ตลท. หนุน กบช. เกิด ชงทางเลือกลงทุนหลากหลาย ผ่านตลาดทุนไทย เห็นด้วย แนวคิดเว้นภาษีเงินฝาก 15% ช่วยรายย่อย “พิชิต” มอง ประโยชน์ต่อช่องทางระดมทุนภาครัฐ ช่วยพัฒนาตลาดทุนอีกทาง
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า แนวคิดในการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ถือเป็นแนวคิดการออมสำหรับประชาชนเพื่อดูแลผู้เกษียณอายุ เพื่อที่จะได้มีรายได้ในอนาคตให้เพียงพอในการใช้จ่าย ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุน ถือเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออมและลดภาระของรัฐบาลได้ โดยถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้มีการออม จากการที่รัฐบาลจะมีการจ่ายเงินสมทบให้
ทั้งนี้ กบช. ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออมระยะยาว ซึ่งในด้านตลาดหุ้นไทยนั้น มีตราสารการลงทุนที่ครอบคลุมเพียงพอต่อการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนโดยมี หุ้น อนุพันธ์ ตราสารหนี้ หุ้นกู้ ซึ่งนักลงทุนสามารถที่จะกำหนดผลตอบแทน และสามารถกำหนดความเสี่ยงในการลงทุน และมีการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตามตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นยังมีการพัฒนาตราสารใหม่ๆเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ผู้ออม
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดเรื่องการจัดตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาตินั้น มองว่าเป็นผลดีสำหรับประชาชน เพราะจะมีเงินออมไว้ใช้ภายหลังเกษียณ ประกอบกับยังเป็นประโยชน์ในแง่ของการระดมทุนของภาครัฐที่จะสามารถมีเม็ดเงินเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ รวมถึงยังเป็นผลบวกในเรื่องของตลาดทุนที่จะทำให้ตลาดทุนเติบโตขึ้น เพราะจะมีเม็ดเงินเข้ามาในระบบ
ควัก 2 หมื่นล้าน หนุนกองทุนการออมเพื่อชราภาพ
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในส่วนของ กอช.นั้นมีการเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อใหม่จากกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติหรือกบช. เนื่องจากเป็นกองทุนที่เปิดกว้างให้เฉพาะผู้ที่อยู่นอกระบบได้เข้ามาสู่ระบบการออม เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้มีอาชีพขับรถรับจ้างทั้งวินมอเตอร์ไซด์ รถตู้และรถแท็กซี่ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 24 ล้านคน โดยจะใช้วิธีให้ออมแบบสมัครใจกำหนดขั้นต่ำเดือนละ 100 บาท ไม่จำกัดวงเงินการออมขั้นสูง แต่กำหนดเงินสมทบโดยภาครัฐในอัตราคงที่ตามอายุของผู้ออม โดยหากอายุ 20-30 ปี รัฐจ่ายสมทบ 50บาท อายุ 31-50 ปี รัฐจ่ายสมทบ 80 บาท อายุ 51 ปีขึ้นไปรัฐจ่ายสมทบ 100 บาท โดยคาดว่ารัฐจะใช้งบประมาณจ่ายสมทบปีละ 2 หมื่นล้านบาท หากผู้ออมเข้าสู่ระบบทั้งหมด
“ในปีแรกซึ่งน่าจะเริ่มได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 นั้นน่าจะมีผู้อยู่นอกระบบเข้าร่วมกองทุน กอช.ไม่มากนัก เพราะรัฐให้ใช้วิธีสมัครใจจึงน่าใช้เงินไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท ส่วนวงเงินขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือนนั้นมองว่าเป็นเงินที่ผู้ออมน่าจะจ่ายได้ ส่วนขั้นสูงไม่กำหนดแต่รัฐจะรับภาระในอัตราคงที่ตามช่วงอายุและที่ให้ผู้ชรามากกว่าคือ 100% เพราะมีช่วงระยะเวลาการออมที่น้อยกว่า
สำหรับกองทุนเพื่อการชราภาพนี้จะไม่เปิดกว้างให้ผู้มีสิทธิในประกันสังคมและกบข.เข้าร่วมกองทุนเพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนและในอนาคตไม่มีแผนจะรวมกองทุนทั้ง 3 กองทุนเข้าด้วยกันเพราะจะทำให้ยากต่อการบริหาร
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า แนวคิดในการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ถือเป็นแนวคิดการออมสำหรับประชาชนเพื่อดูแลผู้เกษียณอายุ เพื่อที่จะได้มีรายได้ในอนาคตให้เพียงพอในการใช้จ่าย ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุน ถือเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออมและลดภาระของรัฐบาลได้ โดยถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้มีการออม จากการที่รัฐบาลจะมีการจ่ายเงินสมทบให้
ทั้งนี้ กบช. ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออมระยะยาว ซึ่งในด้านตลาดหุ้นไทยนั้น มีตราสารการลงทุนที่ครอบคลุมเพียงพอต่อการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนโดยมี หุ้น อนุพันธ์ ตราสารหนี้ หุ้นกู้ ซึ่งนักลงทุนสามารถที่จะกำหนดผลตอบแทน และสามารถกำหนดความเสี่ยงในการลงทุน และมีการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตามตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นยังมีการพัฒนาตราสารใหม่ๆเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนแก่ผู้ออม
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดเรื่องการจัดตั้งกองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาตินั้น มองว่าเป็นผลดีสำหรับประชาชน เพราะจะมีเงินออมไว้ใช้ภายหลังเกษียณ ประกอบกับยังเป็นประโยชน์ในแง่ของการระดมทุนของภาครัฐที่จะสามารถมีเม็ดเงินเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ รวมถึงยังเป็นผลบวกในเรื่องของตลาดทุนที่จะทำให้ตลาดทุนเติบโตขึ้น เพราะจะมีเม็ดเงินเข้ามาในระบบ
ควัก 2 หมื่นล้าน หนุนกองทุนการออมเพื่อชราภาพ
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในส่วนของ กอช.นั้นมีการเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อใหม่จากกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติหรือกบช. เนื่องจากเป็นกองทุนที่เปิดกว้างให้เฉพาะผู้ที่อยู่นอกระบบได้เข้ามาสู่ระบบการออม เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้มีอาชีพขับรถรับจ้างทั้งวินมอเตอร์ไซด์ รถตู้และรถแท็กซี่ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 24 ล้านคน โดยจะใช้วิธีให้ออมแบบสมัครใจกำหนดขั้นต่ำเดือนละ 100 บาท ไม่จำกัดวงเงินการออมขั้นสูง แต่กำหนดเงินสมทบโดยภาครัฐในอัตราคงที่ตามอายุของผู้ออม โดยหากอายุ 20-30 ปี รัฐจ่ายสมทบ 50บาท อายุ 31-50 ปี รัฐจ่ายสมทบ 80 บาท อายุ 51 ปีขึ้นไปรัฐจ่ายสมทบ 100 บาท โดยคาดว่ารัฐจะใช้งบประมาณจ่ายสมทบปีละ 2 หมื่นล้านบาท หากผู้ออมเข้าสู่ระบบทั้งหมด
“ในปีแรกซึ่งน่าจะเริ่มได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 นั้นน่าจะมีผู้อยู่นอกระบบเข้าร่วมกองทุน กอช.ไม่มากนัก เพราะรัฐให้ใช้วิธีสมัครใจจึงน่าใช้เงินไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท ส่วนวงเงินขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือนนั้นมองว่าเป็นเงินที่ผู้ออมน่าจะจ่ายได้ ส่วนขั้นสูงไม่กำหนดแต่รัฐจะรับภาระในอัตราคงที่ตามช่วงอายุและที่ให้ผู้ชรามากกว่าคือ 100% เพราะมีช่วงระยะเวลาการออมที่น้อยกว่า
สำหรับกองทุนเพื่อการชราภาพนี้จะไม่เปิดกว้างให้ผู้มีสิทธิในประกันสังคมและกบข.เข้าร่วมกองทุนเพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนและในอนาคตไม่มีแผนจะรวมกองทุนทั้ง 3 กองทุนเข้าด้วยกันเพราะจะทำให้ยากต่อการบริหาร