นายกสมาคมบลจ.ตั้งเป้ากองทุนรวมโต 10 ล้านบัญชีใน 5 ปี หลังนักลงทุนให้ความสนใจเพิ่มแตะ 2 ล้านบัญชี ดันเอ็นเอวีทั้งระบบโตกว่า 1.7 ล้านล้านบาท มั่นใจยอดรวมปี52 ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 20% พร้อมแนะติดอาวุธทางปัญญา เพิ่มหลักสูตรด้านการลงทุน และกองทุนรวมตั้งแต่ระดับเยาวชน เพื่อความได้เปรียบในอนาคต ด้านตลท. เดินหน้ากระตุ้นโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุน ตั้งเป้าเพิ่มการลงทุนแบบสม่ำเสมอทุกเดือนให้ได้ 6 หมื่นบัญชีภายในปีนี้
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสามาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผู้หันมานิยมใช้กองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการออมและลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สินทรัพย์รวมของกองทุนทั้งระบบปรับตัวมาอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน(ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 52)
ทั้งนี้ หากคิดเป็นสัดส่วนของการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากช่างต่ำสุดในปี 2540 ที่ 2.1% มา เป็น 16.9% ในช่วงสิ้นปี 2551และคาดว่าจะมีสัดส่วนการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2552
"ตอนนี้เราโตมาประมาณ 14.5% หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท จากเดิมตอนปลายปีที่แล้ว 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ 65.2% และกองทุนตราสารทุนประมาณ 17.3% ซึ่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็น่าจะทำให้เอ็นเอวีเติบโตได้ระดับ 20%"นางวรวรรณกล่าว
นางวรวรรณ กล่าวอีกว่า จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวม และสร้างความรู้ทางด้านการลงทุนอย่างต่อนเนื่อง เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าประมาณ 5 ปีจะทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมเติบโตขึ้นจนมีนักลงทุนเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 ล้านบัญชีจากเดิมที่มีอยู่ 2 ล้านบัญชีในปัจจุบัน ซึ่งขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2536 ที่มีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการกองทุนรวม
"ตอนนี้มีอยู่ 2 ล้านบัญชีถ้าคิดคร่าวๆ ว่าคนหนึ่งมี 3 บัญชี 3 กองทุน ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 แสนกว่าคน และเชื่อว่าน่าจะเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 ล้านบัญชีได้ ถ้าคิดจากฐานผู้เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน"นางวรวรรณกล่าว
อย่างไรก็ตามการลงทุนผ่านกองทุนรวมในปัจจุบันยังไม่สามารถกระจายตัวได้ดีนัก โดยยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก ซึ่งหลังจากนี้จะต้องพยายามกระจายความรู้ไปในทุกพื้นที่ให้มากขึ้น
นางวรวรรณ กล่าวอีกว่า การเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องแรกที่จำเป็นคือการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยการจัดหลักให้มีหลักสูตรการศึกษาด้านการลงทุน และกองทุนรวม นอกจากนี้ควรนำสื่อทีวีเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ด้านกองทุนรวมให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นสื่อที่ครอบคลุมในทุกพื้นทำให้สามารถสร้างการรับรู้ได้มากกว่า
"ต้องให้การศึกษาด้านการลงทุนตั้งแต่ในระดับเยาวชน เพื่อไม่ให้เข้าเสียเปรียบ ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงค์โปร์ มาเลเซียขนาดคนขับแท็กซี่เขายังรู้เลยว่ากองทุนรวมคืออะไร และลงทุนอย่างไร ซึ่งเราต้องเพิ่มการเรียนการสอนตั้งแต่ตอนนี้เลย"นางวรวรรณกล่าว
**ตั้งเป้าลงทุนรายเดือนเพิ่ม**
นางโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการสายงานการตลาดและบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องกันมาถึง 7 ปีติดต่อกัน โดยมีจุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความรู้ด้านบริหารทางการเงินและทางเลือกของการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับประชาชนทั่วไป
"โครงการนี้มีมาตั้งแต่เมื่อปี 2546 โดยความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้ง ก.ล.ต. สมาคมจัดการลงทุน โดยมีตลาดหลักทรัพย์เป็นแกนกลางในการจัดงาน ซึ่งเริ่มแรกนักลงทุนจะมีทัศนคติไม่ดีเท่าไร เราจึงต้องสร้างความเข้าใจในแง่บวกก่อน เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจกองทุนมากขึ้น"
ทั้งนี้ จากการดำเนินการ และการจัดงานตลาดนัดกองทุนพร้อมการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนให้ความสนใจกองทุนรวมมากขึ้น โดยสังเกตได้จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ที่เพิ่มจำนวนขึ้นจากเดิมเพียงไม่กี่แห่งเป็น 21 แห่งในปัจจุบัน นอกจากนี้การขยายตัวของกองทุนรวมเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวน 5 แสนบัญชีในปี 2545 มาอยู่ที่ 2 ล้านบัญชี ซึ่งนับเป็นการเติบโตถึงกว่า 3 เท่าตัวฃ
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ นอกจากสร้างความเข้าใจให้กับนักลงทุนแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ยังต้องการรณรงค์โครงการ M-Pay M-plus เพื่อสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฉลี่ยต้นทุนตลอดทั้งปีของนักลงทุนอีกด้วย
"เราอยากให้มีการออมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งตั้งแต่ทำโครงการนี้มานักลงทุนเริ่มสนใจวิธีนี้มากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ให้ได้ 6 หมื่นบัญชีภายในปี 2552 ซึ่งในครึ่งแรกของปีนี้มีผู้ให้ความสนใจแล้วประมาณ 2 หมื่นกว่าบัญชี และช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ก็น่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้"นางโสภาวดีกล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสามาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผู้หันมานิยมใช้กองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการออมและลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สินทรัพย์รวมของกองทุนทั้งระบบปรับตัวมาอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน(ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 52)
ทั้งนี้ หากคิดเป็นสัดส่วนของการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากช่างต่ำสุดในปี 2540 ที่ 2.1% มา เป็น 16.9% ในช่วงสิ้นปี 2551และคาดว่าจะมีสัดส่วนการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2552
"ตอนนี้เราโตมาประมาณ 14.5% หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท จากเดิมตอนปลายปีที่แล้ว 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ 65.2% และกองทุนตราสารทุนประมาณ 17.3% ซึ่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็น่าจะทำให้เอ็นเอวีเติบโตได้ระดับ 20%"นางวรวรรณกล่าว
นางวรวรรณ กล่าวอีกว่า จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวม และสร้างความรู้ทางด้านการลงทุนอย่างต่อนเนื่อง เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าประมาณ 5 ปีจะทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมเติบโตขึ้นจนมีนักลงทุนเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 ล้านบัญชีจากเดิมที่มีอยู่ 2 ล้านบัญชีในปัจจุบัน ซึ่งขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2536 ที่มีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการกองทุนรวม
"ตอนนี้มีอยู่ 2 ล้านบัญชีถ้าคิดคร่าวๆ ว่าคนหนึ่งมี 3 บัญชี 3 กองทุน ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 แสนกว่าคน และเชื่อว่าน่าจะเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 ล้านบัญชีได้ ถ้าคิดจากฐานผู้เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน"นางวรวรรณกล่าว
อย่างไรก็ตามการลงทุนผ่านกองทุนรวมในปัจจุบันยังไม่สามารถกระจายตัวได้ดีนัก โดยยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก ซึ่งหลังจากนี้จะต้องพยายามกระจายความรู้ไปในทุกพื้นที่ให้มากขึ้น
นางวรวรรณ กล่าวอีกว่า การเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องแรกที่จำเป็นคือการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยการจัดหลักให้มีหลักสูตรการศึกษาด้านการลงทุน และกองทุนรวม นอกจากนี้ควรนำสื่อทีวีเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ด้านกองทุนรวมให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นสื่อที่ครอบคลุมในทุกพื้นทำให้สามารถสร้างการรับรู้ได้มากกว่า
"ต้องให้การศึกษาด้านการลงทุนตั้งแต่ในระดับเยาวชน เพื่อไม่ให้เข้าเสียเปรียบ ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงค์โปร์ มาเลเซียขนาดคนขับแท็กซี่เขายังรู้เลยว่ากองทุนรวมคืออะไร และลงทุนอย่างไร ซึ่งเราต้องเพิ่มการเรียนการสอนตั้งแต่ตอนนี้เลย"นางวรวรรณกล่าว
**ตั้งเป้าลงทุนรายเดือนเพิ่ม**
นางโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการสายงานการตลาดและบริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องกันมาถึง 7 ปีติดต่อกัน โดยมีจุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความรู้ด้านบริหารทางการเงินและทางเลือกของการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับประชาชนทั่วไป
"โครงการนี้มีมาตั้งแต่เมื่อปี 2546 โดยความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้ง ก.ล.ต. สมาคมจัดการลงทุน โดยมีตลาดหลักทรัพย์เป็นแกนกลางในการจัดงาน ซึ่งเริ่มแรกนักลงทุนจะมีทัศนคติไม่ดีเท่าไร เราจึงต้องสร้างความเข้าใจในแง่บวกก่อน เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจกองทุนมากขึ้น"
ทั้งนี้ จากการดำเนินการ และการจัดงานตลาดนัดกองทุนพร้อมการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนให้ความสนใจกองทุนรวมมากขึ้น โดยสังเกตได้จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ที่เพิ่มจำนวนขึ้นจากเดิมเพียงไม่กี่แห่งเป็น 21 แห่งในปัจจุบัน นอกจากนี้การขยายตัวของกองทุนรวมเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวน 5 แสนบัญชีในปี 2545 มาอยู่ที่ 2 ล้านบัญชี ซึ่งนับเป็นการเติบโตถึงกว่า 3 เท่าตัวฃ
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ นอกจากสร้างความเข้าใจให้กับนักลงทุนแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ยังต้องการรณรงค์โครงการ M-Pay M-plus เพื่อสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฉลี่ยต้นทุนตลอดทั้งปีของนักลงทุนอีกด้วย
"เราอยากให้มีการออมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งตั้งแต่ทำโครงการนี้มานักลงทุนเริ่มสนใจวิธีนี้มากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ให้ได้ 6 หมื่นบัญชีภายในปี 2552 ซึ่งในครึ่งแรกของปีนี้มีผู้ให้ความสนใจแล้วประมาณ 2 หมื่นกว่าบัญชี และช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ก็น่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้"นางโสภาวดีกล่าว