ผู้เชียวชาญด้านน้ำมัน มองราคาน้ำมันต่อจากนี้จะคงอยู่ในระดับ 70-100 USต่อบาร์เรล รับดีมาน์มีมากเเต่ซัพพลายน้อยลง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจาก BLACKROCK เผยกำลังการผลิตจากเเหล่งขุดเจาะเก่าเริ่มให้น้ำมันได้น้อยลง ส่วนเเหล่งผลิตใหม่ก็ผลิตน้ำมันได้ลดลงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับในอดีต
นายวิเศษ จูภิบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าว ในงานเสวนาเรื่อง “Opportunities in Global Energy” ซึ่งจัดโดยบลจ.กรุงไทย ว่า ราคาน้ำมันหากมองด้วยปัจจัยพื้นฐานมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแต่ดีมานด์ในน้ำมันยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเป็นส่วนของดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นของประเทศในเอเชียและตะวันออกกลางที่เข้ามาทดแทนดีมานด์ที่ลดลงของสหรัฐและยุโรป โดยดีมานด์ในน้ำมันของเอเชียในปี2010-2020 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10.8% (จีน 5% ,เอเชียตะวันออก 2.2% และตะวันออกกลาง 3.6%) หรือประมาณ 1 ล้านบาเรลต่อวันในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ดีมานด์ในน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3-1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าดีมานด์ในน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นแน่นอน
ในปัจจุบันโลกมีการใช้น้ำมันประมาณ 85 ล้านบาเรลต่อวัน ในขณะที่ซัพพลายของน้ำมันลดลงทุกปีเฉลี่ยปีละ 6-8% เป็นการลดลงตามธรรมชาติ หรือลดลงประมาณ 4-5 แสนบาเรล ในกรณีที่ไม่ผลิตเพิ่มก็จะไม่เพียงพอต่อดีมานด์ปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าจะผลิตเพิ่มต้นทุนก้จะสูงขึ้น เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น
นายวิเศษ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันส่วนต่างตรงนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) ยังสามารถผลิตชดเชยได้ เพราะมีความสามารถในการผลิตที่เหลืออยู่ของ OPEC ประมาณ 3-4 ล้านบาร์เรล ในขณะที่กลุ่ม Non-OPEC สามารถผลิตเพิ่มได้เพียง 4-5 แสนบาร์เรลต่อวันเท่านั้น อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี2010 หรือประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า ความสามารถในการผลิตที่เหลืออยู่ของ OPEC ประมาณ 3-4 ล้านบาเรล นี้จะค่อยลดลงไป หากไม่มีการลงทุนผลิตเพิ่มก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ปกติเพราะซัพพลายลดลงทุกปี แต่หากจะลงทุนผลิตใหม่ก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยซัพพลายของน้ำมันประมาณ 30 ล้านบาเรลแรกมาจากกลุ่ม OPEC ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ส่วนที่เกิน 30-70 ล้านบาเรล เป็นกลุ่ม Non-OPEC มีต้นทุนการผลิตประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล และส่วนที่เกิน 70 ล้านบาร์เรล มีต้นทุนการผลิตประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
“หากจะมีการสำรวจเพื่อเพิ่มการผลิตใหม่ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้นั้น ต้นทุนจะสูงขึ้นโดยต้นทุนการผลิตของกลุ่ม OPEC ใน 30 ล้านบาร์เรลแรกจะเพิ่มเป็น 20-30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ส่วนที่มากกว่า 30-70 ล้านบาร์เรล ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล และส่วนที่เกิน 70 –85 ล้านบาร์เรล ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ดังนั้นแนวโน้มราคาน้ำมันด้วยปัจจัยพื้นฐานมีแต่จะปรับตัวขึ้นเพราะต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ดีมานด์ในน้ำมันก็เติบโตต่อเนื่อง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่า หรือกลุ่ม OPEC เองที่ต้องการราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับ 75-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นราคาน้ำมันกลับไปต่ำกว่า 40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลเป็นเรื่องที่ยาก แต่เรามีโอกาสจะเห็นราคาน้ำมันที่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลแน่นอน”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะประเทศไทยมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันประมาณ 90% ของที่ใช้อยู่ในประเทศ การสานต่อโครงการพลังงานทางเลือกซึ่งจำเป็นต้องทำเพราะในอนาคตราคาน้ำมันสูงขึ้นก็มีความคุ้มค่าที่จะทำ และในส่วนที่ลอยตัวราคาน้ำมันถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วที่จะทำแม้ปัจจุบันราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลแต่ก็ไม่ใช่ระดับที่สูงเช่นในอดีตที่ระดับมากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล
ทางด้านมิสเตอร์มาคอม สมิทธ์ ( Malcolm Smith) ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ทีมงานทรัพยากรธรรมชาติ BLACKROCK ซึ่งเป็นกองทุนรวมหลักที่กองทุนเปิดเคเเทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ กล่าวถึงเเนวโน้มการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานเเละน้ำมันว่า ในช่วงเวลานี้คงข้างเหมาะสำหรับการทยอยลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานนั้นยังมีอยู่สูง ในทางกลับกันฝ่ายผู้ผลิตหรือซัพพลายนั้นมีกำลังการผลิตเเละการค้นหาเเหล่งผลิตพลังงานได้น้อยลง โดยเเหล่งขุดเจาะน้ำมันส่วนใหญ่ที่เราใช้กันอยู่ประมาณ 70%นั้นถูกค้นพบในปี 1970 โดยในเเต่ละปีกำลังการผลิตจะลดลงถึง 6% ต่อปีในกรณีที่ยังมีเเหล่งขุดเจาะน้ำมันใหม่มาทดเเทน เเต่หากไม่มีเเหล่งน้ำมันใหม่ก็จะทำให้เเหล่งน้ำมันเก่านั้นผลิตน้ำมันได้ลดลง 9% ต่อปี อย่างไรก็ตามเเหล่งผลิตน้ำมันที่เริ่มทำการผลิตในช่วงนี้ มีกำลังการผลิตที่ลดลงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ความต้องการพลังงานนั้นจะสัมพันธ์กับ GDP ของเเต่ละประเทศอีกด้วย
"ความต้องการใช้พลังงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนเเละประเทศตะวันออกกลาง เเต่ในภูมิเอเชียก็มีความต้องพลังงานลดลงอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็จัดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาเเล้ว โดยในส่วนของประเทศที่พัฒนาเเล้วความต้องการใช้พลังงานกลับมีน้อยลงเช่นกัน"มิสเตอร์มาคอม กล่าว
ทั้งนี้ราคานน้ำมันจะพุ่งไปสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ในไม่ช้านี้ เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเหลี่ยงได้ เเต่เรามองว่าราคาดังกล่าวจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าปริมาณน้ำมันดิบสำรองเเละกำลังการผลิตของ OPECลดลง ขณะที่ประเด็นเรื่องการอัดฉีดเม็ดเงินของรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาที่เริ่มจะส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาส 3เเละ4 นี้ นั้นจะทำให้เงินเฟ้อในประเทศสหรัฐฯปรับตัวขึ้นประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์จะส่งผลดีต่อราคาสินค้าคอมมอนิตี ซึ่งการลงทุนในสินค้าคอมมอนิตีนั้นจะส่งผลดีในการป้องการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ส่วนการเก็งกำไรของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเกินจริงนั้น เรามองว่าต่อจากนี้ก็อาจจะเห็นภาพที่การลงทุนในรูปเเบบดังกล่าวน้อยลง เนื่องจากการเก็งกำไรที่ผ่านมานั้นทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ขาดทุนไปค่อนข้างมาก
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในกองทุน BGF World Energey ในปัจจุบันนั้นจะเน้นลงทุนในบริษัที่มีคุณภาพสูงมากโดยเฉพาะค่า P/E ในระดับต่ำ มีงบการเงินที่เเข็งเเกร่ง โดยโอกาสในการสร้างความเเข็งเเกร่งของงบการเงินให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานครบวงจร โดยการลงทุนของกองทุนนั้นจะกระจายการลงทุนทั่วโลกเเละมีการเชื่อมโยงของธุรกิจครบวงจรตั้งเเต่ต้นน้ำถึงปายน้ำ
โดยสัดส่วนของการลงทุนนั้นเราจะให้น้ำหนักไปที่บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสำรวจเเละผลิต ซึ่งจะเน้นลงทุนในบริษัทที่มีต้นทุนต่ำเเละมีกระเเสเงินสดจากการดำเนินงาน มีสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูงเเละมีสัดส่วนในสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับที่ต่ำที่สุด ขณะที่ธรุกิจการให้บริการขุดเจาะวางท่อ เเละขนส่ง นั้นอาจจะต้องระมัดระวังในการลงทุนเนื่องจากราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมามาก ทำให้เราต้องเน้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทั่วโลกมากกว่าเฉพาะในสหรัฐฯ ทางด้านธรุกิจการกลั่นเเละการตลาดนั้นเรามองว่าคงต้องระมัดระวังการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอิสระ เนื่องจากยังคงมีกำลังการผลิตในส่วนการกลั่นที่ล้นเกินอยู่เมื่อเทียบกับความต้องการ
นายวิเศษ จูภิบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าว ในงานเสวนาเรื่อง “Opportunities in Global Energy” ซึ่งจัดโดยบลจ.กรุงไทย ว่า ราคาน้ำมันหากมองด้วยปัจจัยพื้นฐานมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแต่ดีมานด์ในน้ำมันยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเป็นส่วนของดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นของประเทศในเอเชียและตะวันออกกลางที่เข้ามาทดแทนดีมานด์ที่ลดลงของสหรัฐและยุโรป โดยดีมานด์ในน้ำมันของเอเชียในปี2010-2020 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10.8% (จีน 5% ,เอเชียตะวันออก 2.2% และตะวันออกกลาง 3.6%) หรือประมาณ 1 ล้านบาเรลต่อวันในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ดีมานด์ในน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3-1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าดีมานด์ในน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นแน่นอน
ในปัจจุบันโลกมีการใช้น้ำมันประมาณ 85 ล้านบาเรลต่อวัน ในขณะที่ซัพพลายของน้ำมันลดลงทุกปีเฉลี่ยปีละ 6-8% เป็นการลดลงตามธรรมชาติ หรือลดลงประมาณ 4-5 แสนบาเรล ในกรณีที่ไม่ผลิตเพิ่มก็จะไม่เพียงพอต่อดีมานด์ปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าจะผลิตเพิ่มต้นทุนก้จะสูงขึ้น เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น
นายวิเศษ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันส่วนต่างตรงนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) ยังสามารถผลิตชดเชยได้ เพราะมีความสามารถในการผลิตที่เหลืออยู่ของ OPEC ประมาณ 3-4 ล้านบาร์เรล ในขณะที่กลุ่ม Non-OPEC สามารถผลิตเพิ่มได้เพียง 4-5 แสนบาร์เรลต่อวันเท่านั้น อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี2010 หรือประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า ความสามารถในการผลิตที่เหลืออยู่ของ OPEC ประมาณ 3-4 ล้านบาเรล นี้จะค่อยลดลงไป หากไม่มีการลงทุนผลิตเพิ่มก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ปกติเพราะซัพพลายลดลงทุกปี แต่หากจะลงทุนผลิตใหม่ก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยซัพพลายของน้ำมันประมาณ 30 ล้านบาเรลแรกมาจากกลุ่ม OPEC ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ส่วนที่เกิน 30-70 ล้านบาเรล เป็นกลุ่ม Non-OPEC มีต้นทุนการผลิตประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล และส่วนที่เกิน 70 ล้านบาร์เรล มีต้นทุนการผลิตประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
“หากจะมีการสำรวจเพื่อเพิ่มการผลิตใหม่ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้นั้น ต้นทุนจะสูงขึ้นโดยต้นทุนการผลิตของกลุ่ม OPEC ใน 30 ล้านบาร์เรลแรกจะเพิ่มเป็น 20-30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ส่วนที่มากกว่า 30-70 ล้านบาร์เรล ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล และส่วนที่เกิน 70 –85 ล้านบาร์เรล ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ดังนั้นแนวโน้มราคาน้ำมันด้วยปัจจัยพื้นฐานมีแต่จะปรับตัวขึ้นเพราะต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ดีมานด์ในน้ำมันก็เติบโตต่อเนื่อง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่า หรือกลุ่ม OPEC เองที่ต้องการราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับ 75-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นราคาน้ำมันกลับไปต่ำกว่า 40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลเป็นเรื่องที่ยาก แต่เรามีโอกาสจะเห็นราคาน้ำมันที่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลแน่นอน”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะประเทศไทยมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันประมาณ 90% ของที่ใช้อยู่ในประเทศ การสานต่อโครงการพลังงานทางเลือกซึ่งจำเป็นต้องทำเพราะในอนาคตราคาน้ำมันสูงขึ้นก็มีความคุ้มค่าที่จะทำ และในส่วนที่ลอยตัวราคาน้ำมันถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วที่จะทำแม้ปัจจุบันราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลแต่ก็ไม่ใช่ระดับที่สูงเช่นในอดีตที่ระดับมากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล
ทางด้านมิสเตอร์มาคอม สมิทธ์ ( Malcolm Smith) ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ทีมงานทรัพยากรธรรมชาติ BLACKROCK ซึ่งเป็นกองทุนรวมหลักที่กองทุนเปิดเคเเทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ กล่าวถึงเเนวโน้มการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานเเละน้ำมันว่า ในช่วงเวลานี้คงข้างเหมาะสำหรับการทยอยลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานนั้นยังมีอยู่สูง ในทางกลับกันฝ่ายผู้ผลิตหรือซัพพลายนั้นมีกำลังการผลิตเเละการค้นหาเเหล่งผลิตพลังงานได้น้อยลง โดยเเหล่งขุดเจาะน้ำมันส่วนใหญ่ที่เราใช้กันอยู่ประมาณ 70%นั้นถูกค้นพบในปี 1970 โดยในเเต่ละปีกำลังการผลิตจะลดลงถึง 6% ต่อปีในกรณีที่ยังมีเเหล่งขุดเจาะน้ำมันใหม่มาทดเเทน เเต่หากไม่มีเเหล่งน้ำมันใหม่ก็จะทำให้เเหล่งน้ำมันเก่านั้นผลิตน้ำมันได้ลดลง 9% ต่อปี อย่างไรก็ตามเเหล่งผลิตน้ำมันที่เริ่มทำการผลิตในช่วงนี้ มีกำลังการผลิตที่ลดลงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ความต้องการพลังงานนั้นจะสัมพันธ์กับ GDP ของเเต่ละประเทศอีกด้วย
"ความต้องการใช้พลังงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนเเละประเทศตะวันออกกลาง เเต่ในภูมิเอเชียก็มีความต้องพลังงานลดลงอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็จัดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาเเล้ว โดยในส่วนของประเทศที่พัฒนาเเล้วความต้องการใช้พลังงานกลับมีน้อยลงเช่นกัน"มิสเตอร์มาคอม กล่าว
ทั้งนี้ราคานน้ำมันจะพุ่งไปสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ในไม่ช้านี้ เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเหลี่ยงได้ เเต่เรามองว่าราคาดังกล่าวจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าปริมาณน้ำมันดิบสำรองเเละกำลังการผลิตของ OPECลดลง ขณะที่ประเด็นเรื่องการอัดฉีดเม็ดเงินของรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาที่เริ่มจะส่งสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาส 3เเละ4 นี้ นั้นจะทำให้เงินเฟ้อในประเทศสหรัฐฯปรับตัวขึ้นประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์จะส่งผลดีต่อราคาสินค้าคอมมอนิตี ซึ่งการลงทุนในสินค้าคอมมอนิตีนั้นจะส่งผลดีในการป้องการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ส่วนการเก็งกำไรของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเกินจริงนั้น เรามองว่าต่อจากนี้ก็อาจจะเห็นภาพที่การลงทุนในรูปเเบบดังกล่าวน้อยลง เนื่องจากการเก็งกำไรที่ผ่านมานั้นทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ขาดทุนไปค่อนข้างมาก
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในกองทุน BGF World Energey ในปัจจุบันนั้นจะเน้นลงทุนในบริษัที่มีคุณภาพสูงมากโดยเฉพาะค่า P/E ในระดับต่ำ มีงบการเงินที่เเข็งเเกร่ง โดยโอกาสในการสร้างความเเข็งเเกร่งของงบการเงินให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานครบวงจร โดยการลงทุนของกองทุนนั้นจะกระจายการลงทุนทั่วโลกเเละมีการเชื่อมโยงของธุรกิจครบวงจรตั้งเเต่ต้นน้ำถึงปายน้ำ
โดยสัดส่วนของการลงทุนนั้นเราจะให้น้ำหนักไปที่บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสำรวจเเละผลิต ซึ่งจะเน้นลงทุนในบริษัทที่มีต้นทุนต่ำเเละมีกระเเสเงินสดจากการดำเนินงาน มีสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูงเเละมีสัดส่วนในสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับที่ต่ำที่สุด ขณะที่ธรุกิจการให้บริการขุดเจาะวางท่อ เเละขนส่ง นั้นอาจจะต้องระมัดระวังในการลงทุนเนื่องจากราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมามาก ทำให้เราต้องเน้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทั่วโลกมากกว่าเฉพาะในสหรัฐฯ ทางด้านธรุกิจการกลั่นเเละการตลาดนั้นเรามองว่าคงต้องระมัดระวังการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอิสระ เนื่องจากยังคงมีกำลังการผลิตในส่วนการกลั่นที่ล้นเกินอยู่เมื่อเทียบกับความต้องการ