xs
xsm
sm
md
lg

‘ไทยพาณิชย์’ ขายบอนด์กิมจิ เสนอทางเลือก9เดือนและ1ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน – บลจ.ไทยพาณิชย์เดินหน้าขายกองทุนตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ 4 กองทุน โดยเสนอทางเลือกอายุ 9 เดือนและ 1 ปี เปิดขายไอพีโอหลากหลายช่วงระยะเวลากัน และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุน 1 หมื่นบาทขึ้นไป

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศพร้อมกันกองทุนใหม่จำนวน 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M2 (SCBFRN9M2) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M3 (SCBFRN9M3) มูลค่าโครงการละ 1,500 ล้านบาท และมีอายุโครงการประมาณ 9 เดือน ส่วนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y16 (SCBFRN1Y16) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y17 (SCBFRN1Y17) มูลค่าโครงการละ 3,500 ล้านบาท และมีอายุโครงการไม่เกิน 1 ปี โดยกองทุนทั้งหมดจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติเกาหลีใต้เท่านั้น
สำหรับกองทุน SCBFRN9M2 ได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียววันนี้ (26 พ.ค.) เป็นวันสุดท้าย ส่วนกองทุน SCBFRN9M3 และกองทุน SCBFRN1Y16 เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ – 27 พฤษภาคม 2552 ขณะที่กองทุน SCBFRN1Y17 เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ – 28 พฤษภาคม 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
ส่วนกองทุน SCBFRN9M2 และกองทุน SCBFRN9M3 เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เสนอขายในต่างประเทศ อาทิ ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนชั้นดี ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นต้น โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศจะมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือบริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารแห่งหนี้ในประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง การลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวข้างต้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตลอดจนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ กองทุนจะ เข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เช่น การทำสัญญาสวอปและ/หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เป็นต้น
ขณะที่กองทุน SCBFRN1Y16 และกองทุน SCBFRN1Y17 เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เสนอขายในต่างประเทศ อาทิ ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนชั้นดี ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นต้น โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศจะมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือบริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารแห่งหนี้ในประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง การลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวข้างต้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตลอดจนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ กองทุนจะ เข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เช่น การทำสัญญาสวอปและ/หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น