฤตภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัวแพร่ไปประเทศต่างๆ รวมทั้งเกาหลีใต้ด้วยซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภาคธนาคารเกาหลีใต้และอาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของเกาหลีใต้ในที่สุด ซึ่งกล่าวได้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 ต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งจากปัญหาภาคการเงินโลก และความต้องการภายในประเทศที่ชะลอตัวเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาที่ส่งผลให้ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศชะลอลง และต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สรุปปัจจัยท้าทายหลายประการที่ส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 ดังต่อไปนี้
1.วิกฤตสภาพคล่องทางการเงิน & เงินสำรองต่างประเทศปรับลดลง :วิกฤตสภาพคล่องทางการเงินส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารเกาหลีใต้ ทำให้ทางการต้องใช้เงินสำรองต่างประเทศ (Foreign Reserve) ช่วยธนาคารในประเทศที่ประสบปัญหา นอกจากนี้สถานการณ์ที่ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างหนักในปัจจุบัน ทำให้รัฐมนตรีการคลังของเกาหลีใต้มีแผนเจรจากับธนาคารสหรัฐฯ เพื่อขอต่ออายุวงเงินเครดิตให้กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ยังส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภาคธนาคารพาณิชย์
2.ฟองสบู่ภาคสินเชื่อ & หนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์เกาหลีใต้อยู่ในระดับสูง : ภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้มีอัตราเงินกู้ต่อเงินฝาก (loan-to-deposit ratios) ในระดับค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามอัตราขยายตัวของเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ชะลอลงอย่างรวดเร็วทั้งการให้กู้กับภาคครัวเรือนและการให้กู้กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินโลก ซึ่งช่วยลดอัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากที่อยู่ในระดับสูงของภาคธนาคารให้ต่ำลง ขณะที่หนี้สินต่างประเทศของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น โดยครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์
3.ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี : ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 โดยค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างมากมีสาเหตุมาจาก แรงกดดันของเงินทุนไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ในภาวะที่เกิดปัญหาภาคการเงินโลกและเกิดสภาพคล่องตึงตัว จนทำให้นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนออกจากตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเอเชีย และเงินวอนเกาหลีใต้ยังได้รับปัจจัยลบจากดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลที่พุ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินของเกาหลีใต้ประสบความยากลำบากในการหาเงินทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องขายเงินวอนเพื่อถือดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกดดันให้ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงอีก
4.ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2540 : แม้การส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่การนำเข้าของเกาหลีใต้ที่เร่งตัวขึ้นกลับส่งผลให้ดุลการค้าของเกาหลีใต้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มียอดขาดดุลกว่า 14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันต้องเผชิญกับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
"ผลกระทบจากวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกต่อภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้ค่อนข้างรุนแรง ถือเป็นปัญหาเปราะบางที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภาคการธนาคารเกาหลีใต้ เนื่องจากปัญหาฟองสบู่ภาคสินเชื่อภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศ และในภาวะที่ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงอย่างมาก ทำให้หนี้ต่างประเทศมีมูลค่าสูงขึ้น" ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้มุมมองไว้
การที่ทางการเกาหลีใต้ดำเนินมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในประเทศโดยใช้เงินสำรองต่างประเทศ น่าจะส่งผลให้เงินสำรองต่างประเทศปรับลดลง โดยในปัจจุบันหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดของเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดเพียงเล็กน้อย แต่อยู่สูงกว่าเงินสำรองต่างประเทศ ซึ่งปัญหาของภาคการเงินเกาหลีใต้ครั้งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทางการเกาหลีใต้คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัญหาภาคการเงินอาจส่งผลลุกลามต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมตามมา
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยด้านบวกบางประการที่จะช่วยบรรเทาภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ เช่น แนวโน้มราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่คาดว่ายังคงอยู่ในระดับชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้และครึ่งปีแรกของปี 2552 ตามภาวะเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างมาก จะช่วยให้สินค้าส่งออกของเกาหลีใต้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในตลาดส่งออก และส่งผลดีต่อการขยายตัวด้านส่งออกในภาวะที่อุปสงค์ความต้องการในตลาดส่งออกสำคัญๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปอ่อนแรงลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งแนวโน้มการชะลอตัวของการนำเข้าและการส่งออกที่น่าจะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยข้างต้นจะช่วยบรรเทาภาวะขาดดุลการค้าในขณะนี้ให้ชะลอลง และคาดว่าจะลดแรงกดดันภาวะขาดดุลดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยท่ามกลางปัญหาหลายด้านรุมเร้าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 นี้ ศูนย์วิจัยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะชะลอลงเหลือร้อยละ 4 จากที่เติบโตร้อยละ 5 ในปี 2550
ขณะนี้สิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกต่างพากันหวาดวิตกมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นวิกฤตในภาคสถาบันการเงินที่ลุกลามมาจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ไม่เว้นแม้แต่ภาคสถาบันการเงินในทวีปเอเชียที่อยู่ห่างออกไปไกล โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลของวิกฤตดังกล่าวต่อธนาคารในเกาหลีใต้ โดยระบุว่า ธนาคารของเกาหลีใต้ถือว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภาคสถาบันการเงินค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะเดียวกันหนี้ต่างประเทศของเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงกว่าเงินสำรองต่างประเทศและอยู่ต่ำกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดของเกาหลีใต้เพียงเล็กน้อย โดยหนี้ต่างประเทศของเกาหลีใต้ครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศในภาคธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสร้างความกังวลว่าฐานะภาคธนาคารของเกาหลีใต้จะมีความมั่นคงเพียงใดภายใต้สถานการณ์เปราะบางนี้
ทั้งนี้ภายใต้ภาวะวิกฤตสภาพคล่องตึงตัวทั่วโลก ประเทศเกาหลีใต้ได้ดำเนินนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินในประเทศ สำหรับมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารในประเทศ ทางการเกาหลีใต้ใช้เงินสำรองต่างประเทศพยุงตลาดไม่ให้ผันผวนมากนัก ด้วยการเพิ่มเงินสกุลต่างประเทศผ่านธนาคารภาครัฐเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับตลาด และรัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้มีแผนเจรจากับธนาคารสหรัฐฯ เพื่อขอต่ออายุวงเงินเครคิตให้กับธนาคารเกาหลีใต้ในภาวะที่ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างหนัก นอกจากนี้ทางการเกาหลีใต้ยังเพิ่มปริมาณเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจส่งออก SMEs ที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศด้วย
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอีกหลากหลายที่ท้าทายเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 เนื่องมาจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกจากวิกฤตภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัวแพร่ไปประเทศต่างๆ รวมทั้งเกาหลีใต้ด้วยซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภาคธนาคารเกาหลีใต้และอาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของเกาหลีใต้ในที่สุด ซึ่งกล่าวได้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 ต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งจากปัญหาภาคการเงินโลก และความต้องการภายในประเทศที่ชะลอตัวเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาที่ส่งผลให้ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศชะลอลง และต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สรุปปัจจัยท้าทายหลายประการที่ส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 ดังต่อไปนี้
1.วิกฤตสภาพคล่องทางการเงิน & เงินสำรองต่างประเทศปรับลดลง :วิกฤตสภาพคล่องทางการเงินส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารเกาหลีใต้ ทำให้ทางการต้องใช้เงินสำรองต่างประเทศ (Foreign Reserve) ช่วยธนาคารในประเทศที่ประสบปัญหา นอกจากนี้สถานการณ์ที่ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างหนักในปัจจุบัน ทำให้รัฐมนตรีการคลังของเกาหลีใต้มีแผนเจรจากับธนาคารสหรัฐฯ เพื่อขอต่ออายุวงเงินเครดิตให้กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ยังส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภาคธนาคารพาณิชย์
2.ฟองสบู่ภาคสินเชื่อ & หนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์เกาหลีใต้อยู่ในระดับสูง : ภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้มีอัตราเงินกู้ต่อเงินฝาก (loan-to-deposit ratios) ในระดับค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามอัตราขยายตัวของเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ชะลอลงอย่างรวดเร็วทั้งการให้กู้กับภาคครัวเรือนและการให้กู้กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินโลก ซึ่งช่วยลดอัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากที่อยู่ในระดับสูงของภาคธนาคารให้ต่ำลง ขณะที่หนี้สินต่างประเทศของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น โดยครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์
3.ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี : ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 โดยค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างมากมีสาเหตุมาจาก แรงกดดันของเงินทุนไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ในภาวะที่เกิดปัญหาภาคการเงินโลกและเกิดสภาพคล่องตึงตัว จนทำให้นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนออกจากตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเอเชีย และเงินวอนเกาหลีใต้ยังได้รับปัจจัยลบจากดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลที่พุ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินของเกาหลีใต้ประสบความยากลำบากในการหาเงินทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องขายเงินวอนเพื่อถือดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกดดันให้ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงอีก
4.ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2540 : แม้การส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่การนำเข้าของเกาหลีใต้ที่เร่งตัวขึ้นกลับส่งผลให้ดุลการค้าของเกาหลีใต้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มียอดขาดดุลกว่า 14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันต้องเผชิญกับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
"ผลกระทบจากวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกต่อภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้ค่อนข้างรุนแรง ถือเป็นปัญหาเปราะบางที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภาคการธนาคารเกาหลีใต้ เนื่องจากปัญหาฟองสบู่ภาคสินเชื่อภาคธนาคารพาณิชย์ของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศ และในภาวะที่ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงอย่างมาก ทำให้หนี้ต่างประเทศมีมูลค่าสูงขึ้น" ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้มุมมองไว้
การที่ทางการเกาหลีใต้ดำเนินมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในประเทศโดยใช้เงินสำรองต่างประเทศ น่าจะส่งผลให้เงินสำรองต่างประเทศปรับลดลง โดยในปัจจุบันหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดของเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดเพียงเล็กน้อย แต่อยู่สูงกว่าเงินสำรองต่างประเทศ ซึ่งปัญหาของภาคการเงินเกาหลีใต้ครั้งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทางการเกาหลีใต้คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัญหาภาคการเงินอาจส่งผลลุกลามต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมตามมา
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยด้านบวกบางประการที่จะช่วยบรรเทาภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ เช่น แนวโน้มราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่คาดว่ายังคงอยู่ในระดับชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้และครึ่งปีแรกของปี 2552 ตามภาวะเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ค่าเงินวอนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างมาก จะช่วยให้สินค้าส่งออกของเกาหลีใต้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในตลาดส่งออก และส่งผลดีต่อการขยายตัวด้านส่งออกในภาวะที่อุปสงค์ความต้องการในตลาดส่งออกสำคัญๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปอ่อนแรงลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งแนวโน้มการชะลอตัวของการนำเข้าและการส่งออกที่น่าจะขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยข้างต้นจะช่วยบรรเทาภาวะขาดดุลการค้าในขณะนี้ให้ชะลอลง และคาดว่าจะลดแรงกดดันภาวะขาดดุลดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยท่ามกลางปัญหาหลายด้านรุมเร้าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2551 นี้ ศูนย์วิจัยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะชะลอลงเหลือร้อยละ 4 จากที่เติบโตร้อยละ 5 ในปี 2550