บลจ.ยูโอบี (ไทย) ส่งกองทุนเอฟไอเอฟลงตลาด 2 กอง เสนอ 2 ทางเลือก "ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย รีคัฟเวอรี่" หากำไรหุ้นซูเปอร์บลูชิพในเอเชีย 15 – 20 ตัว และ "ยูโอบี มิดเดิ้ลอีสท์ บอนด์" สร้างโอกาสในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ของกาตาร์ และรัฐอาบูดาบี เปิดไอพีโอพร้อมกันถึงปลายเดือนนี้
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท เอเชีย รีคัฟเวอรี่ มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีราคาปัจจุบันต่ำมูลค่าที่แท้จริง ประมาณ 15 – 20 หลักทรัพย์ โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 20 – 26 สิงหาคม 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
สำหรับนโยบายการลงทุนเบื้องต้น กองทุนจะเน้นกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มสถาบันการเงินประมาณ 31% กลุ่มพลังงานประมาณ 12% กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตประมาณ 12% กลุ่มสื่อสารประมาณ 12% และกลุ่มบริการประมาณ 6% โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวถือเป็นหุ้นชั้นดี (Super Blue Ship) ในภูมิภาคเอเชีย ที่นักลงทุนไม่สามารถซื้อเองได้ และบริษัทดังกล่าวมีรายได้เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่าจะเน้นลงทุนในจีนประมาณ 37.5% สิงคโปร์ 25.0% ฮ่องกง 18.75% ไต้หวัน 12.5% และไทย 6.25%
ส่วนจุดเด่นของกองทุนนี้ อยู่ที่การใช้กลยุทธ์ซื้อ และถือครองหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 2 ปีและทำการขายเพื่อแสวงโอกาสทำกำไร เนื่องจาก บลจ.ยูโอบี สิงคโปร์ มองว่าในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัวนั้น คนส่วนใหญ่จะเชื่อมั่นในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบดต และมีงบการเงินที่แข็งแกร่ง เพราะทำให้เชื่อว่ามีความมั่นคงกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก ดังั้น การเลือกลงทุนในบริษัทดังกล่าวในช่วงเวลานี้ ทำให้เชื่อว่ามีโอกาสที่จะกำไรได้ในช่วงเวลา 2 ปี
“สำหรับเกณฑ์ในการเลือกบริษัทที่จะลงทุนนั้น บลจ.ยูโอบี สิงคโปร์ จะเลือกบริษัทที่มีอัตรากำไร และการจ่ายเงินปันผลที่ดี มีสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพที่จะเติบโต ผู้บริหารมีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญมีงบการเงินที่เข้มแข็ง และผู้จัดการกองทุนอาจจะมีการปรับพอร์ตลงทุน หากเกิดดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทมบอย่างมีนัยยะสำคัญ อาทิ มีการฉ้อโกงของผู้บริหาร มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือราคาหลักทรัพย์ได้ลดลงอย่างน้อย 20% จากราคาซื้อ”
นายวนากล่าวว่า กองทุนเปิดยูโอบี มิดเดิ้ลอีสท์ บอนด์ เป็นอีกกองที่เปิดขายในขณะนี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าโครงการประมาณ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 4 ปี 7 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ออกโดยประเทศกาตาร์ประมาณ 75% และรัฐอาบูดาบีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประมาณ 25% โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 21 – 28 สิงหาคม 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาทเช่นกัน
สาเหตุที่บริษัทเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยผู้ออกข้างต้น เนื่องจากบริษัทได้ทำการพิจารณาจากรายงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิ S&P และ Moody’s รวมถึงข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าผู้ออกตราสารทั้งสองมีความมั่นคงค่อนข้างสูง โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่ระดับ AA- และระดับ AA ตามลำดับ ขณะเดียวกัน การตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตของ Real GDP โดยเฉลี่ยสูงถึง 15% ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนรัฐอาบูดาบี เป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ยังคงใช้งบประมาณเกินดุลอยู่ นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กาตาร์ และรัฐอาบูดาบียังไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้เลย
นายวนา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ต่างประเทศที่จะลงทุนที่ระดับ A ได้จากเดิมที่จะลงทุนตั้งแต่ AA ขึ้นไป โดยจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยจะดูเป็นรายประเทศไป ว่าสามารถลงทุนได้ ให้ผลตอบแทนที่ดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่ไม่ได้พิจารณาประเทศใดเป็นพิเศษ ดูไปเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งการปรับขอบเขตดังกล่าวซึ่งส่งผลให้สามารถเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ หากผลตอบแทนไม่ปรับลดลงจนต่ำเกินไป และลูกค้าให้ความสนใจก็อาจะจออกกองทุนนี้ออกมา ส่วนตราสารหนี้ในประเทศจะลงทุนในตั้งแต่ AA- ขึ้นไป แต่ไม่สนใจออกหุ้นกู้เอกชนในปีนี้
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท เอเชีย รีคัฟเวอรี่ มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีราคาปัจจุบันต่ำมูลค่าที่แท้จริง ประมาณ 15 – 20 หลักทรัพย์ โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 20 – 26 สิงหาคม 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
สำหรับนโยบายการลงทุนเบื้องต้น กองทุนจะเน้นกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มสถาบันการเงินประมาณ 31% กลุ่มพลังงานประมาณ 12% กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตประมาณ 12% กลุ่มสื่อสารประมาณ 12% และกลุ่มบริการประมาณ 6% โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวถือเป็นหุ้นชั้นดี (Super Blue Ship) ในภูมิภาคเอเชีย ที่นักลงทุนไม่สามารถซื้อเองได้ และบริษัทดังกล่าวมีรายได้เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่าจะเน้นลงทุนในจีนประมาณ 37.5% สิงคโปร์ 25.0% ฮ่องกง 18.75% ไต้หวัน 12.5% และไทย 6.25%
ส่วนจุดเด่นของกองทุนนี้ อยู่ที่การใช้กลยุทธ์ซื้อ และถือครองหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 2 ปีและทำการขายเพื่อแสวงโอกาสทำกำไร เนื่องจาก บลจ.ยูโอบี สิงคโปร์ มองว่าในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัวนั้น คนส่วนใหญ่จะเชื่อมั่นในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบดต และมีงบการเงินที่แข็งแกร่ง เพราะทำให้เชื่อว่ามีความมั่นคงกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก ดังั้น การเลือกลงทุนในบริษัทดังกล่าวในช่วงเวลานี้ ทำให้เชื่อว่ามีโอกาสที่จะกำไรได้ในช่วงเวลา 2 ปี
“สำหรับเกณฑ์ในการเลือกบริษัทที่จะลงทุนนั้น บลจ.ยูโอบี สิงคโปร์ จะเลือกบริษัทที่มีอัตรากำไร และการจ่ายเงินปันผลที่ดี มีสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพที่จะเติบโต ผู้บริหารมีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญมีงบการเงินที่เข้มแข็ง และผู้จัดการกองทุนอาจจะมีการปรับพอร์ตลงทุน หากเกิดดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทมบอย่างมีนัยยะสำคัญ อาทิ มีการฉ้อโกงของผู้บริหาร มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือราคาหลักทรัพย์ได้ลดลงอย่างน้อย 20% จากราคาซื้อ”
นายวนากล่าวว่า กองทุนเปิดยูโอบี มิดเดิ้ลอีสท์ บอนด์ เป็นอีกกองที่เปิดขายในขณะนี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าโครงการประมาณ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 4 ปี 7 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ออกโดยประเทศกาตาร์ประมาณ 75% และรัฐอาบูดาบีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประมาณ 25% โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 21 – 28 สิงหาคม 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาทเช่นกัน
สาเหตุที่บริษัทเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยผู้ออกข้างต้น เนื่องจากบริษัทได้ทำการพิจารณาจากรายงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิ S&P และ Moody’s รวมถึงข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าผู้ออกตราสารทั้งสองมีความมั่นคงค่อนข้างสูง โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่ระดับ AA- และระดับ AA ตามลำดับ ขณะเดียวกัน การตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตของ Real GDP โดยเฉลี่ยสูงถึง 15% ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนรัฐอาบูดาบี เป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ยังคงใช้งบประมาณเกินดุลอยู่ นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กาตาร์ และรัฐอาบูดาบียังไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้เลย
นายวนา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ต่างประเทศที่จะลงทุนที่ระดับ A ได้จากเดิมที่จะลงทุนตั้งแต่ AA ขึ้นไป โดยจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยจะดูเป็นรายประเทศไป ว่าสามารถลงทุนได้ ให้ผลตอบแทนที่ดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่ไม่ได้พิจารณาประเทศใดเป็นพิเศษ ดูไปเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งการปรับขอบเขตดังกล่าวซึ่งส่งผลให้สามารถเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ หากผลตอบแทนไม่ปรับลดลงจนต่ำเกินไป และลูกค้าให้ความสนใจก็อาจะจออกกองทุนนี้ออกมา ส่วนตราสารหนี้ในประเทศจะลงทุนในตั้งแต่ AA- ขึ้นไป แต่ไม่สนใจออกหุ้นกู้เอกชนในปีนี้