บลจ.กรุงไทยชี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ส่งสัญญาณฟื้น ฉุดผลตอบแทนกองทุนเกาหลีต่ำอีกรอบ แต่เทียบความเสี่ยงแล้ว ยังดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย ล่าสุด ส่ง "กรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12 เดือน 8" ขายลูกค้าต่อ ยิวด์ขยับลงเหลือ 2.50% ส่วนบลจ.นครหลวงไทย เบรกกองทุน 6 เดือน พร้อมปรับผลตอบแทนกอง 3 เดือนเหลือ 1.9%
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ มีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ที่ประกาศมาล่าสุด เช่น GDP Growth, ภาวะการส่งออก และดุลการชำระเงิน สะท้อนถึงการเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และ Credit Default Spread ของประเทศเกาหลีใต้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสเงินลงทุนไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินของเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สถาบันการเงินและบริษัทภาคเอกชนของเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการทยอยออกหุ้นกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับลดอัตราการก่อหนี้ ทำให้ความจำเป็นในการระดมเงินทุนจากต่างประเทศปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน การลงทุนในพันธบัตรภาครัฐของเกาหลีใต้ในปัจจุบันพบว่า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสกุลวอนปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่า และลดลงในบางช่วงส่งผลให้ Cross Currency Rate สกุล USD/ KRW ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อแปลงกลับเป็นสกุลไทยบาท อัตราผลตอบแทนปรับลดลง ดังนั้น จากสถานการณ์ดังกล่าว อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนพันธบัตรภาครัฐในประเทศเกาหลีใต้ จึงมีทิศทางลดลงอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการลงทุนพันธบัตรภาครัฐของไทยจะห็นได้ว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้เมื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ยังมีส่วนต่างสูงกว่าการลงทุนในประเทศ โดยปัจจุบันอันดับเครดิตของประเทศเกาหลีใต้ อยู่ที่ A+/F1 โดย Fitch) สูงกว่าอันดับเครดิตของไทย อยู่ที่ BBB+/F1 โดย Fitch
ทั้งนี้ บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12 เดือน 8 (KTFIF12M8) อายุโครงการ 12 เดือน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2552 ซึ่งกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ประเภท Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond หรือ Euro Commercial Paper (ECP) ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วย Korea Development Bank, The Export-Import Bank of Korea, Industrial Bank of Korea และ Kookmin Bank ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับสกุลเงินในประเทศระยะสั้นระดับ F1ส่งผลให้กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
นอกจากนี้ รายงานจาก บลจ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า บริษัทขอประกาศยกเลิกการเสนอขายกองทุนกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 6M11/09 (SCIINGI6M11/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลี รุ่น Korea Monetary Stabilization Bond และ Korea Treasury Bond หลังจากผลตอบแทนของตราสารหนี้มีความผันผวนค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้รับปรับลดผลตอบแทนของกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 3M2/09 (SCI INGI3M2/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุประมาณ 3 เดือน โดยมีการปรับลดผลตอบแทนเหลือเพียง 1.90% ต่อปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันนี้ – 4 สิงหาคม 2552 นี้
รายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 6M25 (SCBFRN6M25) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน คาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ 1.80%ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันนี้ – 5 สิงหาคม 2552 และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M8 (SCBFRN9M8) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน คาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ 2.10%ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ – 6 สิงหาคม 2552 โดยทั้งสองกองทุนจะมีการปิดความเสี่ยงด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ มีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ที่ประกาศมาล่าสุด เช่น GDP Growth, ภาวะการส่งออก และดุลการชำระเงิน สะท้อนถึงการเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และ Credit Default Spread ของประเทศเกาหลีใต้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสเงินลงทุนไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินของเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สถาบันการเงินและบริษัทภาคเอกชนของเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยการทยอยออกหุ้นกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับลดอัตราการก่อหนี้ ทำให้ความจำเป็นในการระดมเงินทุนจากต่างประเทศปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน การลงทุนในพันธบัตรภาครัฐของเกาหลีใต้ในปัจจุบันพบว่า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสกุลวอนปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่า และลดลงในบางช่วงส่งผลให้ Cross Currency Rate สกุล USD/ KRW ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อแปลงกลับเป็นสกุลไทยบาท อัตราผลตอบแทนปรับลดลง ดังนั้น จากสถานการณ์ดังกล่าว อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนพันธบัตรภาครัฐในประเทศเกาหลีใต้ จึงมีทิศทางลดลงอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการลงทุนพันธบัตรภาครัฐของไทยจะห็นได้ว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้เมื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ยังมีส่วนต่างสูงกว่าการลงทุนในประเทศ โดยปัจจุบันอันดับเครดิตของประเทศเกาหลีใต้ อยู่ที่ A+/F1 โดย Fitch) สูงกว่าอันดับเครดิตของไทย อยู่ที่ BBB+/F1 โดย Fitch
ทั้งนี้ บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12 เดือน 8 (KTFIF12M8) อายุโครงการ 12 เดือน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2552 ซึ่งกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ประเภท Monetary Stabilization Bond หรือ Korea Treasury Bond หรือ Euro Commercial Paper (ECP) ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วย Korea Development Bank, The Export-Import Bank of Korea, Industrial Bank of Korea และ Kookmin Bank ซึ่งปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับสกุลเงินในประเทศระยะสั้นระดับ F1ส่งผลให้กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
นอกจากนี้ รายงานจาก บลจ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า บริษัทขอประกาศยกเลิกการเสนอขายกองทุนกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 6M11/09 (SCIINGI6M11/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลี รุ่น Korea Monetary Stabilization Bond และ Korea Treasury Bond หลังจากผลตอบแทนของตราสารหนี้มีความผันผวนค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้รับปรับลดผลตอบแทนของกองทุนเปิดเอสซีไอ ตราสารหนี้ต่างประเทศ จีไอ 3M2/09 (SCI INGI3M2/09) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุประมาณ 3 เดือน โดยมีการปรับลดผลตอบแทนเหลือเพียง 1.90% ต่อปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันนี้ – 4 สิงหาคม 2552 นี้
รายงานจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 6M25 (SCBFRN6M25) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน คาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ 1.80%ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันนี้ – 5 สิงหาคม 2552 และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M8 (SCBFRN9M8) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน คาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ 2.10%ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ – 6 สิงหาคม 2552 โดยทั้งสองกองทุนจะมีการปิดความเสี่ยงด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท