กองทุนตราสารหนี้แดนกิมจิยังเนื้อหอมไม่สร่าง 2 บลจ.เปิดขายเอาใจลูกค้าต่อเนื่อง นครหลวงไทยคลอด 2 กองทุน อายุ 1 ปี และ 6 เดือน มูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านบาท เสนอขายระหว่างถึง 23 มิถุนายนนี้ เชื่อสร้างผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในประเทศ ด้านบลจ.ไทยพาณิชย์ส่งกองตราสารหนี้เกาหลีใต้ 3 กองออกขายในช่วงเวลาเดียวกัน
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ปรับกลยุทธ์ในการลงทุนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินวอน เนื่องจากการได้รับยกเว้นภาษีและประกอบกับค่าเงินที่อ่อนตัวลงของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเรื่องความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Default Swap : CDS) ของรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ และเริ่มมีความมั่นใจในสภาพคล่องของสกุลเงินของประเทศเกาหลีใต้ที่รัฐบาลเกาหลีใต้จะมีเพียงพอต่อการชำระหนี้คืนต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน บริษัทจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุนในการลงทุนที่ได้จะรับผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในประเทศ หรือเงินฝาก จึงได้เปิดขายกองทุนอย่างต่อเนื่อง 2 กองทุน ได้แก่ 1.กองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 12M11/09 (SCI INGI12M11/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 12 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 2.80% ต่อปี และกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 6M7/09 (SCI INGI6M7/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 2.40% ต่อปี
สำหรับทั้งสองกองทุนจะเปิดขายครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ – 23 มิถุนายน 2552 นี้ มูลค่าขั้นต่ำของกองทุนเพียง 2,000 บาท ราคา 10 บาทต่อหน่วยลงทุน โดยลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรที่ได้รับ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นพร้อมผลตอบแทนแบบอัตโนมัติ (Auto redemption) ครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดอายุโครงการ
ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ เช่น Korea Monetary Stabilization Bond (MSB) หรือ Korea Treasury Bond (KTB) ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก AA จากสถาบัน Fitch Rating โดยจะลงทุนในสัดส่วนประมาณ 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และกองทุนยังป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ดังนั้น ไม่ว่าค่าเงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผู้ลงทุนจึงไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ด้าน รายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างทำการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y21 (SCBFRN1Y21) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M7 (SCBFRN9M7) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 6M15 (SCBFRN6M15) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ระหว่างวันนี้ – 22 มิถุนายน 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
สำหรับกองทุนทั้งหมดจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เสนอขายในต่างประเทศ อาทิ ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนชั้นดี ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นต้น โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(investment grade) ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศจะมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน อนึ่ง กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน
ทั้งนี้ กองทุนจะ เข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เช่น การทำสัญญาสวอปและ/หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เป็นต้น
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ปรับกลยุทธ์ในการลงทุนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินวอน เนื่องจากการได้รับยกเว้นภาษีและประกอบกับค่าเงินที่อ่อนตัวลงของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเรื่องความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Default Swap : CDS) ของรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ และเริ่มมีความมั่นใจในสภาพคล่องของสกุลเงินของประเทศเกาหลีใต้ที่รัฐบาลเกาหลีใต้จะมีเพียงพอต่อการชำระหนี้คืนต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน บริษัทจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุนในการลงทุนที่ได้จะรับผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในประเทศ หรือเงินฝาก จึงได้เปิดขายกองทุนอย่างต่อเนื่อง 2 กองทุน ได้แก่ 1.กองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 12M11/09 (SCI INGI12M11/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 12 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 2.80% ต่อปี และกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 6M7/09 (SCI INGI6M7/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 2.40% ต่อปี
สำหรับทั้งสองกองทุนจะเปิดขายครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ – 23 มิถุนายน 2552 นี้ มูลค่าขั้นต่ำของกองทุนเพียง 2,000 บาท ราคา 10 บาทต่อหน่วยลงทุน โดยลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรที่ได้รับ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นพร้อมผลตอบแทนแบบอัตโนมัติ (Auto redemption) ครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดอายุโครงการ
ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ เช่น Korea Monetary Stabilization Bond (MSB) หรือ Korea Treasury Bond (KTB) ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก AA จากสถาบัน Fitch Rating โดยจะลงทุนในสัดส่วนประมาณ 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และกองทุนยังป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ดังนั้น ไม่ว่าค่าเงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผู้ลงทุนจึงไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ด้าน รายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างทำการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y21 (SCBFRN1Y21) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M7 (SCBFRN9M7) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 6M15 (SCBFRN6M15) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ระหว่างวันนี้ – 22 มิถุนายน 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
สำหรับกองทุนทั้งหมดจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เสนอขายในต่างประเทศ อาทิ ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนชั้นดี ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นต้น โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(investment grade) ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศจะมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน อนึ่ง กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน
ทั้งนี้ กองทุนจะ เข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เช่น การทำสัญญาสวอปและ/หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เป็นต้น