xs
xsm
sm
md
lg

พลังการเติบโตกลุ่ม"BRIC" กับอำนาจขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ต้องบอกว่าเริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของโลกมากยิ่งขึ้น สำหรับกลุ่มประเทศ บริค  (BRICs  : Brazil Russia India China )  ซึ่งเป็นประเทศเกิดใหม่ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงและในอนาคตจะเติบโตขึ้นไปอีก และเนื่องจากการเกิดวิกฤตสถาบันการเงินขึ้นมาจนทำให้ประเศเกิดใหม่ทั่วโลกได้รับผลกระทบไปตามๆกัน แต่ความเสียหานที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศเกิดใหม่นั้นบางประเทศก็ค่อนข้างรุนแรงอย่างรัสเซีย ที่ได้รับผลกระทบจาการาคานํ้ามันที่ราคาปรับบลดลง รวมถึง ประเทศบราซิล ที่ราคาสินค้าเกษตรลดลงไปอย่างมาก  ขณะที่บางประเทศก็ได้รับผลกระทบที่ไม่รุนแรงมาก อย่างเช่น จีนเป็นต้น 

 เมื่อพูดถึงบทบาทของกลุ่มประเทศบริคแล้ว ดูเหมือนความน่าสนใจมากทีเดียว ซึ่งจากการประชุมของกลุ่ม บริค เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ ผ่านมา ดเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มบริคที่น่าจับตามองทีเดียว โดยมุมองของ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย มองว่าปัจจุบัน ประเทศกลุ่ม BRICs ได้ขยายขอบเขตความร่วมมือระหว่างกันอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่ประเทศกลุ่ม BRICs เป็นคำเรียกประเทศ 4 ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีอนาคตทางเศรษฐกิจที่สดใส โดยที่แต่ละประเทศใน BRICs ไม่เคยมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างกันในนามของกลุ่ม BRICs มาก่อนเลยนับตั้งแต่ Goldman Sachs สถาบันการเงินชั้นนำสหรัฐฯ เป็นผู้บัญญัติคำเรียกของประเทศกลุ่มนี้ตั้งแต่ปี 2544
แต่ ณ ปัจจุบันหลังเศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤตอย่างรุนแรงและเกิดความกังวลในการเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประเทศกลุ่ม BRICs มีทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันทั้งสิ้น (ณ. 5 มิ.ย. 2552) ประมาณ 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 41.3 % ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกประเทศกลุ่ม BRICs ล้วนแต่ถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯสูงในทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยประมาณว่าเฉพาะจีนประเทศเดียวถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯประมาณ 70% หรือ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในขณะที่รัสเซียถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในทุนสำรองระหว่างประเทศของตนเองประมาณ 30% หรือ 122,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 ทั้งนี้ ประเมินว่า ด้วยความกังวลในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและแรงจูงใจทางการเมืองระหว่างประเทศในการที่จะขยายอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่ม BRICs ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ผู้นำประเทศกลุ่ม BRICs จัดการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งแรกขึ้นที่รัสเซียในวันที่ 16 มิ.ย. 2552ที่ผ่านมา

 จากการคำนวณโดยอาศัยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นพบว่าในปี 2552 ประเทศกลุ่ม BRICs จะมีสัดส่วนใน GDP โลกประมาณ 15.4% ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมาประเทศกลุ่ม BRICs มีส่วนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก (Contribution to Growth) สูงถึง 59 % ในขณะที่ประเทศ G-3ในปีที่แล้วมีสัดส่วนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ 11 % ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้จะถูกจับเคลื่อนโดยประเทศกลุ่ม BRICs เป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
 ขณะเดียวกัน ใน สาระสำคัญจากแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมสุดยอดผู้นำ BRICs โดยสรุป คือ BRICs เรียกร้องขอบทบาทที่มากยิ่งขึ้นในระบบการเงินโลกและขอสิทธิออกเสียงในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ  อาทิเช่นสิทธิออกเสียงในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และในองค์การสหประชาชาติ(UN) ในขณะที่ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนการถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเป็นเงินตราสกุลอื่นๆอย่างเป็นทางการหรือการสร้างเงินตราสกุลใหม่ไม่ได้รับการระบุถึงในแถลงการณ์ร่วมครั้งนี้ ซึ่งสถาบันวิจัยนครหลวงไทยประเมินว่ามูลเหตุที่เรื่องนี้ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำBRICs ไม่ได้รับการระบุถึงอย่างเป็นทางการเป็นเพราะ BRICs เองต่างถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯในสัดส่วนที่สูงในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ การระบุหรือกำหนดทิศทางเงินสกุลใหม่ที่จะแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯโดยไม่ได้มีเงินสกุลที่สามารถแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้อย่างแท้จริงจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯผันผวนซึ่งในแง่นี้กระทบกับมูลค่าของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของ BRICs โดยตรง
นอกจากนี้ ยังประเมิณด้วยว่า  การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะไม่ได้รับผลเป็นรูปธรรมในทันที แต่นัยยะของการประชุมสุดยอดครั้งแรกของผู้นำ BRICs เป็นการส่งสัญญาณของการเปลี่ยนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ  ในขณะที่ในระยะต่อไป กลุ่มประเทศ BRICs จะเข้ามากำหนดโครงสร้างกติกาการเงิน การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการรื้อฟื้นการเจรจาการค้าเสรีรอบโดฮาที่ล่มลงไปกลับขึ้นมาใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ BRICsมากกว่าเดิม ทั้งนี้ การเจรจาการค้าเสรีรอบโดฮา (Doha Round) ที่ล้มลงไป เพราะอินเดีย บราซิลและจีน ไม่ยอมรับกติกาการการอุดหนุนสินค้าเกษตรของกลุ่มประเทศตะวันตก ในขณะที่ผลกระทบระยะกลางคือแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในอนาคต

 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภายใน 1ทศวรรษต่อจากนี้ไป สิ่งที่จะเห็นชัดเจนคือ BRICs จะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นมีแนวโน้มที่จะลดบทบาทและความสำคัญลงเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
 ...คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มบริค นั้นเป็นการเติบโตที่แรงมากทีเดียวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าความน่าสนใจในการลงทุนนั้นต้องมีอยู่มากอย่างไม่ต้องสงสัย และจะเป็นแนวโน้มที่เติบโตยาวต่อไปอีกมากในอีกหลายปีข้างหน้าจากการคาดดการณ์ของนักวิเคราะห์ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการลงทุนแล้วนั้น นักลงทุนทั้งหลายต้องไม่ลืมบทเรียนจากวิกฤตทั้งหลายที่เกิดขึ้นว่า... ความเสี่ยงจาการลงทุนนั้นยังคงควบคู่กันอยู่ และพร้อมที่จะทำให้นักลงทุนต้องกุมขมับกันได้ตลอดเวลา ยิ่งเมื่อเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศที่มีความผันผวนค่อนข้างมากในประเทศเกิดใหม่ 

 ...ซึ่งการจัดพอร์ตการลงทุนที่สามารถกระจายความเสี่ยงและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญในการลงทุน คงเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกท่านต้องทำกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจที่แท้จริงนั้นยังไม่ฟื้นตัว มีเพียงแค่ความคาดหวังที่ดีออกมาเท่านั้น
กำลังโหลดความคิดเห็น