คอลัมน์ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
จากตัวอย่างการบริหารความเสี่ยงเบื้องต้นในตลอดระยะเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในเรื่องของกรณีที่สมมติว่าเราเป็นผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งกำลังจะพิจารณาถึงยอดขายของวันศุกร์สิ้นเดือน (วันเงินเดือนออก) เมื่อยอดขายจะเกิดการผันแปรไปตามสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผลตอบแทนของร้านอาหารในวันดังกล่าวนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การประมาณการผลตอบแทนในแต่ละวันเกิดความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทางธุรกิจจึงเกิดขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้สมมติสถานการณ์ดังนี้ ธุรกิจร้านอาหารได้ประมาณการผลตอบแทนในรูปของกำไรเป็นเงิน 50,000 บาท ในกรณีวันเงินเดือนออกและเหตุการณ์ปกติ และคาดว่าถ้าเป็นวันที่ฝนตก จะมีกำไรเป็นจำนวนเงินเพียง 10,000 บาท เนื่องจากธุรกิจอาจมีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมากในแต่ละวัน หากวันที่จะพิจารณามีโอกาสฝนตกร้อยละ 60 แสดงว่าโอกาสที่ฝนจะไม่ตกนั้นคิดเป็นร้อยละ 40 ของโอกาสที่เป็นไปได้ทั้งหมด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ทำการประเมินค่าผลตอบแทนที่คาดหวังของการดำเนินธุรกิจในวันดังกล่าวว่าจะมีผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ เท่ากับ 26,000 บาท และมีอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เท่ากับ 19,595.91 บาท ซึ่งเป็นความเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีค่าค่อนข้างสูง เพราะอาจทำให้การคาดการณ์นั้นอาจมีผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน ถ้าหากเราพิจารณาโดยใช้ค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพิ่มขึ้นและลดลงจากผลตอบแทนที่คาดหวัง (หมายถึงให้นำค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำไปบวกและลบออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังจำนวน 1 ครั้ง) จะทำให้การประมาณการผลตอบแทนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
การกระทำการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจำนวน 1 ครั้งนั้น จะทำให้การคาดการณ์ของผลตอบแทนในวันดังกล่าวอาจมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 26,000 – 19,595.91 = 6,404.09 บาท จนกระทั่ง 26,000 + 19,595.91 = 45,595.91 บาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นตามหลักการทางสถิติ จะพบว่าการที่เรานำเอาค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไปเพิ่มขึ้นหนือลบออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังจำนวน 1 ครั้งนั้น การคาดการณ์ดังกล่าวนั้นอาจมีความถูกต้องเพียงประมาณ 68% ของความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ทั้งหมด
หรืออาจกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าผลตอบแทนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับในวันนี้เป็นไปได้ตั้งแต่ 6,404.09 บาท ไปจนถึง 45,595.91 บาท แต่โอกาสในการคาดการณ์เช่นนี้มีโอกาสที่จะประมาณได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 68 เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเรายังมีโอกาสที่จะทายผลตอบแทนในวันนี้ได้ผิดพลาดถึงประมาณร้อยละ 32 ซึ่งยังถือว่าเป็นความผิดพลาดที่มีโอกาสสูงมาก ๆ
เราจะมีวิธีการในการลดความผิดพลาดดังกล่าวให้น้อยลงได้อย่างไร เพราะหากโอกาสการผิดพลาดในการประมาณการยิ่งสูงเท่าไร ก็จะส่งผลให้ความเสี่ยงของธุรกิจนั้นสูงยิ่งขึ้นไปด้วย วิธีการทางสถิติได้มีการทำการคำนวณไว้ว่า หากเราบวกหรือลบด้วยค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจำนวน 1 ครั้ง จะทำให้โอกาสของการคาดการณ์นั้นจะถูกต้องประมาณร้อยละ 68 แต่ถ้าหากเราเพิ่มและลดอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไปเป็นจำนวน 2 ครั้ง จะทำให้การประมาณการนั้นเกิดความแน่นอนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีโอกาสทำนายได้ความถูกต้องถึงประมาณร้อยละ 95 ซึ่งอยู่ในระดับที่ธุรกิจพอจะยอมรับกับโอกาสความผิดพลาดในการทำนายได้ เพราะโอกาสความผิดพลาดนั้นจะเหลือเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น
จากกรณีศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หากธุรกิจใดมีค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธุรกิจยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน เพราะหากค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าสูง ก็จะทำให้การบวกและลบด้วยอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นมีค่าที่มากขึ้น เพราะผลตอบแทนที่คาดหวังไว้จะเกิดความผันผวนมากขึ้น ทำให้ธุรกิจยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย
การลดความเสี่ยงดังกล่าวอย่างง่ายที่สุด อาจกระทำได้โดยการลดค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายผันแปรลง เพื่อทำให้ค่าความเสี่ยงมีจำนวนที่ลดลง เพราะเมื่อค่าใช้จ่ายคงที่ลดลง จุดคุ้มทุนของธุรกิจจะต่ำลง ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจจะมากขึ้น เช่นเดียวกันกับค่าใช้จ่ายผันแปร หากค่าใช้จ่ายผันแปรต่ำ โอกาสการได้รับทุนคืนในแต่ละวันก็จะสูงขึ้น แต่ความเสี่ยงของธุรกิจจะลดลง ดังนั้นการควบคุมค่าใช้จ่ายคงที่และผันแปร จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจร้านอาหาร
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
จากตัวอย่างการบริหารความเสี่ยงเบื้องต้นในตลอดระยะเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในเรื่องของกรณีที่สมมติว่าเราเป็นผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งกำลังจะพิจารณาถึงยอดขายของวันศุกร์สิ้นเดือน (วันเงินเดือนออก) เมื่อยอดขายจะเกิดการผันแปรไปตามสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผลตอบแทนของร้านอาหารในวันดังกล่าวนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การประมาณการผลตอบแทนในแต่ละวันเกิดความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทางธุรกิจจึงเกิดขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้สมมติสถานการณ์ดังนี้ ธุรกิจร้านอาหารได้ประมาณการผลตอบแทนในรูปของกำไรเป็นเงิน 50,000 บาท ในกรณีวันเงินเดือนออกและเหตุการณ์ปกติ และคาดว่าถ้าเป็นวันที่ฝนตก จะมีกำไรเป็นจำนวนเงินเพียง 10,000 บาท เนื่องจากธุรกิจอาจมีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมากในแต่ละวัน หากวันที่จะพิจารณามีโอกาสฝนตกร้อยละ 60 แสดงว่าโอกาสที่ฝนจะไม่ตกนั้นคิดเป็นร้อยละ 40 ของโอกาสที่เป็นไปได้ทั้งหมด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ทำการประเมินค่าผลตอบแทนที่คาดหวังของการดำเนินธุรกิจในวันดังกล่าวว่าจะมีผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ เท่ากับ 26,000 บาท และมีอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เท่ากับ 19,595.91 บาท ซึ่งเป็นความเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีค่าค่อนข้างสูง เพราะอาจทำให้การคาดการณ์นั้นอาจมีผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน ถ้าหากเราพิจารณาโดยใช้ค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพิ่มขึ้นและลดลงจากผลตอบแทนที่คาดหวัง (หมายถึงให้นำค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำไปบวกและลบออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังจำนวน 1 ครั้ง) จะทำให้การประมาณการผลตอบแทนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
การกระทำการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจำนวน 1 ครั้งนั้น จะทำให้การคาดการณ์ของผลตอบแทนในวันดังกล่าวอาจมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 26,000 – 19,595.91 = 6,404.09 บาท จนกระทั่ง 26,000 + 19,595.91 = 45,595.91 บาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นตามหลักการทางสถิติ จะพบว่าการที่เรานำเอาค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไปเพิ่มขึ้นหนือลบออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังจำนวน 1 ครั้งนั้น การคาดการณ์ดังกล่าวนั้นอาจมีความถูกต้องเพียงประมาณ 68% ของความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ทั้งหมด
หรืออาจกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าผลตอบแทนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับในวันนี้เป็นไปได้ตั้งแต่ 6,404.09 บาท ไปจนถึง 45,595.91 บาท แต่โอกาสในการคาดการณ์เช่นนี้มีโอกาสที่จะประมาณได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 68 เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเรายังมีโอกาสที่จะทายผลตอบแทนในวันนี้ได้ผิดพลาดถึงประมาณร้อยละ 32 ซึ่งยังถือว่าเป็นความผิดพลาดที่มีโอกาสสูงมาก ๆ
เราจะมีวิธีการในการลดความผิดพลาดดังกล่าวให้น้อยลงได้อย่างไร เพราะหากโอกาสการผิดพลาดในการประมาณการยิ่งสูงเท่าไร ก็จะส่งผลให้ความเสี่ยงของธุรกิจนั้นสูงยิ่งขึ้นไปด้วย วิธีการทางสถิติได้มีการทำการคำนวณไว้ว่า หากเราบวกหรือลบด้วยค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจำนวน 1 ครั้ง จะทำให้โอกาสของการคาดการณ์นั้นจะถูกต้องประมาณร้อยละ 68 แต่ถ้าหากเราเพิ่มและลดอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไปเป็นจำนวน 2 ครั้ง จะทำให้การประมาณการนั้นเกิดความแน่นอนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีโอกาสทำนายได้ความถูกต้องถึงประมาณร้อยละ 95 ซึ่งอยู่ในระดับที่ธุรกิจพอจะยอมรับกับโอกาสความผิดพลาดในการทำนายได้ เพราะโอกาสความผิดพลาดนั้นจะเหลือเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น
จากกรณีศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หากธุรกิจใดมีค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธุรกิจยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้นเช่นกัน เพราะหากค่าอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าสูง ก็จะทำให้การบวกและลบด้วยอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานออกจากผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นมีค่าที่มากขึ้น เพราะผลตอบแทนที่คาดหวังไว้จะเกิดความผันผวนมากขึ้น ทำให้ธุรกิจยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย
การลดความเสี่ยงดังกล่าวอย่างง่ายที่สุด อาจกระทำได้โดยการลดค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายผันแปรลง เพื่อทำให้ค่าความเสี่ยงมีจำนวนที่ลดลง เพราะเมื่อค่าใช้จ่ายคงที่ลดลง จุดคุ้มทุนของธุรกิจจะต่ำลง ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจจะมากขึ้น เช่นเดียวกันกับค่าใช้จ่ายผันแปร หากค่าใช้จ่ายผันแปรต่ำ โอกาสการได้รับทุนคืนในแต่ละวันก็จะสูงขึ้น แต่ความเสี่ยงของธุรกิจจะลดลง ดังนั้นการควบคุมค่าใช้จ่ายคงที่และผันแปร จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจร้านอาหาร