ผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนต่างประเทศ เทขายหุ้นไทยต่ออีกเฉียด 2 หมื่นล้านบาท ในระยะเวลาแค่ 9 วันทำการ หลัง "สมัคร สุนทรเวช" อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปีทะลุ 1.16 แสนล้านบาท ด้านโบรกเกอร์ ฟันธงแนวโน้มตลาดหุ้นยังผันผวนหนัก สั่งจับตา 3 ปัจจัยหลักทั้งเฟด-การเมือง-ราคาน้ำมัน แม้อาจได้รับผลดีจากการยกเลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุต่างชาติอาจขายหุ้นยาวถึงสิ้นปีนี้ หากสถานการณ์ทางการเมือยังคงยืดเยื้อ
ในที่สุด วานนี้ (14 ก.ย.) รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผลงานชิ้นโบแดงของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. 51 ที่ผ่านมา และได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงตลาดหุ้นไทยเองก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
จากการสำรวจดัชนีตลาดหุ้นไทยหลังจากที่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างผันผวน จากราคาปิด ณ ระดับ 675.22 จุด (1 ก.ย. ก่อนประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) และล่าสุด 12 ก.ย. ปิดที่ 654.34 จุด ระยะเวลา 9 วันทำการดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง 20.88 จุด คิดเป็น 3.09%
ขณะที่ประเด็นสำคัญคือ ความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศต่อตลาดหุ้นไทย หลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายสุทธิรวม 9 วันทำการสูงกว่า 18,311.16 ล้านบาท และทำให้ยอดขายสุทธิรวมตั้งแต่ต้นปีเพิ่มสูงขึ้นเป็น 116,365.54 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้จะมีความผันผวนสูง จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ การประชุมของธนาคารสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 16 กันยายนนี้ หากเฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% และชี้แจงว่าสามารถควบคุมปัญหาเศรษฐกิจได้ จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งจะส่งผลให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุน ด้วยการนำเงินกลับมาลงทุนในตลาดหุ้น แทนตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
ในทางกลับกัน หากเฟดคงดอกเบี้ย แต่ยังไม่ทราบผลความรุนแรงของปัญหา จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก จากที่ไม่ทราบทิศทางความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น แต่หากประเมินว่าปัญหามีความรุนแรงลดลงนั้นก็จะส่งผลดี
สำหรับปัจจัยในประเทศ จะต้องติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 กันยายนนี้ ว่าจะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาและยุติปัญหาความขัดแย้ง หรือจะเป็นบุคคลที่เข้ามาสร้างความแตกแยกไม่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ประเด็นสุดท้าย แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก หากน้ำมันเบรนท์ ต่ำกว่า 95 เหรียญต่อบาร์เรล จะมีแนวโน้มราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้อีก 10 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานให้มีการปรับตัวลดลง แต่หากราคาน้ำมันสูงหว่า 95 เหรียญฯ ก็มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะกลับขึ้นไปอยู่ที่ 100-105 เหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่าสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยจะผันผวนสูงปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงและลงแรงจาก ซึ่งจากสัญญาณทางเทคนิค ซึ่งดัชนีปรับตัวต่ำกว่า 655 จุด ดัชนีจะลดลงได้ 20-30 จุด ไปอยู่ที่ 630 จุด แต่หากปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 655 จุด ดัชนีตลาดหุ้นก็จะปรับขึ้น 20-30 จุด ไปอยู่ที่ระดับ 675-680 จุด
"ตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ผันผวนสูงเป็นตลาดแห่งการเก็งกำไร จาก 3 ปัจจัย คือ การประชุมเฟด การเลือกนายกฯ และราคาน้ำมัน โดยให้น้ำหนักไปที่ปัจจัยต่างประเทศ ว่า เฟดจะสามารถควบคุมปัญหาได้หรือไม่ หากปัญหาลดความรุนแรงลงจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น แม้จะคงดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ ขณะเดียวกันหากการเมืองในประเทศคลี่คลายไปในทางที่ดี ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เพียงไม่กี่วัน" นายอดิศักดิ์ กล่าว
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคทีบี กล่าวว่า ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้จะผันผวนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองจะเป็นไปในทิศทางใด ใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งตลาดหุ้นตอบรับข่าวเป็นระยะ ส่วนการประชุมเฟดคงไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นแต่อย่างใด และเชื่อว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2%
สำหรับมูลค่าการซื้อขายเชื่อว่าจะเบาบางระดับไม่ถึง 10,000 ล้านบาท จากนักลงทุนชะลอดูปัจจัยต่างๆที่จะเข้ามามีผลต่อการลงทุน และเชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังคงมีการขายหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่หลังจากที่มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอขายหุ้นไทย
"ตั้งแต่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่างชาติ ขายหุ้นไทยสุทธิต่อเนื่อง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 642-632 จุด แนวต้าน 656-670 จุด โดยปัจจุบันราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงมาจำนวนมากถือว่าเป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน"
นายชัย จีรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ คาดว่านักลงทุนจะยังคงชะลอการลงทุน เพื่อรอดูผลการประชุมเฟด (16 ก.ย.) และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี (17 ก.ย.) โดยให้แนวรับที่ 640 จุด แนวต้านที่ 670-675 จุด ขณะที่หุ้นที่น่าลงทุนยังเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และกลุ่มสื่อสาร
"นักลงทุนต่างชาติยังมีแนวโน้มเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เพราะต่างชาติยังกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน"
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวน โดยนักลงทุนชะลอการลงทุน และให้ความสำคัญจากปัจจัยภายในประเทศจากสถานการณ์ทางการเมือง ที่สภาผู้แทนราษฎร์ในวันพุธนี้เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รวมถึงทิศทางสภาพเศรษฐกิจในตลาดในเอเชีย
"สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้ออาจจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และยาวถึงสิ้นปีนี้ หลังจากที่ได้เทขายออกมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา"
ในที่สุด วานนี้ (14 ก.ย.) รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผลงานชิ้นโบแดงของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. 51 ที่ผ่านมา และได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงตลาดหุ้นไทยเองก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
จากการสำรวจดัชนีตลาดหุ้นไทยหลังจากที่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างผันผวน จากราคาปิด ณ ระดับ 675.22 จุด (1 ก.ย. ก่อนประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) และล่าสุด 12 ก.ย. ปิดที่ 654.34 จุด ระยะเวลา 9 วันทำการดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง 20.88 จุด คิดเป็น 3.09%
ขณะที่ประเด็นสำคัญคือ ความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศต่อตลาดหุ้นไทย หลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายสุทธิรวม 9 วันทำการสูงกว่า 18,311.16 ล้านบาท และทำให้ยอดขายสุทธิรวมตั้งแต่ต้นปีเพิ่มสูงขึ้นเป็น 116,365.54 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้จะมีความผันผวนสูง จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ การประชุมของธนาคารสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 16 กันยายนนี้ หากเฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% และชี้แจงว่าสามารถควบคุมปัญหาเศรษฐกิจได้ จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งจะส่งผลให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุน ด้วยการนำเงินกลับมาลงทุนในตลาดหุ้น แทนตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
ในทางกลับกัน หากเฟดคงดอกเบี้ย แต่ยังไม่ทราบผลความรุนแรงของปัญหา จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก จากที่ไม่ทราบทิศทางความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น แต่หากประเมินว่าปัญหามีความรุนแรงลดลงนั้นก็จะส่งผลดี
สำหรับปัจจัยในประเทศ จะต้องติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 กันยายนนี้ ว่าจะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาและยุติปัญหาความขัดแย้ง หรือจะเป็นบุคคลที่เข้ามาสร้างความแตกแยกไม่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ประเด็นสุดท้าย แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก หากน้ำมันเบรนท์ ต่ำกว่า 95 เหรียญต่อบาร์เรล จะมีแนวโน้มราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้อีก 10 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานให้มีการปรับตัวลดลง แต่หากราคาน้ำมันสูงหว่า 95 เหรียญฯ ก็มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะกลับขึ้นไปอยู่ที่ 100-105 เหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่าสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยจะผันผวนสูงปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงและลงแรงจาก ซึ่งจากสัญญาณทางเทคนิค ซึ่งดัชนีปรับตัวต่ำกว่า 655 จุด ดัชนีจะลดลงได้ 20-30 จุด ไปอยู่ที่ 630 จุด แต่หากปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 655 จุด ดัชนีตลาดหุ้นก็จะปรับขึ้น 20-30 จุด ไปอยู่ที่ระดับ 675-680 จุด
"ตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ผันผวนสูงเป็นตลาดแห่งการเก็งกำไร จาก 3 ปัจจัย คือ การประชุมเฟด การเลือกนายกฯ และราคาน้ำมัน โดยให้น้ำหนักไปที่ปัจจัยต่างประเทศ ว่า เฟดจะสามารถควบคุมปัญหาได้หรือไม่ หากปัญหาลดความรุนแรงลงจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น แม้จะคงดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ ขณะเดียวกันหากการเมืองในประเทศคลี่คลายไปในทางที่ดี ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เพียงไม่กี่วัน" นายอดิศักดิ์ กล่าว
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคทีบี กล่าวว่า ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้จะผันผวนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองจะเป็นไปในทิศทางใด ใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งตลาดหุ้นตอบรับข่าวเป็นระยะ ส่วนการประชุมเฟดคงไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นแต่อย่างใด และเชื่อว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2%
สำหรับมูลค่าการซื้อขายเชื่อว่าจะเบาบางระดับไม่ถึง 10,000 ล้านบาท จากนักลงทุนชะลอดูปัจจัยต่างๆที่จะเข้ามามีผลต่อการลงทุน และเชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังคงมีการขายหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่หลังจากที่มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอขายหุ้นไทย
"ตั้งแต่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่างชาติ ขายหุ้นไทยสุทธิต่อเนื่อง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 642-632 จุด แนวต้าน 656-670 จุด โดยปัจจุบันราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงมาจำนวนมากถือว่าเป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน"
นายชัย จีรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ คาดว่านักลงทุนจะยังคงชะลอการลงทุน เพื่อรอดูผลการประชุมเฟด (16 ก.ย.) และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี (17 ก.ย.) โดยให้แนวรับที่ 640 จุด แนวต้านที่ 670-675 จุด ขณะที่หุ้นที่น่าลงทุนยังเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และกลุ่มสื่อสาร
"นักลงทุนต่างชาติยังมีแนวโน้มเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เพราะต่างชาติยังกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน"
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวน โดยนักลงทุนชะลอการลงทุน และให้ความสำคัญจากปัจจัยภายในประเทศจากสถานการณ์ทางการเมือง ที่สภาผู้แทนราษฎร์ในวันพุธนี้เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รวมถึงทิศทางสภาพเศรษฐกิจในตลาดในเอเชีย
"สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้ออาจจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และยาวถึงสิ้นปีนี้ หลังจากที่ได้เทขายออกมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา"