คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย บลจ.ยูโอบี (ไทย)
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนพฤษภาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนพฤษภาคม 2552 ของตลาดตราสารหนี้ลดลงเป็น 68.668 พันล้านบาทจาก 70.387 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.62 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร้อยละ 1.23 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 3.71 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.29 ปีในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 4.67 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ถึง 0.15 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 ถึง 0.57 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.67 ถึง 1.04 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 ถึง 0.87
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนมิถุนายน 2552 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นเรื่องความกังวลเกี่ยวกับอุปทานตราสารหนี้ภาครัฐ ทั้งนี้ในตลาดรองตราสารหนี้ คาดว่านักลงทุนจะทำการซื้อขายน้อยลง เนื่องจากรออุปทานใหม่ ที่อาจจะออกมาเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องรีบลงทุน ไล่ซื้อในตลาดรอง ดังนั้น ถ้ายังไม่มีปัจจัยบวกอื่น ๆ เข้ามาในช่วงเดือนมิถุนายน มีความเป็นไปได้ที่ อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ถึงระยะกลาง
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
สรุปตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเมษายน 2552
ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเมษายน 2552 ยังคงแสดงการหดตัวลงต่อเนื่องเมื่อเทียบปีต่อปี แต่เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว พบสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนในส่วนของผลผลิตอุตสาหกรรม การส่งออกและการนำเข้า รวมทั้งดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตรกรลดลงมากกว่าคาด หลังจากผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานที่สูงของปีก่อน ในขณะเดียวกันกลุ่มท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลง 11.6% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 1.1 ล้านคน แต่ดีขึ้นจากที่หดตัวลง 12.1% ในเดือน มีนาคม และ 23.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงปรับตัวลดลงต่อ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 9.7% เทียบปีต่อปี โดยหดตัวลงในอัตราที่ชะลอตัว แต่เพิ่มขึ้น 7.6% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน โดยการปรับตัวดีขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคที่เน้นการส่งออก คือ อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น
มูลค่าการส่งออกหดตัวลง 25.2% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 10,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการหดตัวในทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนมูลค่าการนำเข้าก็หดตัวลงในทุกหมวดเช่นกัน โดยปรับตัวลดลง 36.4% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 9,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการนำเข้าของไทยที่หดตัว 36.4% เทียบปีต่อปีในเดือนเมษายน นับว่าดีขึ้นจากระดับที่ลดลง 43.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ และใกล้เคียงกับระดับ 35.1% ในเดือนมีนาคม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงในเดือนพฤษภาคม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ระดับ 3.3 เทียบปีต่อปี ตามราคาพลังงานที่ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคาอาหารสดปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าลงสู่ระดับ 0.3% เทียบปีต่อปี อันเป็นผลมาจากฐานที่สูงของราคาอาหารปรุงสุกประกอบกับการปรับลดการอุดหนุนค่าน้ำในบางจังหวัด
สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอีก 13.96% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเม็ดเงินไหลเข้าตลาดภูมิภาคหลังจากจีนและฮ่องกงประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหุ้นไทยสามารถทะยานขึ้นต่อไปได้ถึงแม้จะมีข่าวด้านลบต่อบรรยากาศการลงทุน เช่นการประกาศผลการทดสอบสถานะทางการเงินของธนาคารสหรัฐอเมริกา การทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อมั่นของสภาวะการเงินของสหรัฐฯ และสถานะการเงินของบริษัท General Motor ส่วนประเด็นหลักในประเทศนั้นเป็นเรื่องของการเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) หนุนให้หุ้นบางตัวปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มธนาคารและพลังงานเป็นกลุ่มที่นักลงทุนสนใจมากที่สุด
แนวโน้มตลาดเดือนมิถุนายน
เงินทุนจากต่างชาติจะไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องโดยมีบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากตลาดในภูมิภาคเอเชียเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนและฮ่องกง จึงทำให้ตลาดมีแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพราะว่า ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับตลาดในภูมิภาคเดียวกันในขณะที่นักลงทุนสถาบัน (กองทุน) ส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักการลงทุนน้อยในตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค เดือนมิถุนายนก็เป็นเดือนที่จะมีการทำราคาปิดของหุ้นในบัญชีให้สูง จึงคาดว่าตลาดยังคงมีแนวโน้มขึ้นต่อไปได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือนมิถุนายน
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด ในหมวด พลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง
ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด ในหมวดพาณิชย์ และ สื่อสาร
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด ในหมวด ปิโตรเคมี
โดย บลจ.ยูโอบี (ไทย)
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนพฤษภาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนพฤษภาคม 2552 ของตลาดตราสารหนี้ลดลงเป็น 68.668 พันล้านบาทจาก 70.387 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.62 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร้อยละ 1.23 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 3.71 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.29 ปีในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 4.67 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ถึง 0.15 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 ถึง 0.57 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.67 ถึง 1.04 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 ถึง 0.87
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนมิถุนายน 2552 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นเรื่องความกังวลเกี่ยวกับอุปทานตราสารหนี้ภาครัฐ ทั้งนี้ในตลาดรองตราสารหนี้ คาดว่านักลงทุนจะทำการซื้อขายน้อยลง เนื่องจากรออุปทานใหม่ ที่อาจจะออกมาเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องรีบลงทุน ไล่ซื้อในตลาดรอง ดังนั้น ถ้ายังไม่มีปัจจัยบวกอื่น ๆ เข้ามาในช่วงเดือนมิถุนายน มีความเป็นไปได้ที่ อัตราผลตอบแทนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ถึงระยะกลาง
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
สรุปตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเมษายน 2552
ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเมษายน 2552 ยังคงแสดงการหดตัวลงต่อเนื่องเมื่อเทียบปีต่อปี แต่เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว พบสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนในส่วนของผลผลิตอุตสาหกรรม การส่งออกและการนำเข้า รวมทั้งดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รายได้เกษตรกรลดลงมากกว่าคาด หลังจากผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานที่สูงของปีก่อน ในขณะเดียวกันกลุ่มท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลง 11.6% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 1.1 ล้านคน แต่ดีขึ้นจากที่หดตัวลง 12.1% ในเดือน มีนาคม และ 23.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงปรับตัวลดลงต่อ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 9.7% เทียบปีต่อปี โดยหดตัวลงในอัตราที่ชะลอตัว แต่เพิ่มขึ้น 7.6% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน โดยการปรับตัวดีขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคที่เน้นการส่งออก คือ อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น
มูลค่าการส่งออกหดตัวลง 25.2% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 10,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการหดตัวในทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนมูลค่าการนำเข้าก็หดตัวลงในทุกหมวดเช่นกัน โดยปรับตัวลดลง 36.4% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 9,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการนำเข้าของไทยที่หดตัว 36.4% เทียบปีต่อปีในเดือนเมษายน นับว่าดีขึ้นจากระดับที่ลดลง 43.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ และใกล้เคียงกับระดับ 35.1% ในเดือนมีนาคม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงในเดือนพฤษภาคม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ระดับ 3.3 เทียบปีต่อปี ตามราคาพลังงานที่ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ราคาอาหารสดปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าลงสู่ระดับ 0.3% เทียบปีต่อปี อันเป็นผลมาจากฐานที่สูงของราคาอาหารปรุงสุกประกอบกับการปรับลดการอุดหนุนค่าน้ำในบางจังหวัด
สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอีก 13.96% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเม็ดเงินไหลเข้าตลาดภูมิภาคหลังจากจีนและฮ่องกงประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหุ้นไทยสามารถทะยานขึ้นต่อไปได้ถึงแม้จะมีข่าวด้านลบต่อบรรยากาศการลงทุน เช่นการประกาศผลการทดสอบสถานะทางการเงินของธนาคารสหรัฐอเมริกา การทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อมั่นของสภาวะการเงินของสหรัฐฯ และสถานะการเงินของบริษัท General Motor ส่วนประเด็นหลักในประเทศนั้นเป็นเรื่องของการเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) หนุนให้หุ้นบางตัวปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มธนาคารและพลังงานเป็นกลุ่มที่นักลงทุนสนใจมากที่สุด
แนวโน้มตลาดเดือนมิถุนายน
เงินทุนจากต่างชาติจะไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องโดยมีบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากตลาดในภูมิภาคเอเชียเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนและฮ่องกง จึงทำให้ตลาดมีแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพราะว่า ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับตลาดในภูมิภาคเดียวกันในขณะที่นักลงทุนสถาบัน (กองทุน) ส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักการลงทุนน้อยในตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค เดือนมิถุนายนก็เป็นเดือนที่จะมีการทำราคาปิดของหุ้นในบัญชีให้สูง จึงคาดว่าตลาดยังคงมีแนวโน้มขึ้นต่อไปได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือนมิถุนายน
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด ในหมวด พลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง
ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด ในหมวดพาณิชย์ และ สื่อสาร
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด ในหมวด ปิโตรเคมี