พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังขายดีไม่มีตก 4บลจ.แห่ออกกองทุนชิงดีมานด์ลูกค้า หลังผลตอบแทนการลงทุนตราสารหนี้ในประเทศยังต่ำ นักลงทุนรอเลือกได้ทั้งแบบ 3 เดือน 1 ปี และ 2 ปีตลอดครึ่งเดือนสิงหาคม
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานะการณ์ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้เกาหลีใต้ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากกระแสเงินทุนไหลเข้าเป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลต่อสภาพคล่องของสกุลเงินต่างประเทศเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับทิศทางดังกล่าว ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการลงทุนพันธบัตรภาครัฐหรือตราสารหนี้ในประเทศ พบว่าการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐหรือตราสารการเงินของสถาบันการเงินในเกาหลีใต้ยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12 เดือน 9 (KTFIF12M9) อายุโครงการ 12 เดือน มูลค่า 5,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2552 เป็น กองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ประเภท Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond หรือ Euro Commercial Paper (ECP) ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วย Korea Development Bank, The Export-Import Bank of Korea, Industrial Bank of Korea และ Kookmin Bank ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับสกุลเงินในประเทศระยะสั้นระดับ F1ส่งผลให้กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.25 % ต่อปี และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนอีกด้วย
ด้านนายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า ช่วงนี้ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนสูงซึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหนี้สหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแรงกดดันจากปริมาณพันธบัตรที่มีการออกมาประมูลในตลาดแรกมากกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งได้รับความกดดันจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยปรับตัวสูงขึ้น ด้วย
“สําหรับผู้ที่สนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ช่วงนี้แม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับลดลงแต่โดยรวมผลตอบแทนยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับเงินฝากอายุใกล้เคียงกันในประเทศ ทั้งนี้แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากกองทุนเกาหลีในช่วงต่อไปน่าจะมีการปรับลดลงต่อเนื่อง จากแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีที่ปรับดีขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และภาคส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับที่รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้ปรับนโยบายหันมาระดมทุนในประเทศมากขึ้นส่งผลให้ Credit Default Swap (CDS) หรือค่าประกันความกังวลในเรื่องความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3-10 สิงหาคม 2552 บริษัทฯ จะเสนอขาย IPO กองทุนเปิดแอ็คทีฟเอฟไอเอฟ 7 (ACFIF7) ที่จะลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ (Korea Monetary Stabilization Bond (MSB)) อายุประมาณ 3 เดือน โดยคาดว่ากองทุนจะสามารถให้ผลตอบแทนหลังจากทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนและหักค่าใช้จ่ายกองทุนแล้ว อยู่ที่ประมาณ 1.60% ต่อปี
ขณะที่ นายสุริพล เข็มจินดา รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด (บลจ.วรรณ) เปิดเผยว่า บลจ.วรรณเปิดเสนอขายกองทุนเปิด วรรณ ตราสารหนี้ต่างประเทศ 2Y/1 (1 A.M. FOREIGN FIXED INCOME FUND 2Y/1: 1FIXFIF2Y/1) ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2552 นี้ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือพันธบัตรธนาคารชาติเกาหลีใต้ หรือพันธบัตรภาครัฐไทย หรือเงินฝาก โดยตราสารที่ลงทุนจะมีอายุประมาณ 22-25 เดือน
นายสุริพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ลงทุนในกองทุน 1FIXFIF2Y/1 นั้นจะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนที่ได้รับหลังจากทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว กองทุน 1FIXFIF2Y/1 ยังให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรในประเทศ โดยผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนอยุ่ที่ประมาณ 3.50% ต่อปี
ด้านรายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทเปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y27 (SCBFRN1Y27) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 2Y2 (SCBFRN2Y2) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2552 และมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานะการณ์ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้เกาหลีใต้ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากกระแสเงินทุนไหลเข้าเป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลต่อสภาพคล่องของสกุลเงินต่างประเทศเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับทิศทางดังกล่าว ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาทมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการลงทุนพันธบัตรภาครัฐหรือตราสารหนี้ในประเทศ พบว่าการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐหรือตราสารการเงินของสถาบันการเงินในเกาหลีใต้ยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12 เดือน 9 (KTFIF12M9) อายุโครงการ 12 เดือน มูลค่า 5,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2552 เป็น กองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ประเภท Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond หรือ Euro Commercial Paper (ECP) ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วย Korea Development Bank, The Export-Import Bank of Korea, Industrial Bank of Korea และ Kookmin Bank ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับสกุลเงินในประเทศระยะสั้นระดับ F1ส่งผลให้กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.25 % ต่อปี และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนอีกด้วย
ด้านนายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า ช่วงนี้ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนสูงซึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหนี้สหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแรงกดดันจากปริมาณพันธบัตรที่มีการออกมาประมูลในตลาดแรกมากกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งได้รับความกดดันจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยปรับตัวสูงขึ้น ด้วย
“สําหรับผู้ที่สนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ช่วงนี้แม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับลดลงแต่โดยรวมผลตอบแทนยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับเงินฝากอายุใกล้เคียงกันในประเทศ ทั้งนี้แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากกองทุนเกาหลีในช่วงต่อไปน่าจะมีการปรับลดลงต่อเนื่อง จากแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีที่ปรับดีขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และภาคส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับที่รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้ปรับนโยบายหันมาระดมทุนในประเทศมากขึ้นส่งผลให้ Credit Default Swap (CDS) หรือค่าประกันความกังวลในเรื่องความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3-10 สิงหาคม 2552 บริษัทฯ จะเสนอขาย IPO กองทุนเปิดแอ็คทีฟเอฟไอเอฟ 7 (ACFIF7) ที่จะลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ (Korea Monetary Stabilization Bond (MSB)) อายุประมาณ 3 เดือน โดยคาดว่ากองทุนจะสามารถให้ผลตอบแทนหลังจากทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนและหักค่าใช้จ่ายกองทุนแล้ว อยู่ที่ประมาณ 1.60% ต่อปี
ขณะที่ นายสุริพล เข็มจินดา รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด (บลจ.วรรณ) เปิดเผยว่า บลจ.วรรณเปิดเสนอขายกองทุนเปิด วรรณ ตราสารหนี้ต่างประเทศ 2Y/1 (1 A.M. FOREIGN FIXED INCOME FUND 2Y/1: 1FIXFIF2Y/1) ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2552 นี้ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือพันธบัตรธนาคารชาติเกาหลีใต้ หรือพันธบัตรภาครัฐไทย หรือเงินฝาก โดยตราสารที่ลงทุนจะมีอายุประมาณ 22-25 เดือน
นายสุริพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ลงทุนในกองทุน 1FIXFIF2Y/1 นั้นจะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนที่ได้รับหลังจากทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว กองทุน 1FIXFIF2Y/1 ยังให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรในประเทศ โดยผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนอยุ่ที่ประมาณ 3.50% ต่อปี
ด้านรายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทเปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y27 (SCBFRN1Y27) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 2Y2 (SCBFRN2Y2) มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2552 และมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท