xs
xsm
sm
md
lg

สรุปภาวะการลงทุนและแนวโน้ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
บลจ.ยูโอบี (ไทย)


ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนเมษายนมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนเมษายน 2552 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 70.387 พันล้านบาทจาก 67.922 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.22 และดัชนี หุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร้อยละ 1.35 ณ สิ้นเดือนเมษายน ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 2.99 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.37ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 4.10 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.84 ปี อัตราผลตอบแทนปรับลดลงตลอดทั้งเส้น โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 ถึง 0.11 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.08 ถึง 0.27 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปีปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 0.21 ถึง 0.44 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.29 ถึง 0.44

แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนพฤษภาคม 2552 คาดว่าการลงทุนน่าจะยังสนใจลงทุนในตราสารระยะกลางและยาวมากขึ้น แต่เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงมาพอสมควรในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม อาจมีการขายตราสารหนี้เพื่อทำกำไรออกมาบ้าง อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนขยับตัวสูงขึ้น แต่โดยรวมแล้วคาดว่าแนวโน้มตอบแทนพันบัตรรัฐบาลน่าจะปรับตัวลงได้อีก ปัจจัยที่น่าสนใจในเดือนนี้ การประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน และการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน

กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาด ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดทั้งที่การส่งออกขยายตัวลดลง โดยลดลง 15.4 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงถึง 20 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะหมวดอิเล็กหรอนิกซ์ที่เริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าจากอุปสงค์ในประเทศและหมวดเครื่องดื่มจากการเร่งผลิตเบียร์ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 61.70 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54.60 ในเดือนก่อน

การส่งออก ขยายตัวลดลง 22.70 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวลดลง 22.70 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ลดลง 11.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเดือนนื้มีการส่งออกทองคำเพียง 305 ล้านดอลลาร์สรอ.เทียบกับ 1,865 ล้านดอลลาร์สรอ. ดุลการชำระเงินยังคงเกินดุล 1,831 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าหดตัวมากกว่าที่ระดับ 35.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวในมีนาคม หดตัว 11.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (+10.2% จากเดือนก่อนหน้า) และอัตราการจองห้องพักปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.8% จากเดิม 57.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าระดับ 65.9% ในเดือนมีนาคม 51

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงหดตัว ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัว 4.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.6% จากเดือนก่อน โดยเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคหมวดเชื้อเพลิงและปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่15.70 % ส่วนหนึ่งมาจากฐานสูง เงินเฟ้อหดตัว 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนก่อนหน้า ในเดือนเมษายน

กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ในเดือนเมษายน 52 หดตัวที่ระดับ 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -0.2% อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนเมษายน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สรุปภาวะตลาด แม้ว่าตลาดจะได้รับข่าวร้ายต่างๆเช่น 1. ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศที่รุนแรงมากขึ้น 2. ความกดดันจากผลการทดสอบสถานะทางการเงินของธนาคารสหรัฐอเมริกา 3. การแพร่ระบาดเชื่อไข้หวัดใหญ่2009ในช่วงปลายเดือนเมษายน โดยตลาดหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 14 % ในเดือนเมษายน เนื่องจากปัจจัยบวกเรื่องเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาซื้อหุ้นในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะจีนที่มีการใช้มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง จนทำให้มีการปรับเพิ่มตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ บวกกับข่าวลือการควบรวมกิจการในภาคธุรกิจพลังงาน ปิโตรเคมีของกลุ่มปตท. และธนาคารได้ช่วยหนุนตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยนักลงทุนในประเทศได้เพิ่มธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญเป็น ปริมาณสองเท่าจากเดือนมีนาคม

แนวโน้มตลาดเดือนพฤษภาคม ตลาดหุ้นน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบขาขึ้นที่แนวต้าน 540 และแนวรับที่ 484 โดยคาดว่าจะเห็นแรงขายทำกำไรเป็นระยะหลังจากขึ้นแรง 22.3% ในสิ้นเดือนเมษายน โดยมีกรอบแรงต้านจากปัจจัยตัวเลขทางเศรษฐกิจและผลการทดสอบสถานะทางการเงินของธนาคารสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจากไข้หวัดหมู และข่าวการล้มละลายของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกา ขณะที่ปัจจัยหนุนตลาดคือเรื่องข่าวการควบรวมกิจการและผลประกอบการไตรมาสแรกที่คาดว่าจะออกมาดีกว่าที่คาด

กลยุทธ์ประจำเดือนเมษายน
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด ในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง
ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด ในหมวดพาณิชย์ และ สื่อสาร
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด ในหมวด ปิโตรเคมี
กำลังโหลดความคิดเห็น